๒๐๕. ข้าราชการที่ถูกลืม...


ข้าราชการที่ถูกลืม...

      ความจริงก็ไม่อยากเขียนนักหรอก...

รู้ว่า...เขียนแล้วไม่ค่อยดีต่อทุกคน...

แต่พอไม่เขียน ไม่บอกเลยหรือก็ไม่ค่อยสนใจ

ใส่ใจกัน ต่างฝ่ายทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเอง

...ขอเขียนเพื่อกระตุ้นเตือนต่อมความรู้ที่

แท้จริงกันบ้างก็แล้วกัน...ถือว่า "เป็นการบอก

กล่าวกันอย่างจริงใจ ไม่มีอคติใด ๆ แอบแฝง" :)

(ไม่เคยคิดว่าเก่ง...เพียงแต่ต้องการให้เกิดการพัฒนา

ต่อบุคลากรอย่างแท้จริง...)

...ความเป็นอยู่ในมหาวิทยาลัย (ราชภัฏ) ณ ตอนนี้

บอกได้เลยว่า ระส่ำระสายมาก ๆ เป็นเพราะคนไม่รู้จริง

ยิ่งเฉพาะกฎหมาย ระเบียบต่าง ๆ อ่อนด้อยมาก ๆ...

สำหรับคณะกรรมการที่เข้าไปนั่งใน กพอ. ก็ไม่ค่อย

รู้จริงในเรื่องกฎหมาย...ยกตัวอย่าง กฎหมายเกี่ยวกับ

การปรับ ๘ % ของเงินเดือน กพอ. ทำได้อย่างไรกับ

การทำให้แต่ข้าราชการสายวิชาการ...รู้จริงกับกฎหมาย

ระหว่างสถาบันอุดมศึกษากับระเบียบของข้าราชการครู ฯ

หรือไม่ ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร?...สำหรับฉัน ๆ รู้

เพราะฉันเคยเป็นข้าราชการครูและพลเรือนสามัญใน สพฐ.

มาก่อน ฉันจึงรู้ กฎหมายของเขาชัดเจน แยกฝ่ายอย่างเห็น

ได้ชัด เรียกร้องเงินเดือนกันไม่ได้ เพราะข้าราชการครู

ก็กินเงินเดือนของแท่งเขาเอง ส่วนข้าราชการบนเขตพื้นที่

ก็เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ กินแท่งเงินเดือนของ

ก.พ. แต่ในสถาบันอุดมศึกษา "ไม่ใช่" เช่นนั้น...กฎหมาย

พรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา

พ.ศ. ๒๕๔๗ ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า "ข้าราชการพลเรือน

ในสถาบันอุดมศึกษา" หมายถึง สายวิชาการ + สายสนับสนุน

กินแท่งเงินเดือนเดียวกัน ไม่ได้แยกแท่งเงินเดือนเช่น

ข้าราชการครูและบุคลการทางการศึกษา...เท่านี้ก็ไม่รู้จริง

พยายามออกกฎหมายเพื่อเอื้อให้แก่สายวิชาการเท่านั้น...

คิดได้อย่างไร? นี่นะหรือ? ผู้ที่ทราบกฎหมายที่แท้จริง

...ตกสายสนับสนุน...สกอ.ให้มหาวิทยาลัยยืนยันข้อมูล

เงินเดือนก็ให้สำรวจเฉพาะสายวิชาการ...คิดได้อย่างไร?

ฉันก็ไม่สนใจ ยืนยันพร้อมกับมีสายวิชาการ + สายสนับสนุน

สื่อสารกับ มรภ. ทุกแห่งว่า ให้กรอกข้อมูลของสายสนับสนุน

เข้าไปด้วย เพราะทุก ม. ทราบดีว่าที่ถูกต้อง คืออะไร?

...ถ้าจะไม่นับรวมพวกเราสายสนับสนุน แล้วทำไมตอนแรก

ในการทำ พรบ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗

จึงนำพวกเราไปใส่ไว้กับพวกสายวิชาการล่ะ? ทำไมไม่แยกออก

เหมือนเดิมให้พวกเราเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญเหมือนในตอนแรก

ที่เราเคยเป็น เราจะได้ไปอยู่แท่งของข้าราชการพลเรือนสามัญ

ใช้กฎหมายของส่วนกลางเช่นเดิม...ลากพวกเราเข้ามาอยู่ใน

พรบ.ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.๒๕๔๗ ทำไม?

แบบนี้เขาเรียกว่า "เลือกปฏิบัติ" อย่างเห็นได้ชัด...

จำเป็นที่พวกฉันต้องรวมกลุ่มกันเพราะความไม่เป็นธรรม

ทราบมาว่า กกอ. ก็รู้แล้วว่า "ผิด" แต่ทำไมปล่อยให้

ผ่านกฎหมายในการประชุมได้ล่ะ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์

"เลือกเพื่อตนเองอย่างเห็นได้ชัด"...สุดท้ายพวกฉัน

ก็ต้องดิ้นเพื่อความถูกต้องและยุติธรรมด้วยตัวของพวกฉันเอง

ใช่หรือไม่?...พวกเราเป็น "ข้าราชการที่ถูกลืม" เสมอ

แบบนี้ไม่ต้องไปเรียกร้องหามาตรฐานเดียวหรอก...

มีให้เห็นเยอะเลยในมหาวิทยาลัย...ถ้าพวกฉันไม่ออกมาพูด

พวกเราก็คงเป็น "ข้าราชการที่ถูกลืม" จริง ๆ ทำอะไร

ก็ขัดไปหมด อ้างการไม่เก่ง ไม่เป็น แล้วอีกฝ่ายล่ะ

เก่ง เป็นจริงหรือ? ทำไมตอนเป็นผู้บริหารไม่พัฒนาพวกเขาล่ะ

เขาจะได้เก่ง เป็น..."คิดบ้างสิ" ระดับอุดมศึกษากันแล้ว

อย่าปล่อยให้ได้ชื่อว่า "ชั้นปัญญาชน" แต่ความจริงล่ะ

ใช่หรือไม่?...สุดท้าย...ฉันก็คือ "ตัวแทนของน้อง ๆ

ในกลุ่มข้าราชการสายสนับสนุนที่ต้องออกมาพูดคุยให้

กับผู้ใหญ่ใน สกอ." ได้รับฟังปัญหาที่จริงว่า "มันคืออะไร?"

บุญพวกฉันก็ยังมี...ที่ท่าน รก.อธิการบดี คนปัจจุบันพอทราบ

ที่มา ที่ไป เซ็นต์หนังสือให้ผ่านอย่างฉะลุย พร้อมยืนยันว่า

ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา หมายถึง ข้าราชการ

สายวิชาการ และสายสนับสนุน...แต่ถ้า มรภ.อื่นที่ผู้บริหาร

ไม่ทราบจริง ๆ ล่ะ ทำแค่รับรองตามหนังสือ สกอ. ให้แจ้ง

เฉพาะสายวิชาการเข้าไปล่ะ อะไรจะเกิดขึ้น สายสนับสนุน

ตกกระนั้นหรือ?...นี่หรือ...การทำงานของผู้รู้เรื่องกฎหมาย

ที่แท้จริง...น่าเหนื่อยใจจริง ๆ...

ต้องขออภัยด้วย ถ้าความจริงนี้ไปกระทบกับการกระทำของท่านใด

เพราะฉันต้องการพูดเพื่อให้ได้ข้อยุติอย่างถูกต้องและเป็นธรรม

ตามกฎหมายที่ทำไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗...

(เพราะฉันเกิดมาและถูกสอนให้ปฏิบัติแต่ในสิ่งที่ถูกต้อง

และเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลที่คนทำงานภาครัฐ

พึงต้องปฏิบัติอย่างแท้จริง)...

 

 

หมายเลขบันทึก: 553566เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2013 20:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณที่เล่าสู่กันฟังค่ะ

น่าสนใจค่ะ จะติดตามตอนจบค่ะ ถ้าเป็นข้าราชการประเภทเดียวกัน สิทธิประโยชน์ต่าง ๆก็น่าจะเหมือนกัน แต่ภาระงานของสองกลุ่มนี้แตกต่างกันมาก ทำไมจึงจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันตั้งแต่แรก คงคิดไม่รอบคอบกระมัง เอาใจช่วยค่ะ

ขอบคุณสำหรับดอกไม้กำลังใจจากทุก ๆ ท่านนะคะ :)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท