CaseStudy#10 สิทธิทางการศึกษาของประชาชนอาเซียนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย


หนึ่งใน 26 กรณีศึกษาเพื่อการทำความเข้าใจสถานการ์ณ์ปัญหาการเข้าถึงและใช้สิทธิในสถานะบุคคลของประชาชนอาเซียนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย

ปัญหาการเข้าถึงและใช้สิทธิในสถานะบุคคลของประชาชนอาเซียนที่มีจุดเกาะเกี่ยวกับรัฐไทย

สิทธิทางการศึกษา

กรณีศึกษาที่ 10 กรณีนางสาวเดือนและนางสาวดาว[1]

เดือนและดาว ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาคอมพิวเตอร์ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ  ในปี พ.ศ.2555 แต่ทางสถาบันการศึกษาปฏิเสธที่จะอนุมัติวุฒิบัตรให้ โดยให้เหตุผลว่าทั้งสองคนเป็นนักเรียนไร้สัญชาติที่มีชื่อในทะเบียนราษฎรของฐานข้อมูลในเขตอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดินทางออกนอกพื้นที่โดยที่ไม่ขออนุญาตออกนอกพื้นที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ดังนั้น ทางสถาบันการศึกษาจะอนุมัติวุฒิการศึกษาให้ได้ก็ต่อเมื่อทั้งเดือนและดาวจะต้องเดินทางกลับไปยังอำเภอเวียงแหง เพื่อทำเรื่องขออนุญาตออกนอกพื้นที่ตามกฎหมายและนำหนังสืออนุญาตดังกล่าวมาแสดงภายในเดือนมีนาคม 2555

ประเด็นปัญหา     สิทธิทางการศึกษาซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่นับรวมคนต่างด้าวเข้าเป็นผู้ทรงสิทธิด้วยนี้ เป็นหลักการที่ได้รับการยอมรับโดยสถาบันการศึกษาต่างๆ จนรูปธรรมคือมักไม่มีกรณีปัญหาการปฏิเสธไม่รับนักเรียนต่างด้าวเข้าเรียน แต่สิทธิทางการศึกษาย่อมครอบคลุมถึงสิทธิที่จะได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรที่บุคคลศึกษาผ่านมาด้วย การปฏิเสธไม่ออกวุฒิการศึกษาโดยอ้างว่านักเรียนนักศึกษาซึ่งเป็นเด็กไร้สัญชาติออกนอกพื้นที่มาเรียนโดยไม่ขออนุญาตจากอำเภอเวียงแหงนั้น เป็นการปฏิเสธสิทธิบนพื้นฐานที่ขาดความรู้ความเข้าใจในประเด็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนต่างด้าว

สรุป กรณีศึกษาที่ 19 กรณีนางสาวเดือนและนางสาวดาวนี้เป็นปัญหาการพิสูจน์สิทธิฯ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นปัญหาว่า เด็กไร้สัญชาติไม่สามารถเข้าถึงและใช้สิทธิในการกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ เนื่องจากขาดคุณสมบัติคือ ไม่มีสัญชาติไทย[2] จะเห็นได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวอาจพิจารณาได้ว่าเป็นอุปสรรคหรือข้อจำกัดให้แก่บุคคลในการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษา

 

[1]เป็นหนึ่งในงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายที่สนับสนุนโครงการบางกอกคลินิก ซึ่งผู้ศึกษาวิจัยดำเนินการในนามของสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

[2]มาตรา 45 พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาพ.ศ. 2541

นักเรียนหรือนักศึกษาซึ่งมีสิทธิขอกู้ยืมเงินจากกองทุนต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้

(1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย

[3]เป็นหนึ่งในงานให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายแก่มูลนิธิหนังไทย ซึ่งผู้ศึกษาวิจัยดำเนินการในนามของสถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ และอาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

หมายเลขบันทึก: 554680เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2013 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2013 16:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท