เติบโตไปด้วยกัน : การสร้างสมรรถนะของกลุ่ม PLC โรงเรียนทางเลือก (๗)


การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านภาษา ต้องอาศัยการฝึกที่เข้มข้น และทำบ่อยจนกระทั่งเกิดเป็นสมรรถนะ

การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ทางด้านภาษาของโรงเรียนเพลินพัฒนา

 

เกริ่นนำ

วันที่ ๒๘ ก.พ. ๕๖  ที่ห้องประชุมใหญ่ โรงเรียนเพลินพัฒนา  คณะผู้บริหาร และ ครูจากโรงเรียนทอสี รุ่งอรุณ เพลินพัฒนา และปัญญาประทีป ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่ทั้ง ๔ โรงเรียนนำข้อมูลที่ได้จากการแปรผลทดสอบ  SAT- Scholastic Aptitude Test (การวัดสมรรถนะการเรียนรู้ หรือการวัดความถนัดทางการเรียน) ของแต่ละโรงเรียนมาเรียนรู้เพื่อหาปัจจัยความสำเร็จร่วมกัน

 

ถัดมาวันที่ ๑๖ – ๑๗ ก.พ. ๕๖  โรงเรียนปัญญาประทีปได้เรียนเชิญ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริฐ  ผอ.สำนักทดสอบทางการศึกษา ม.ศว. ประสานมิตร มาบรรยายความรู้พื้นฐานเรื่อง SAT แก่คุณครูโรงเรียนปัญญาประทีป ทอสี และ เพลินพัฒนา ที่โรงเรียนปัญญาประทีป อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับสมรรถภาพพื้นฐานทางสมอง (primary mental ability) ของ Thurstone (1933)ว่า ประกอบไปด้วย

  • องค์ประกอบด้านภาษา (verbal factor)
  • องค์ประกอบด้านตัวเลข (number factor)
  • องค์ประกอบด้านเหตุผล (reasoning factor)
  • องค์ประกอบด้านมิติสัมพันธ์ (spatial factor)
  • องค์ประกอบด้านการรับรู้ (perceptual factor)
  • องค์ประกอบด้านความจำ (memory factor)
  • องค์ประกอบด้านความคล่องแคล่วในการใช้คำ (word fluency factor)

 

ในการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านภาษา คนๆ นั้นต้อง

  • รู้คำตรงข้าม
  • รู้คำที่มีความหมายใกล้เคียง เข้าใจนัยของคำ
  • รู้ศัพท์สัมพันธ์ วิเคราะห์ได้ว่าเกี่ยวข้องกับอะไรมากที่สุด
  • มีความเข้าใจทางภาษา สามารถแปลความหมายของคำเมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ได้
  • มีความเข้าใจภาพ

 

แม้ในการพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านเหตุผล  ก็ยังต้องอาศัยภาษามาทำความเข้าใจ

  • จัดประเภท  เป็นภาษา / เป็นภาพ (เข้าพวกภาษา / ไม่เข้าพวกภาษา) , (เข้าพวกรูปภาพ / ไม่เข้าพวกรูปภาพ)
  • อุปมาอุปไมย  เป็นภาษา / เป็นภาพ (ภาพที่มีความหมาย , ภาพที่ไร้ความหมาย )
  • สรุปความ 
  • อนุกรมภาพ

 

การพัฒนาสมรรถนะการเรียนรู้ด้านภาษา  ต้องอาศัยการฝึกที่เข้มข้น  และทำบ่อยจนกระทั่งเกิดเป็นสมรรถนะ

 

โรงเรียนเพลินพัฒนาได้นำหลักคิดดังกล่าวข้างต้น มาพัฒนาการเรียนรู้ในหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ระดับชั้น ๒  ด้วยการสร้างหน่วยการเรียนรู้  “พฤกษาพาคำ” ดังที่ได้นำเสนอไปแล้วใน  http://www.gotoknow.org/posts/546813 เติบโตไปด้วยกัน : การสร้างสมรรถนะของกลุ่ม PLC โรงเรียนทางเลือก (๔)

 

ในครั้งนี้ดิฉันจึงได้มานำเสนอถอดความรู้ที่ได้จากการเปิดชั้นเรียนหน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย ที่ได้นำเสนอไปในการประชุมครั้งที่แล้ว

 

หลักคิดที่ใช้ในการออกแบบกระบวนการเรียนรู้

¨  ภาษาเป็นเรื่องของเสียงและคำ

¨  มีคลังคำจากการได้รับประสบการณ์ตรง

¨  ใช้ภาพสะท้อนความสามารถในการใช้คำของผู้เรียนแต่ละคน

¨  เขียนบรรยายให้เห็นภาพ

¨  อุปมาอุปไมยภาพกับคำ

¨  สร้างชุดคำที่คล้องจองกันทั้งเสียงและความหมาย

¨  ประกอบคำให้เป็นเรื่องราวที่สื่อความหมาย และได้อารมณ์

¨  เล่นกับเงื่อนไข (เสียงและคำ) อย่างสร้างสรรค์

 

หลักคิดในการจัดกระบวนการเรียนรู้

¨  เรียนและเล่นกับภาษาอย่างสร้างสรรค์

¨  สร้างภาษาที่หยั่งถึงความรู้สึก สร้างสรรค์ และเปิดกว้าง

¨  ครูเปิดศักยภาพผู้เรียนด้วยคำถามที่กระตุ้นการเรียนรู้ สีเป็นอย่างไรสัมผัสเป็นอย่างไร กลิ่นเป็นอย่างไร รู้สึกเช่นไรเมื่อได้เห็น ได้จับ ได้ดมกลิ่น

¨  เปิดโอกาสให้ได้ทดลองใช้คำที่น่าสนใจ ที่เพื่อนสร้างขึ้นเพื่อใช้ถ่ายทอดความเข้าใจของตนออกมาอย่างหลากหลาย เช่น

          “หัวปลีเหมือนดอกบัว”

           “หัวปลีเหมือนน้ำค้าง”

           “ใบของปักษาสวรรค์เหมือนหอก”

           “ใบออกจากดอก  ดอกออกจากใบ”

 

 

¨  จัดชั้นเรียนที่มีความยืดหยุ่นตามศักยภาพของผู้เรียน

¨  สร้างสุขในการเรียนรู้ จากการได้เรียนรู้ร่วมกัน เพราะภาษาคือผลพวงของการปฏิสัมพันธ์ของตัวผู้เรียนกับโลก (โลกภายในและโลกภายนอกที่โต้ตอบกัน)และตัวผู้เรียนกับผู้อื่น

¨  ทำห้องเรียนให้มีรอยยิ้มและเสียงหัวเราะ จากการได้ลองเล่นสนุกกับเสียง และสำเนียงคำ

 

 

เส้นทางการสร้างผู้เรียนให้สนุกกับการลิ้มชิมรสภาษา

¨  ให้ประสบการณ์

¨  ขยายร้อยเรียง 

¨  ต่อยอดสร้างสรรค์

 

“ให้ประสบการณ์”

-  สะสมคำจากประสบการณ์ตรง 

-  สร้างคลังคำ

-  เรียนรู้คำของเพื่อน

-  สะท้อนคุณภาพงานเขียนออกมาให้เห็นเป็นภาพวาด  ทำให้ทุกคนได้เห็นว่าเขียนเอาไว้อย่างไรก็วาดออกมาเป็นภาพได้อย่างนั้น   

 

“ขยายร้อยเรียง”

เขียนคำให้เป็นความ

      ขยายความทีละส่วน 

      มีโครงสร้างประโยคให้

      เขียนได้เอง

เขียนความภายใต้จำนวนคำที่จำกัด

       สร้างความในจำนวนคำที่กำหนด

       สร้างเสียงสัมผัสคล้องจอง 

 

 

“ต่อยอดสร้างสรรค์”

        ชื่นชมวิธีใช้ภาษาของเพื่อน 

        นำความรู้ที่ได้ไปทดลองสร้างงานชิ้นใหม่

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 552005เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 20:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท