วัชรินทร์ เขจรวงศ์
นาย วัชรินทร์ เขจรวงศ์ วัชร์ เขจรวงศ์

ศูนย์การผลิตข้าวดีที่เหมาะสมหรือGAPศูนย์ข้าวยางโงะร้อยเอ็ด วันนี้(๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖)นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้การต้อนรับคณะนักวิชาการตรวจติดตามประเมินแปลงศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ด


ศูนย์การผลิตข้าวดีที่เหมาะสมหรือGAPศูนย์ข้าวยางโงะร้อยเอ็ด

 

วันนี้(๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๖)นายวัชรินทร์ เขจรวงศ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ให้การต้อนรับคณะนักวิชาการตรวจติดตามประเมินแปลงศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนยางโงะ หมู่ที่ ๑๑ ตำบลอาจสามารถ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ๒๐ คน การดำเนินการตามกระบวนการการผลิตข้าวดีที่เหมาะสม หรือ GAP(Good Agricultural Practice)ครบวงจรตั้งแต่การผลิตในระดับต้นน้ำ(การพัฒนาปัจจัยการผลิต) กลางน้ำ(การแปรรูป) และปลายน้ำ(การตลาด) ให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่างๆในพื้นที่ ทั้งศักยภาพของพื้นที่ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น สนุนการดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

           ศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนยางโงะ ม.๑๑ ตำบลอาจสามารถ ได้รับสนับสนุนการพัฒนาข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์(GAP) จำนวน ๒๐๐ ไร่ ในพื้นที่  เป็นหมู่บ้านนำร่องเป็น ต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ที่สำคัญควรมีการพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองคุณภาพข้าว มาใช้ในการพัฒนามาตรฐานข้าวบ้านยางโงะ และพัฒนาเกษตรกรให้มีการปลูกข้าวตามระบบที่มีการปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะ สม (GAP) สำหรับข้อกำหนดในกระบวนการผลิตที่ดี เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยจากศัตรูพืช สารเคมีและมีคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค คือ 1.แหล่งน้ำต้องสะอาด ปลอดภัย ห่างไกลจากแหล่งที่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้าง 2.พื้นที่ปลูกต้องห่างไกลจากแหล่งที่ก่อให้เกิดสารพิษตกค้าง 3.ไม่มีการใช้วัตถุอันตรายที่ใช้ในกระบวนการผลิต 4.มีการใช้ปัจจัย การผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสม เมล็ดพันธุ์คุณภาพดีตรงตามพันธุ์ ใช้ปุ๋ยในอัตราที่ถูกต้อง และเวลาที่เหมาะสม ใช้สารป้องกันกำจัดโรคแมลงอย่างถูกวิธี 5.การเก็บเกี่ยวในเวลาที่  เหมาะสมและมีการปฏิบัติหลังเก็บเกี่ยวที่ถูกต้อง ได้ผลผลิตแห้งเก็บรักษาได้นาน 6.มีการจัดการให้ได้ข้าวเปลือกที่มีคุณภาพการสีที่ดี 7.ได้ผลิตผลที่มีคุณภาพที่ดีปราศจากศัตรูข้าวและปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง และ 8.มีระบบการบันทึกที่ถูกต้องและครบถ้วนทั้งกระบวนการผลิต

ข้าวเป็น พืชอาหารหลักของคนไทยทั้งประเทศ และเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ให้ประชาชนบ้านยางโงะ และเป็นสินค้าส่งออกมีรายได้เข้าประเทศปีละแสนล้าน จึงเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะมีการปรับปรุงพัฒนาการปลูกข้าวให้มีผลผลิตต่อ พื้นที่และคุณภาพสูงขึ้น เพื่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อความมั่งคั่งของชาวนาไทย และการครองตำแหน่งความเป็นผู้นำด้านตลาดและการผลิตข้าวของโลกของไทยต่อไป กลุ่มเกษตรกรขนาดเล็กคือ หนึ่งในผู้ปลูกข้าวไทยเพื่อการส่งออก

 

 

………………………………………………………………..

ทีมข่าวร้อยเอ็ด/รายงาน

หมายเลขบันทึก: 551102เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 09:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2013 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท