กินอาหารแบบไหน___ไกล(ป้องกัน)มะเร็ง


อ.นพ.เกบ เีมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง "อาหารแบบไหน __ เปลี่ยน (เพิ่มหรือลด) ความเสี่ยงมะเร็ง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

ภาพ: เบอรี่ เป็นกลุ่มผลไม้ที่มีสีสันสดใส มีสารคุณค่าพืชผักหรือพฤกษเคมี สารต้านอนุมูลอิสระสูง แถมยังมีน้ำตาลต่ำ

ไทยมีเบอรี่ที่คนไทยยังกินน้อย คือ เมาเบอรี (malburry) = ลูกหม่อน

.

การศึกษาเร็วๆ นี้หลายรายงานพบว่า อาหารหลายชนิด เพิ่มหรือลดเสี่ยงมะเร็ง

.

(1). มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

.

ผลไม้ (ผลไม้ทั้งผล ไม่ใช่น้ำผลไม้) และผัก (ผักจริง ไม่ใช่สารสกัด) ช่วยได้

การศึกษาที่ทำในคนหลายเชื้อชาติ รวมกลุ่มตัวอย่าง 215,000 คน ติดตามไป 12.5 ปี พบว่า คนที่กินผักผลไม้มากที่สุด ลดเสี่ยงมะเร็งกระเพาะปัสสาวะได้ = 65%

.

(2). มะเร็งลำไส้ใหญ่

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า เนื้อแดง (read meat) = เนื้อสัตว์ใหญ่กว่าสัตว์ปีก เช่น แพะ แกะ หมู วัว ฯลฯ เพิ่มเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

การศึกษาใหม่พบว่า ความเสี่ยงนี้อาจไม่เกิดกับทุกคน

คนที่เสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่จากการกินเนื้อแดงจริงๆ มีพันธุกรรมพิเศษ ( rs4143094)

ต่อไปถ้ามีการตรวจรหัสพันธุกรรม หรือ DNA (ตอนนี้กูเกิ้ลเป็น 1 ในบริษัทที่ขายชุดตรวจ DNA ที่ช่วยบอกอะไรหลายอย่างที่เราไม่รู้) อาจทำให้คนหลายคนกินเนื้อได้สบายใจขึ้น

.

ชุด DNA ที่แสดงผลได้ เรียกว่า "ยีนส์ (genes)"

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินผัก ผลไม้ทั้งผล และเส้นใยหรือไฟเบอร์ เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีทหรือขนมปังเติมรำ ช่วยลดเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง (colorectal cancer)

การศึกษาใหม่พบว่า พันธุกรรมบางอย่างทำให้คนบางคนเสี่ยงมะเร็งลำไ้ส้ใหญ่-ไส้ตรงน้อยลง เมื่อกินผักผลไม้ หรือเส้นใย

ถ้ามีการตรวจรหัสพันธุกรรม หรือ DNA อาจทำให้คนหลายๆ คนกินผักผลไม้มากขึ้น

และบางคนอาจจะกินน้อยลง

.

(3). มะเร็งต่อมลูกหมาก-เต้านม-ลำไส้ใหญ่

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า อาหารที่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็ว เพิ่มเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก-เต้านม-ลำไส้ใหญ่

การศึกษา 2 รายงานจากอิตาลี พบว่า คนที่มีน้ำหนักเกินจากการกินพาสต้า และขนมปัง เพิ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่

.

ดร.เดอ บรุยแจง และคณะ ทบทวนการวิจัยที่ผ่านมา 20 รายงานในช่วงปี 2007-2012/2550-2555 รวมกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1.9 ล้านคน

กลุ่มตัวอย่างมีทั้งที่เป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นและไม่เป็นเบาหวาน

.

ผลการศึกษาพบว่าเบาหวานเพิ่มเสี่ยงมะเร็งดังต่อไปนี้

(1). มะเร็งเต้านม = เพิ่ม 23%

(2). โอกาสเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านม = เพิ่ม 38%

(3). มะเร็งลำไส้ใหญ่ = เพิ่ม 26%

(4). โอกาสเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ = เพิ่ม 30%

.

การศึกษาขนาดใหญ่ (จำนวนกลุ่มตัวอย่างมาก) หลายรายงานพบว่า คนที่เป็นเบาหวาน เพิ่มเสี่ยงมะเร็งหลายอย่าง คือ มะเร็งตับอ่อน ลำไส้ใหญ่-ไส้ตรง เต้านม ตับ-ท่อน้ำดี กระเพาะปัสสาวะ และเยื่อบุมดลูก [ mayoclinic ]

 

กลไกที่เป็นไปได้ คือ มะเร็งหลายชนิดกับเบาหวานมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างคล้ายๆ กัน คือ [ diabetes ]

(1). อายุมากขึ้น

(2). น้ำหนักเกิน โรคอ้วน

(3). ไม่ออกแรง-ออกกำลัง นั่งนาน

(4). สูบบุหรี่

(5). แอลกอฮอล์

(6). เพศชาย > มะเร็งตับ มะเร็งปอด ชอบผู้ชาย (พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง)

.

กลไกอื่นๆ ที่เบาหวาน หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มเสี่ยงมะเร็งได้แก่ [ mayoclinic ]

.

(1). คนที่เป็นเบาหวานดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายต้องผลิต-หลั่งอินซูลินเข้าสู่กระแสเลือดมากขึ้น

.

ระดับอินซูลินที่่สูงกระตุ้นให้เซลล์หลายชนิดแบ่งตัวเร็วขึ้น (รวมทั้งมะเร็ง)

ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน เพิ่มมวลไขมัน

เนื้อเยื่อไขมันในร่างกายมีเอนไซม์ หรือน้ำย่อยที่ทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโทรเจน (estrogen - ฮอร์โมนเพศหญิง) สูงขึ้น

ระดับฮอร์โมนเพศที่สูงเพิ่มเสี่ยงมะเร็งเืต้านม และเยื่อบุมดลูก

.

(2). เซลล์ไขมันที่อ้วนพีหลั่งสาร IGF-1 คล้ายๆ เซลล์มะเร็ง

เซลล์ไขมันที่อ้วนพี (ในคนที่มีน้ำหนักเกิน-อ้วน) หลั่งสาร IGF-1 (insulinlike growth factor-1) ที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

.

(3). เซลล์มะเร็งชอบอะไรที่หวานๆ เหมือนกัน

ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูง ทำให้เซลล์มะเร็งโตเร็ว สร้างหลอดเลือดไปเลี้่ยง (มะเร็ง) ไ้ด้เร็ว

.

ทั้งหมดนี้บอกเราว่า ถ้าป้องกันเบาหวาน หรือระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ จะป้องกันโรคที่ตามมาได้มากมาย

อาหารต้านระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่คนไทยรู้จักกันดี คงจะเป็นอาหารคล้ายๆ แบบชีวจิต

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีุสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

                                                                          

Thank Dr.Gabe Mirkin > http://www.drmirkin.com/nutrition/cancer-risk-linked-to-various-foods.html

Thank ScienceDaily > http://www.sciencedaily.com/releases/2013/09/130927183123.htm

                                                                          

หมายเลขบันทึก: 554613เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท