วันที่คิดคำนึง...อดีตถึงปัจจุบัน


แล้วของไทยเป็นไง..ยัดเยียดวิชาการให้หนักหนาตั้งแต่อนุบาล.. มีการเตรียมและติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียน...ระดับประถมฯเรียนพิเศษและกวดวิชากันทั่วประเทศ รัฐบาลระดมทรัพยากรทั้งงบประมาณและครุภัณฑ์อย่างมโหฬาร หวังเห็น"คุณภาพ"ทางการศึกษา สิ่งที่ได้..เด็กไทย(ส่วนใหญ่)ไม่รู้เรื่องของตัวเอง ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่มีความรับผิดชอบ คลั่งสื่อออนไลน์/ สื่อสารกับใครไม่เป็น ขาดจิตอาสา ไม่อยากสนทนากับสมาชิกครอบครัว..ทำตัวลอยไปลอยมา แบบ"มือห่างตีนห่าง" กร่าง....แต่สมองกลวง..

วันวาน..ที่เหมือนจะว่าง แต่แท้จริงกลับเป็นงานเป็นการ..พาคนที่บ้านไปพบแพทย์ตามนัด ระหว่างที่รอตรวจเลือด สังเกตเห็นผู้ป่วยมากมายทั้งที่เดินไปมาและนั่งอยู่บนรถเข็น ทำให้ความรู้สึกอย่างหนึ่งแว็บเข้ามา..คิดถึงพ่อกับแม่(ครูใหญ่และภรรยา) ที่เคยอยู่ด้วยกันตอนที่บรรจุเป็นครูครั้งแรกเมื่อปี๒๕๒๙ ที่โรงเรียนบ้านไพรพะยอม จังหวัดศรีสะเกษ

.

พ่อกับแม่อายุ ๗๓ ปีแล้ว..ผมรีบโทรหาทันทีด้วยความคิดถึงและห่วงใยอย่างบอกไม่ถูก เสียงพ่อดูเนือยๆ บอกผมว่าเจ็บขา เดินไม่ค่อยไหว..เหล้าบุหรี่เลิกหมดแล้ว ส่วนแม่เป็นเบาหวาน ต้องไปหาหมอเป็นประจำ พ่อกับแม่บอกว่าบ่นคิดถึง "ชยันต์"เป็นประจำ ว่างๆอยากให้ไปเที่ยวบ้าน ผมรับปากและอยากไปใจจะขาด

.

พ่อคุยให้ฟัง..เด็กนักเรียนในหมู่บ้านอ่านหนังสือไม่ค่อยออก กีฬาไม่ค่อยเก่ง..ไม่เหมือนสมัยที่ผมอยู่ ผมก็เลยบอกว่า เป็นเหมือนกันหมดเลยนะพ่อ แต่พอนึกอีกที ก็แปลกเหมือนกัน ทั้งที่สมัยก่อนเด็กเรียนแค่ ๔ กลุ่มประสบการณ์เท่านั้น คือ ทักษะ (ไทย-คณิต) สปช.(สังคม/ชีวิต) สลน.(นิสัย/นาฎศิลป์) กพอ.(เกษตร) เด็กมีโอกาสได้อ่านหนังสือหลากหลาย ปัจจุบัน มี ๘ สาระ มีกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และมีนโยบายเรียนฟรี/ มีทัศนศึกษาและไอซีทีครบครัน แต่ปัญหาครอบคลุมไปทั่ว คือ เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้....โอ...แม่เจ้า

.

ตอนที่บรรจุใหม่ๆ..๑๕.๓๐ น. นักเรียนกลับบ้าน ครูจะรวมตัวกันที่ห้องพักครู พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ก่อนแยกย้ายกันไปทำกับข้าว เสาร์อาทิตย์..ขึ้นทำงานสะสางเอกสารและพัฒนาอาคารสถานที่ มีเวลาทุ่มเทให้กับงานโดยไม่รู้สึกคับข้องใจ เป็นพื้นฐานติดในจิตสำนึกมาถึงทุกวันนี้..

.

พอได้รับผลการตรวจเลือดแล้ว ก็ต้องไปยื่นให้พยาบาล แล้วรอตรวจช่วงบ่าย ผมบอกลูกชายให้นั่งรอเป็นเพื่อนแม่..ผมขอตัวไปนั่งอ่านหนังสือที่ห้องสมุด ชั้นที่ ๙ ที่บรรณารักษ์เปิดแอร์เย็นเฉียบ อ่านหนังสืออย่างสบายใจ เกือบ ๒ ชั่วโมง

.

สิ่งที่น่าสนใจในห้องสมุด คือคำพูดของพยาบาลที่สนทนากับบรรณารักษ์ เกี่ยวกับการศึกษาไทย..ว่าไทยจัดการศึกษาผิดทาง..ทำไมไม่เอาอย่างสิงคโปร์และญี่ปุ่น ที่เด็กอนุบาล-ประถมฯจะเรียนรู้ทักษะพื้นฐานด้านภาษา ครูจะสอนให้นักเรียนรู้จักดูแลตนเอง เอาตัวรอดให้ได้เมื่อมีเหตุเภทภัย ครูจะสอนให้เด็กข้ามถนน เข้าป่า/ว่ายน้ำ ทำกับข้าว เก็บกวาดเช็ดถูบ้าน และใช้เวลาก้มหน้ากับICTหรือสื่อออนไลน์แต่น้อย โดยให้ไปเน้นที่มัธยม..ดังนั้นเด็กจะมีเวลาเรียนรู้ทักษะชีวิต มีการสื่อสารใกล้ชิดกับผู้ปกครอง

.

แล้วของไทยเป็นไง..ยัดเยียดวิชาการให้หนักหนาตั้งแต่อนุบาล.. มีการเตรียมและติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียน...ระดับประถมฯเรียนพิเศษและกวดวิชากันทั่วประเทศ รัฐบาลระดมทรัพยากรทั้งงบประมาณและครุภัณฑ์อย่างมโหฬาร หวังเห็น"คุณภาพ"ทางการศึกษา สิ่งที่ได้..เด็กไทย(ส่วนใหญ่)ไม่รู้เรื่องของตัวเอง ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่มีความรับผิดชอบ คลั่งสื่อออนไลน์/ สื่อสารกับใครไม่เป็น ขาดจิตอาสา ไม่อยากสนทนากับสมาชิกครอบครัว..ทำตัวลอยไปลอยมา แบบ"มือห่างตีนห่าง" กร่าง....แต่สมองกลวง..

.

ออกจากโรงพยาบาลช่วงบ่ายสามโมง..ยังพอมีเวลา ไปเลือกซื้อกระเบื้องปูพื้นหน้าห้องอนุบาล..เลือกสีฟ้า ๗๐ กล่อง กล่องละ ๑๓๗ บาท/พร้อมยาแนว ๗ ถุง จ่ายเงินไป ๙,๘๐๐ บาท ทางร้านจะส่งให้ถึงโรงเรียนในบ่ายวันที่ ๑๗ ตุลาคม..ขับรถออกจากตัวเมือง เห็นข้างทางมีโรงงานขนาดใหญ่ขายโต๊ะเก้าอี้หินขัดสีขาวสวย นึกกึง "คุณระพี" ที่ท่านบริจาคเงินสนับสนุน"มุมอ่านหนังสือและที่ซ้อมดนตรี" ที่ควรมีโต๊ะนั่งที่แข็งแรงและเพียงพอ

.

ผมมัวแต่ยุ่งๆกับภารกิจหลายเรื่อง..วันนี้..ตัดสินใจต้องซื้อกลับไปให้ได้ โดยให้เขาส่งถึงโรงเรียน...เขาบอกซื้อ ๑๐ ชุด ถึงจะส่งให้..แต่สำหรับอาจารย์..๔ ชุดผมก็ส่ง(อ้าว..ผมเป็นคนน่าสงสาร..ไปแล้วหรือเนี่ย)

.

หกโมงเย็น..พนักงานส่งโต๊ะเก้าอี้หินขัดสีขาว มาส่งของและจัดวางตามจุดต่างๆ อย่างเรียบร้อย... ความมืดเริ่มครอบคลุมไปทั่วบริเวณโรงเรียน..แต่ใจผมรู้สึกดีและแช่มชื่นสว่างไสว..เขียนไปเขียนมา..จากอดีตถึงปัจจุบัน..หมดวันพอดี..

.

 

หมายเลขบันทึก: 551031เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 07:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 16:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

อ่านบันทึกของอาจารย์แล้ว   ได้อะไรหลายสิ่งอย่าง ในการสะท้อน ความแตกต่าง ของ การจัดการเรียนการสอน ในอดีต  กับปัจจุบัน ....โดยเฉพาะ วิถีชีวิตการทำงาน  ของ "ครู".....ในอดีต  กับปัจจุบัน ...ในบริบท ที่ต่างกัน.....
ยัดเยียดวิชาการให้หนักหนาตั้งแต่ อนุบาล.. มีการเตรียมและติวเพื่อสอบเข้าโรงเรียน...ระดับประถมฯเรียนพิเศษและกวดวิชา กันทั่วประเทศ รัฐบาลระดมทรัพยากรทั้งงบประมาณและครุภัณฑ์อย่างมโหฬาร หวังเห็น"คุณภาพ"ทางการศึกษา สิ่งที่ได้..เด็กไทย(ส่วนใหญ่)ไม่ รู้เรื่องของตัวเอง ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่มีความรับผิดชอบ คลั่งสื่อออนไลน์/ สื่อสารกับใครไม่เป็น ขาดจิตอาสา ไม่อยากสนทนากับสมาชิกครอบครัว..ทำตัวลอยไปลอยมา แบบ"มือห่างตีนห่าง" กร่าง....แต่สมองกลวง..

 

...สิ่งที่อาจารย์สะท้อน คือคุณลักษณะของเยาวชน ในศตวรรษที่ 21 โดยแท้เลยค่ะ...เฮ้อ....

ชุดละเท่าไหร่ครับ ชยันต์

แบบนี้ ชุดละกี่ตังค์คะผอ.

ดีใจกับเด็กๆ ที่มีมุมอ่านหนังสือและบรรยากาศซ้อมดนตรี สุดยอดแบบนี้ค่ะ

....

อาการปวดขาปวดเข่าของคุณพ่อคุณแม่

น่าลองทานข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือนะคะ

หลานสาวกับน้า มีอาการปวดเข่า ให้นำไปหุงแค่สิบโลผ่านไป อาการหายไปแล้วค่ะ

ส่วนแม่ ทานทั้งน้ำมันรำข้าวและข้าวซ้อมมือมาเป็นปี มือหายสั่น ขาที่กระตุกก็หายค่ะ

คาดว่า...อีกไม่นาน จะต้องมีโรงสีข้าวกล้องน้อยๆเองแล้วค่ะ

ขอบคุณทุกๆบันทึกเลยนะคะ

พาลูกหลานและดอกทานตะวัน มาสวัสดีค่ะ :)

พระท่านว่า    ผู้ใด  ทำบุญทำทานกับโรงเรียน จะมีวาสนา ภายภาคหน้า (หรือชาติหน้าก็ได้)จะมีคนศรัทรา รักใคร่.. เป็นใหญ่เป็นโต จริงๆๆนะ.....ขอบอก  ...

 

 

 

 

                                                                 จริงๆๆๆๆ นะ.....ไม่เชื่อหลอ.....

 

เด็กหญิงคนนี้...อยู่โรงเรียนผอ.ชยันต์ หรือ ผอ.อัญชัญ จ๊ะ...รุ่น 1 เลยนะเนี่ยะ.อิ อิ

คิดถึงสมัยเป็นครู ทำงานและนอนหลับบนตึกไม่มีใครบ่นว่าครับ

ดีใจด้วยครับที่ได้ที่นั่งนักเรียนใหม่แล้วครับ เย้ๆๆ

ครับ ...ปิดเทอมเล็กๆ แลจะได้งาน เป็นเพราะเพื่อนสมาชิกฯ เป็นกำลังใจให้..โดยแท้..ครับ

 

หนูก็ทำนะค่ะม้าหินอ่อนหนูจะสวยเหมือนเด็กหญิงในรูปไหมค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท