งานกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล(1)


ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล กับ ผศ.ดร.วิรัตน์   ยายธี และพี่ช้างน้อย หัวข้อการประชุมเป็นเรื่อง มองไปข้างหน้าเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กลุ่มภารกิจ วิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล

 

ในที่ประชุมได้ช่วยกันระดมความคิดเห็นเรื่อง เวทีที่ทำให้คนเจอกัน เช่นใน website ให้คนได้แลกเปลี่ยนกัน ต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากพื้นฐาน ต้องมีตั้งโจทย์ที่ ชัดเจนเช่น ถ้าตั้งโจทย์พุทธมณฑล ทำอย่างไรจะเอาฐานตรงนี้มาใช้ได้ อาจารย์ ท่านหนึ่งมีแนวคิดว่า ศูนย์ประสานงานต้องมีแนวคิดที่ก้าวหน้า เราจะช่วยคนใน ชุมชนอย่างไร

 

 

ศูนย์สันติวิธี มีแง่มุมเรื่อง ยาเสพติด และเรื่องข้าว เราพูดคุยกันว่า โจทย์ในชุมชน ซับซ้อนมาก ผู้ทำงานต้องเรียนรู้เรื่องชุมชน ทำอย่างไรให้คนมีเวทีเพื่อเป็นประโยชน์จากคนอื่นๆ

 

 

อาจารย์เสนอเรื่องการสีบสานตามพระราชดำริ กระบวนทัศน์นี้จะตอบโจทย์วิจัยชุมชนได้ ควรใช้ core value ของมหาวิทยาลัยมาจับ

 

ผศ.ดร.วิรัตน์ บอกว่า ความเป็นชุมชนของกลุ่มต่างจากสถาบันอื่นๆตรงไหน การ ทำงานข้ามคณะ การข้ามสาขาวิชา ชุมชนต้องเอาเรื่องปัญหามาทำ ทำอย่างไรจะ เป็นที่สังเคราะห์งานวิชาการ เป็นที่นั่งคุยกันในสาขาสหวิทยาการ ทำอย่างไรจะ ทำให้ชุมชนสามารถเอาไปใช้ได้…

ในภาคประชาชนและปลัด ได้คุยเรื่อง การเปลี่ยนความคิดของคนในชุมชน ทางอาจารย์สมชายฝากว่า พระเจ้า หรือ อบต เขาคิดอย่างไร  ทำอย่างไรให้นักศึกษารุ่นใหม่ได้เรียนรู้พร้อมกับครู ทำอย่างไรให้ครูไม่มีภาระมากนัก ในชุมชนเครือข่าย บริบัท ทำอะไรบ้าง  ทำอย่างไรให้การศึกษาเปลี่ยน นักศึกษาไม่ใช่สังคมก้มหน้า....

 

อาจารย์เสนอเรื่องศาสตร์ของพระราชา ทำอย่างไร เหมือนกับการทำงานแบบปิดทองหลังพระ ทำอย่างไร จะเป็นผู้มีส่วนร่วมอย่างหลากหลาย มีกัลยาณมิตร มหาวิทบาลัยมีพลังที่จะทำงาน

 

ผศ.ดร.วิรัตน์ได้พูดถึงเรื่องปัญหาของปลัด จะต้องมีเครือข่ายที่จะทำงานร่วมกันชุมชน มีการปรับปรุงการวางแผนของชุมชน การใช้สุนทรียสนทนาอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีการสังเคราะห์  มีการถอดทบเรียนในแต่ละโครงการ

 

ต้องมีการสื่อสารโครงการให้ชุมชนได้เข้าใจ มีกองบรรณณาธิการ ที่พอใช้ ออกมา เฉพาะที่เข้าถึงได้ ต่อยอดเฉพาะองค์ความรู้ตรงนี้ งานวิจัยชุมชนต้องผลิตและเคลื่อนองค์ความรู้ต่อไปด้วย...มีการถอดบทเรียนเรื่องนี้ แล้วจัดหัวข้อใหม่ๆได้

อาจารย์เสนอว่า เป็นไปได้ไหมว่า  ลองทำโครงการกับตำบลเล็กๆก่อนได้ไหม เพื่อทำเป็นโครงการนำร่อง...

ผศ.ดร.วิรัตน์บอกว่า การสื่อใจถึงใจ ถึงจะเข้าใจชุมชนได้ ...

อาจารย์แดง บอกว่า เป็นไปได้ไหม อย่าลดเครือข่าย เช่น เดินในพื้นที่ชุมชนจริง ทำ USR ต้องทำจริงๆ 

ผศ.ดร.วิรัตน์เสนอว่า เป็นได้ไหมว่าเป็นการเดินภาวนา ให้รวบรวมเครื่องมือไว้ก่อน มีกลไกลย่อยผลิตความรู้

ขอบคุณทุกๆๆท่านมากครับที่เข้ามาอ่าน...

หมายเลขบันทึก: 551969เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 11:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2013 12:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

เป็นแนวคิดที่ดี และขอให้กำลังใจในการขับเคลื่อนสู่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมค่ะ

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

ที่ตามมาให้กำลังใจ

กำลังดู้เรื่อง การทำงานภาคประชาชน

- แนวคิด น่าสนใจค่ะ อาจารย์ขจิต// ขออนุญาต   ร่วมเสนอแนะ นะคะ

- คงต้อง กำหนดกรอบแนวทาง ให้ชัด ( เพราะคงทำไม่ได้ทุกประเด็น)

   และเลือกน้ำร่อง ในกรอบเล็ก ๆ แคบๆ เฉพาะท้องถิ่น เล็ก ๆ ก่อน นำร่อง .....แต่ละท้องถิ่น  ....ปัจจัยแวดล้อม  ก็ต่างกัน

   แม้ที่เดียวกัน แต่ต่างเวลาในการทำ  ก็อาจส่งผล นำมาซึ่ง ความแตกต่างได้.........

 

.... ใช้พื้นที่เป็นฐาน (คิด+ข้อมูล)

         บูรณาการทุกภาคส่วน

            สร้างกระบวนการเรียนรู้

                 สู้วิถีชุมชน

 

โดยชุมชน ... ของชุมชน .... เพื่อชุมชน

 

ฝากความคิดถึงอย่างแรง ๆๆๆๆๆ มาถึงยายธีด้วยจ้าาา

ขอบคุณค่ะน้อง ดร.ขจิต โครงการดีๆ เกิดจาก๔นำ นำเสนอสิ่งดีๆ ค่ะ มีแนวร่วมที่ดีค่ะ….

น้องยังคงมุ่งมั่นทำประโยชน์ต่อสังคมเส อนะคะ

เมื่อวานนี้คุณยายธีได้กรุณาโทรหาค่ะ ท่านเป้นผุ้ใหญ่ใจดี มีแนวคิดเชิงบวกที่น่ารักมากค่ะ

ด้วยศรัทธาค่ะ….ขอเป้นกำลังใจนะคะ

...ชื่นชมโครงการและกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์นะคะ...

-สวัสดีครับอาจารย์...

-ตามมาแจ้งอาจารย์ฺ 2 เรื่องครับ..

-เรื่องแรก "ผมได้จัดส่งไฟล์ฝึกเรียนรู้การถอดบทเรียนไปให้ในเมลล์ของอาจารย์แล้วนะครับ"

-เรื่องที่ 2 "มาชวนอาจารย์ไม่เก็บเห็ดโคนครับ..

-"ระดมความคิดเห็นเรื่อง เวทีที่ทำให้คนเจอกัน เช่นใน website ให้คนได้แลกเปลี่ยนกัน"

-น่าสนใจมาก ๆ ครับ..

-ขอบคุณครับ

  • อาจารย์แม่ เคยทำวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม "Paticipatory Action Reserach : PAR" (โดยบูรณาการภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการพัฒนาครูฯ และด้านการให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน) เรื่อง "การปฏิรูปการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นการพัฒนาการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในชนบท เป็นเวลา 2 ปี โดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ดำเนินการร่วมกับครู โรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน กิจกรรมสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การจัดการศึกษาภายใต้ "โครงการบ้านโรงเรียนร่วมใจ" ที่ครูและครอบครัวจัดการศึกษาคู่ขนานกันไป โดยมีนักศึกษาสาขาปฐมวัยที่อาจารย์แม่เป็นผู้ก่อตั้งสาขา ร่วมในโครงการดังกล่าว
  • เป็นโครงการวิจัยที่อาจารย์แม่ภูมิใจที่สุด เพราะก่อให้เกิดประโยชน์กว้างขวางที่สุด งานวิจัยนี้ ได้รับทุนส่วนบุคคลจาก วช. แต่ ดร.อมรวิชญ์ นาครทรรพ (ไม่แน่ใจว่า เขียนชื่อท่านถูกต้องไหม) จาก สกว. พอใจและบอกจะให้ทุนอุดหนุนการวิจัยเพื่อขยายผล แต่ช่วงนั้น อาจารย์แม่ต้องเดินทางไปศึกษาต่อ (แบบบางเวลา) ที่ออสเตรเลีย เลยไม่มีเวลาพอดำเนินการ ค่ะ
  • ถ้าสนใจอาจารย์แม่มีไฟล์ข้อมูลงานิจัยนี้อยู่นะคะ 

ขอบคุณอาจารย์ จอยมากครับ

ใช่ครับเลือกเรื่องที่ชัดเจนก่อน

เห็นด้วยครับว่าในที่เดียวกันแต่เวลาต่างกัน

ผลก็ได้ออกมาต่างกัน

ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากครับ ชอบใจ

การวิจัยที่เป้นของประชาชน โดยชุมชนและเพื่อประชาชนครับ

ขอบคุณคุณมะเดื่อ

ตอนนี้คุณยายกลับไปสิงห์บุรี

ไปช่วยป้าวิที่ปลูกผักที่อินทร์บุรีครับ

ขอบคุณพี่อร

ดีใจพี่อรได้คุยกับยายธี

คงมีเรื่องสนุกๆทำกันนะครับ

พี่อรสบายดีนะครับ

ขอบคุณพี่พจนาที่แวะเข้ามาอ่าน

เป็นโครงการของมหิดลครับ

พี่พจนาที่แคนาดาอุณหภูมิเท่าไรครับช่วงนี้

ขอบคุณคุณเพชร โอโหเห็ดโคนน่ากินมาก

ดอกตูมๆทั้งนั้นเลยนะครับ

น่าสนใจมากๆๆ

ได้เรื่องการถอดบทเรียนแล้ว

วันนี้จะส่งกลับไปให้ครับ

ขอบคุณอาจารย์แม่มากครับ

งานวิจัยที่อาจารย์แม่ทำน่าสนใจมากๆ

ดีใจที่ได้ยินเรื่องดีๆจากอาจาย์แม่ครับ

เห็นภาพท่านอ.วิรัตน์แล้ว ดีใจครับ..

ขอบคุณพี่ครูธนิตย์

ผมไม่ได้พบอาจารย์วิรัตน์นานมากๆเลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท