คนไร้แก่นสารกับความฝัน


จากตะพานหินท้องถิ่นกันดาร จากคนที่ไร้แก่นสารต้องจากบ้านเพราะความจนแย่

พ่อตายหลายปี เหลือมีก็เพียงแต่แม่ ชีวิตลำบากยากแค้น ต้องจากแม่มาแต่ลำพัง

ลำบากจริงหนอเมื่อพ่อผมตาย ครอบครัวระส่ำระสายเหมือนต้นไม้ที่อยู่ใกล้ฝั่ง

ยากจนเหลือเกิน หาเงินได้พอประทัง ชีวิตไม่สิ้นความหวัง ด้วยบุญสร้างชาติก่อนยังมี...

นี่คือบางส่วนของเพลง ยอดรักนักร้อง ซึ่งสอดคล้องกับชีวิตของใครหลายคนรวมทั้งผมด้วย

มันคือแรงบันดาลใจในการฝ่าฝันไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ทำให้เรายังยิ้มได้เมื่อยังรู้ว่ามีอีกหลายคนที่ต้องต่อสู้เหมือนเรา

 

การต่อสู้นั้นเป็นเรื่องราวที่น่าชื่นชมสุดๆนะครับ เราจะได้เห็นหลายคนหลายครอบครัวมุ่งมั่นทำมาหากิน อาบเหงื่อต่างน้ำกัน หาเงินมาเลี้ยงครอบครัวส่งให้ลูกเรียนเพื่อจะได้ประสบความสำเร็จในชีวิตกัน

ผลที่ได้ก็น่าภูมิใจครับ ลูกหลานของคนเหล่านั้นเขาก็สามารถสร้างครอบครัวและยังชีพด้วยอาชีพสุจริตในแบบฉบับเดิมที่คุณพ่อคุณแม่เคยทำมาก่อน อันนี้เป็นภาพชินตาที่เราจะได้เห็นตามสุภาษิต ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น

 

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมได้อ่านหนังสือมติชนรายสัปดาห์เรื่อง ความเสี่ยงของหนุ่มเมืองจันท์ มีแง่คิดที่น่าสนใจมากๆ ครับ

เขาเล่าถึงความประทับใจกับภาพถ่ายบนหนังสือเนชั่นแนลจีโอกราฟิก ทุกภาพล้วนประทับใจ ผมก็เห็นด้วยนะ ตรงนี้ เขาบอกว่าครั้งแรกเลยหนังสือฉบับนี้เป็นสิ่งพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่เป็นที่ชื่นชมของเราๆท่านๆ นะผมคิดอย่างนั้น ...ลูกค้าของเขาก็มีอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งได้ให้การสนับสนุนกันเรื่อยมาเริ่มตั้งแต่ คศ.1888 นะ พอถึงวันหนึ่งในปี ค.ศ.1904 ในขณะที่จะตีพิมพ์หนังสือได้มีความผิดพลาดในการส่งต้นฉบับเกิดขึ้น ทำให้บรรณาธิการซึ่งได้ทราบข่าวแบบกะทันหันต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปกติทางสำนักพิมพ์ก็จะมีแผนสำรองสำหรับเหตุการณ์อย่างนี้อยู่แล้วล่ะ หากแต่ครั้งนี้ดูเหมือนตัวบรรณาธิการมั่นใจและอยากจะทำในสิ่งใหม่ๆ แหวกแนวไปเลย ทั้งๆที่รู้ว่าหากตัดสินใจผิดพลาด หากไม่โดนใจ หรือยอดขายลด เขาจะต้องออกจากงาน.. ! แต่เขาก็ยังตัดสินใจในแบบที่เสี่ยง เขามองหาสิ่งวิเศษที่จะมาแก้ปัญหาและเขาเลือกรูปภาพต่างๆที่ถ่ายจากลาซา ทิเบต  ที่ส่งมาจากสมาคมภูมิศาสตร์จักรวรรดิรัสเซีย ในวันนั้นเขาได้คัดเลือกรูปภาพใส่แทนเนื้อหาวิชาการจำนวน11หน้า หลังจากวางแผงปรากฏว่า ผู้คนชื่นชอบภาพชุดนี้ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เนชั่นแนลจีโอกราฟิกจึงมีรูปภาพประกอบเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นมาด้วยความสวยของภาพที่ถ่ายอย่างพิถีพิถันแปลกตา หาดูยาก จึงทำให้เนชั่นแนลจีโอกราฟฟิกโด่งดังจนทุกวันนี้ ความสำเร็จตรงนี้มาจากความเสี่ยงครับเพราะความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์  หากเราทำงานอะไรสักชิ้นแล้วล่ะทิ้งความเสี่ยงมากไป ระหว่างรอคอยคำตอบสุดท้าย เราเองก็เครียดก็ลุ้นความสำเร็จ แต่สุดท้ายก็ได้แค่เวลาที่ผ่านไป

ในการใช้ชีวิตหลายครั้งต้องใช้ศิลปะ ต้องใช้ข้อมูล ใช้การพยากรณ์ จนมีความเชื่อว่าสิ่งที่เราคิดนั้นมันต้องใช่ และเราก็เสี่ยงเดินไปบนทางนั้นด้วยความมุ่งมั่น ตรงนี้แหละที่สร้างความแตกต่างระหว่างบุคคลที่ต้องแย่งชิงกัน ผมคิดอย่างนี้แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร

หมายเลขบันทึก: 551027เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 05:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 05:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันชอบดูสารคดีของ NG ค่ะ  เพราะภาพสวย มุมกล้องดี เป็นเอกลักษณ์ของ NG

ดิฉันอ่านมติชนทั้งรายวัน และสุดสัปดาห์ มาตั้งแต่ฉบับแรกๆ (ยังเรียนอยู่เลยค่ะ) ตั้งแต่ยังขายไม่ดี เขียนบทความส่งอยู่หลายปี

แต่เลิกอ่านไปเมือ ๒ ปีก่อน 

....ใช้ค่ะ ...เห็นด้วยค่ะ ..... การใช้ชีวิตหลายครั้งต้องใช้ศิลปะ ต้องใช้ข้อมูล ใช้การพยากรณ์ .... ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท