โรคปวดหลัง...กับคนไทย


             ปัจจุบันประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสสังคมโลกอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี การขยายตัวทางด้านการตลาด การติดต่อสื่อสารและการคมนาคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนไทยเป็นอย่างมาก จากการมีชีวิตอย่างเรียบง่ายในชนบทและประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรมไปสู่ชีวิตในภาคอุตสาหกรรมและสังคม มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประกอบอาชีพและในวิถีชีวิตประจำวันมากขึ้นซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อสภาพแวดล้อมและสุขภาพเป็นอย่างมาก ทำให้ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอย่างมาก ซึ่งในอดีตส่วนใหญ่มีผลมากจากปัญหาโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ โรคไต โรคไมเกรน ปวดข้อ ปวดหลัง เป็นต้น สาเหตุการเจ็บป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าวมีสาเหตุที่สำคัญมาจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องของประชาชนเหล่านั้นเป็นส่วนใหญ่ (สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์) โดยเฉพาะโรคปวดหลังเป็นอาการหนึ่งที่เป็นกันบ่อยๆ ประมาณ 4/5 ของผู้ใหญ่จะเกิดอาการปวดหลัง ซึ่งอาจจะมากบ้างน้อยบ้างขึ้นกับความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และการดูแลตัวเองผู้ที่มีอาการปวดหลังร้อยละ 50 จะหายภายใน 2 สัปดาห์ ร้อยละ 90 จะหายภายใน 3 เดือน จะพบผู้ป่วยร้อยละ 5 -10 ที่จะเป็นโรคปวดเรื้อรัง การที่มีอาการปวดหลังไม่ได้หมายความว่าจะมีการทำลายเนื้อเยื่อของร่างกาย การปวดหลังเป็นเพียงเกิดการอักเสบขึ้นที่โครงสร้างของหลัง อาการที่สำคัญที่แสดงว่าเส้นประสาทถูกทำลายและต้องพบแพทย์โดยด่วนได้แก่อาการปวดหลังจากการทำงาน เป็นปัญหาสำคัญที่พบบ่อยในกลุ่มคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม และผู้ใช้แรงงานทั่วไป ส่งผลไปถึงการหยุดงาน สูญเสียรายได้ เสียค่ารักษาพยาบาล หรือทำให้พิการได้ในที่สุด และมีแนวโน้มของการเกิดโรคนี้เพิ่มมากขึ้น  โรคปวดหลังจากการทำงาน เป็นโรคที่มีพยาธิสภาพที่กล้ามเนื้อหลัง เอ็นข้อ หมอนรองกระดูกสันหลัง และข้อต่อกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการปวดหลังบริเวณเอว ซึ่งเป็นสาเหตุของการลาป่วย รองลงมาจากอาการไข้หวัด และโรคทางเดินอาหาร อาการปวดหลังนั้น นอกจากจะทำให้เกิดความเจ็บปวด และเมื่อยล้าแล้ว ยังลดความสามารถในการเคลื่อนที่ ทำให้หลังตึง ก้มและเงยได้ไม่เต็มที่ เมื่อพักก็จะมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวใช้งาน หลังก็จะเริ่มปวดขึ้นอีก อาการปวดหลังเรื้อรัง ส่งผลไปถึงการหยุดงาน สูญเสียรายได้ เสียค่ารักษาพยาบาล หรือ ทำให้พิการได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้โรคปวดหลังจะพบได้ในทุกประเภทกิจการ หรือ ทุกประเภทอุตสาหกรรม แต่มักไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร เพราะความรุนแรงของปัญหามักจะค่อย ๆ เกิดขึ้นและไม่อันตรายถึงขั้นต้องเสียชีวิต

หมายเลขบันทึก: 551911เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2013 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2013 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

-สวัสดีครับ..

-กำลังเกิดปัญหากับตัวเองเรื่องนี้ครับ..

 

-ขอบคุณครับ

 

มีทั้งภาพและข้อความชัดเจนมาก

แต่ตัวอักษรเล็กและติดกันมากไปครับ

รออ่านอีกครับ

ชอบๆบันทึกแบบนี้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท