บุกรังโจน "โจน จันได" ผู้ให้และผู้มีใจเข้าถึง "ความจริง ความดี และความงาม"


 วันที่ 15-18 ตุลาคม 2556 ผมกับครอบครัว เราตั้งใจจะไปเรียนรู้ตามโครงการหลวงต่างๆ ในภาคเหนือ โดยเฉพาะที่ดอยอ่างขาง แต่พอถึงเวลามาจริง กลับคลาดไปหมด

ก่อนไป ป้าอุ๋ม (เราเรียกกันอย่างนั้น) อีเมล์มาบอกผมว่า ถ้าจะไปที่ดอยอ่างขางก็ได้ แต่อาจจะไกลไปหน่อย  ผมตอบกลับไปทันทีว่า ไม่ต้องไปก็ได้  แต่อยากไปเยี่ยม "ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการพึ่งตนเอง" หรือ "พันพรรณ" รังของ "โจน จันได" คนไทยอีสานบ้านเรา ที่ไปอยู่ที่เชิงเขาที่ บ้านแม่โจ้ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 
 
ผมสืบค้นและเรียนรู้จากสื่ออินเตอร์เน็ตก่อนเดินทาง มีสื่อวีดีโอเยอะมากครับ ลองคลิกดูที่นี่ครับ มีเว็บไซต์เผยแพร่ของ "พันพรรณ" ที่นี่  และประทับใจมาก จึงอยากจะ "บุกรังโจน กะเขาบ้าง"
 
"บุกรังโจน" เป็นชื่อของหนังสือของ สุดใจ ข่าขันมณี ที่ผมซื้อติดมือกลับมาอ่านที่บ้าน และใช้เวลาไม่นานเพราะอ่านแล้วรู้สึกว่าต้องนำมาบอกต่อครับ 

 

 

อยากแนะนำให้ท่านผู้ผ่านลองอ่านดูครับ ผมอ่านแล้วมีความรู้และรู้สึกดังนี้ครับ

  • เพิ่งรู้ว่า โจน จันได มีชื่อเล่นว่า โจ และทุกๆ คนที่ไปเรียนรู้กับเขาจะเรียกเขาว่า "พี่โจ" แทนที่จะเรียกว่า "พี่โจน"...สรุปแล้ว ชื่อเล่นชื่อ "โจ" ชื่อจริงชื่อ "โจน"..ฮา
  • ตอนแรกคิดว่า ทั้งชื่อทั้งนามสกุล เป็นภาษาต่างประเทศ... ทราบจากเล่มนี้ว่า... แต่ก่อนโจนมีชื่อว่า สมภาร  แต่ตอนบวรเรียนในห้องเรียนเดียวกัน มีสามเณรชื่อสมภารซ้ำกัน 3 คน ตกลงกันว่าต้องมี 2 คนที่ต้องไปเปลี่ยน... โจนเป็นคนหนึ่งทีจับฉลากว่าต้องไป... ตอนแรกจะเอาเป็นชื่อ "โจร" แต่เจ้าหน้าที่ไม่ยอมเพราะบอกว่ามันอัปมงคล เลยขอเป็น "โจน" เจ้าหน้าที่เลยบอกว่า "ทำๆ ให้มันเสร็จไป"..ฮา... ส่วน "จันได" คือไม้จันผาในภาษาลาวอีสานนั่นเอง..เป็นนามสกุลใหญ่ในบ้านศรีฐาน ยโสธร..
  • โจนเรียน ป.6 ที่บ้านเกิด บวชเรียนถึง มศ.5 (เทียบเท่า ม. 6) แล้วมาเรียนรามคำแหง เทอมสุดท้าย ปี 3 จึงออกตามหาชีวิตตนเอง...
  • โจนเป็นนักอ่านตัวยง แต่ก่อนอ่านหนังสือมาก แต่ตอนนี้ "อ่านใจ ตนเอง" มาก
  • โจนนับถือใครเป็นครูอยู่ 3 ท่าน คือ หลวงปู่ชาสุภัทโท ท่านพุทธทาสภิกขุ และ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ (ส.ศิวรักษ์) หลวงปู่ชาเป็นต้นแบบของการปฏิบัติ ท่านพุทธทาสเป็นการคิดทางธรรม และ ส.ศิวรักษ์ ได้วิธีคิดทางโลก...
  • โจนบอกว่าเมล็ดพันธุ์พืชที่ปลูกกันอยู่ในปัจจุบันกิโลละเป็นหมื่นบาท และพันธุ์แท้ (ปลูกแล้วไม่กลายพันธุ์) ค่อยๆ หายไป ที่ซื้อในตลาดส่วนมากเป็นพันธุ์ผสมจากบริษัทที่ปลูกได้ครั้งเดียว... หากไม่ทำอะไรไว้เช่น ศูนย์พันพรรณ ลูกหลานจะตกเป็นทาสของบริษัทเจ้าตลาดทั้งหมด..
  • ที่โจนไปซื้อที่และทำศูนย์พันพรรณ ที่เชิงเขาที่เชียงใหม่ ไม่ใช่ยโสธร เพราะปัญหาเรื่องน้ำ 
  • ตอนไปซื้อที่ เจ้าของถามโจนว่า จะซื้อแน่เหรอ ซื้อไปทำไม ดินเสื่อมปลูกอะไรตายหมดแบบนั้น เมื่อโจนยืนยัน เขาจึงขายแบบที่โจนเรียกว่า "ขายทิ้ง" ... วันนี้ไม่มีเค้าของดินเสื่อมแบบนั้นแล้วครับที่นั่น.. แต่ตอนนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ ดูอาคารหาประชุมดินด้านล่างซึ่งตั้งอยู่กลางเนินศูนย์พันพรรณ

 

 
  • บ้านโจน น่าจะเป็นหลังนี้ครับ (น่าจะ... คือได้จากการถามน้องที่กำลังบรรจุเมล็ดพันธุ์ส่งไปให้ผู้สนใจทางไปรษณีย์ แต่ไม่ได้มีโอกาสคุยกับโจนครับ)
 
  •  แนวคิดที่ถือเป็นอัตลักษณ์ของโจน นึกถึงโจนต้องนึกถึงคำนี้คือ ...  หากมันยากแสดงว่ามันต้องมีอะไรสักอย่างผิด ถ้าทำถูกชีวิตมันต้องง่าย.... ดังที่เขียนไว้ด้านหลังของหนังสือเล่มนี้ครับ 

 

 

  • เรื่องแนวคิดและวิธีคิดของโจนนั้นไม่ขอกล่าวถึงครับ เพราะตอนนี้ โจนดังระเบิดไปแล้ว ไม่ยากเลยที่จะหาศึกษาอ่านเอง
  • สองบทสุดท้ายของหนังสือ "บุกรังโจน" แสดงให้เห็นชัดว่า โจนเข้าถึง "ความจริง ความดี และความงาม" ของชีวิตตนเองแล้ว...

เหลือแต่เรา... ที่ต้องเฝ้าฝึกฝนตนเองต่อไป......

 


ดูรูปที่ถ่ายเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2556 ได้ที่นี่ครับ

ผมรู้สึกเมื่อแรกพบศูนย์ฯ ว่า "ทำไมศูนย์การเรียนรู้เป็นแบบนี้หละ" ... ผมรู้สึกตอนหลังเมื่อผ่านไปเพียงวันเดียวว่า... "นี่แหละแหล่งเรียนรู้ที่แท้จริง"...

หมายเลขบันทึก: 551381เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2013 01:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2013 01:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ความจริง ความดี และความงาม... เข้าถึงอยากจริงๆ ครับอาจารย์...

ขอบคุณข้อคิดจากปกหลังค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท