ความเป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจมีได้ในรัฐที่ไม่ยึดหลักนิติธรรม


"ความเป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจมีได้ในรัฐที่ไม่ยึดหลักนิติธรรม"
-- พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน ให้คำแปลของ "นิติธรรม" ไว้ว่า "หลักพื้นฐานแห่งกฎหมาย"
-- ศ.พิเศษ ธานินทร์ กรัยวิเชียร องคมนตรี ได้เสนอความหมายของ "นิติธรรม" ไว้ว่า "หลักนิติธรรมคือ หลักการพื้นฐานแห่งกฎหมายที่สำคัญในระบอบประชาธิปไตย ที่เทิดทูนศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์และยอมรับนับถือสิทธิแห่งมนุษยชนในทุกแง่ทุกมุม รัฐต้องให้ความอารักขาคุ้มครองมนุษยชนให้พ้นจากลัทธิทรราชย์ หากมีข้อพิพาทใด ๆ เกิดขึ้น ศาลย่อมมีอำนาจอิสระในการตัดสินข้อพิพาทนั้นโดยเด็ดขาดและโดยยุติธรรม ตามกฎหมายบ้านเมืองที่ถูกต้องและเป็นธรรม"
-- International Bar Association (IBA) ซึ่งเป็นที่รวมของเนติบัณฑิตยสภาและสภาทนายความทั่วโลก ได้กล่าวถึง "นิติธรรม" ว่าครอบคลุมหลายด้านรวมทั้งระบุว่า "ความเป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจมีได้ในรัฐที่ไม่ยึดหลักนิติธรรม"

-- รัฐธรรมนูญไทย ฉบับ 2550 หมวด 1 มาตรา 3 เป็น รธน.แรกของไทยที่นำคำว่า "นิติธรรม" มาระบุไว้ ดังนี้
"มาตรา ๓ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
(วรรค ๒) การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม"

ดังนั้น หากรัฐสภาใดทำผิดต่อ มาตรา ๓ วรรค ๒ --> ความเป็นประชาธิปไตย ย่อมไม่อาจมีได้ในรัฐที่ไม่ยึดหลักนิติธรรม

เพิ่มพันธุ์

หมายเลขบันทึก: 554596เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013 12:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2013 12:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท