แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้ (Learning Theory) : ปัญญานิยม (Cognitivism)


ความหมายของกลุ่มปัญญานิยม

ทฤษฎีปัญญานิยมเป็นกระบวนการทางสติปัญญาในการสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับตนเองด้วยการสร้างเสริมประสบการณ์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ 2 ลักษณะ คือ การหยั่งรู้ (insight) และการรับรู้ (perception) ได้ดีขึ้น ผู้เรียนจะเข้าใจและมองเห็นแนวทางการแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น

ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญของกลุ่มปัญญานิยม

ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้มี 5 ทฤษฎีด้วยกัน คือ

1.ทฤษฏีเกสตัลท์ (Gestalt Theory) โดยเวอร์ไทม์เมอร์โคห์เลอร์ และคอฟฟ์กา

แนวความคิดหลักของทฤษฎีนี้ก็คือ ส่วนรวมมิใช่เป็นเพียงผลรวมของส่วนย่อย ส่วนรวมเป็นสิ่งที่มากกว่าผลรวมของส่วนย่อย

2.ทฤษฎีสนาม (Field Theory) โดยเคิร์ทเลวิน

พฤติกรรมของคนมีพลังและทิศทาง สิ่งใดที่อยู่ในความสนใจและความต้องการของตน จะมีพลังเป็น + สิ่งที่นอกเหนือจากความสนใจจะมีพลังงานเป็น – ในขณะใดขณะหนึ่งทุกคนจะมี โลก หรือ อวกาศชีวิต (life space) ของตน

3.ทฤษฎีเครื่องหมาย (Sign Theory) ของทอลแมน

การเรียนรู้เกิดจากการใช้เครื่องหมายเป็นตัวชี้ทางให้แสดงพฤติกรรมไปสู่จุดหมายปลายทาง

4.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์และบรุนเนอร์ ซึ่งเป็นฐานสำคัญของทฤษฎีการเรียนรู้ที่นิยมกันในปัจจุบัน

เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติ และพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น

5.ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (A Theory of Meaningful Verbal Learnning) ของออซูเบล

มนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจ และการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง

 

 

หมายเลขบันทึก: 555150เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2013 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท