ผลงานผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย : การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ข้อดี และแนวทางแก้ไข



ผลงานผู้เชี่ยวชาญภาษาไทย : การวิเคราะห์ข้อบกพร่อง ข้อดี และแนวทางแก้ไข 

                                                                                                          จุฑามาศ  ศรีวิลัย

               ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนา.      ทรัพยามนุษย์  เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ   ครูจึงนับเป็นปูชนียบุคคล. ที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์  เป็นผู้มีความเสียสละดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง

            การสอน เป็นภารกิจหลักของครู ครูมืออาชีพจึงต้องเน้นการสอนให้มีคุณภาพ เพราะว่าคุณภาพการสอนของครูย่อมส่งผลดีต่อนักเรียน  และเยาวชนของชาติ  การประเมินคุณภาพของครูจึงสมควรอย่างยิ่งที่จะต้องประเมินจากตัวเด็กและเยาวชนของชาติ  ดังคำกล่าวที่ว่า “คุณภาพของเด็ก” สะท้อน “คุณภาพของครู” 
            จากพจนานุกรมคำว่า วิชาชีพ กำหนดว่าคือ อาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญ และไปดูข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ.2548 บัญญัติไว้ว่า วิชาชีพหมายความว่าวิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอน
และการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษา
ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษา ที่ต่ำกว่าปริญญา ทั้งของรัฐ และเอกชน และการ
บริหารการศึกษา นอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ  และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ  วิชาชีพชั้นสูง แปลง่ายๆคือต้องอาศัยวิชาความรู้ความชำนาญที่มากยิ่งขึ้นไปอีกเข้าขั้นเชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ   "วิชาชีพชั้นสูง" ตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย คือ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้สูง มีมาตรฐานในการปฏิบัติงานสูงขึ้น มีการติดตาม ศึกษา ค้นหาความรู้
ที่เกิดขึ้นใหม่
             
ปัจจุบันการประเมินวิทยฐานะของครูกำหนดให้มีการประเมินใน ๓ ด้าน คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ   ด้านคุณภาพการปฏิบัติงานและด้านผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่  โดยพิจารณาจากผลการปฏิบัติงาน ผลงานทางวิชาการ   ไม่น้อยกว่า  ๑ รายการ ผู้ที่ผ่านการประเมินในด้านที่ ๓ ต้องมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์จากคณะกรรมการจำนวน ๓ คน
อย่างเป็นเอกฉันท์ ทั้งส่วนที่เป็นผลการปฏิบัติงาน ผลงานทางวิชาการ และคะแนนรวม ดังนั้นวิทยฐานะ ต้องสะท้อนมาจากประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งนั้นๆ ไม่ใช่เป็นการมาทำ
เพื่อขอวิทยฐานะ และการประเมินก็ต้องประเมินจากการปฏิบัติหน้าที่ ภายใต้หลักการที่คณะกรรมการ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดไว้ ๕ คือ
หลักการความรู้ความสามารถและ.       สมรรถะในการปฏิบัติงาน   หลักคุณธรรม   หลักผลการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อผู้เรียน ต่อคุณภาพการศึกษา ต่อวงการวิชาชีพและต่อชุมชนและสังคม  หลักการทำงานแบบมืออาชีพ : การบริหารโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ การจัดการความรู้ และการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  และ หลักการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาไปพร้อมกับคุณภาพชีวิตการทำงาน
            
จากการสัมภาษณ์ผู้ส่งผลงานทางวิชาการเพื่อขอเลื่อนวิทยฐานะจากครูชำนาญการพิเศษ เป็นครูเชี่ยวชาญ โดยผู้ศึกษาได้รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ทั้งผู้ที่ผ่านการประเมินและไม่ผ่าน
การประเมิน  แล้วนำข้อมูลด้านต่างๆ มารวบรวม  สรุป  และได้วิเคราะห์ ซึ่งพบว่า
มูลเหตุที่ทำวิทยฐานะส่วนใหญ่เกิดจากการต้องการที่จะพัฒนาตนเอง  โดยสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ เพื่อมาพัฒนาผู้เรียน เป็นการพัฒนาวิชาชีพครู โดยการพัฒนาจริง โดยนำสิ่งที่ทำอยู่แล้ว  มาพัฒนาสู่การเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น  ชอบสร้างสื่อต่างๆเพื่อใช้ ในการสอนและการแก้ปัญหาการเรียนการสอนในชั้นเรียน เนื่องจากนักเรียนเข้าใจสื่อมากกว่าคำอธิบาย  ทำให้เด็กสนใจ  และเข้าใจเนื้อหามากกว่าการอธิบาย เมื่อผลออกมาเป็นที่น่าพอใจแล้วจึงนำมาเป็นผลงานทางวิชาการ  โดยขั้นตอนการทำงานจนประสบผลสำเร็จนั้น  เริ่มจากการวิเคราะห์หลักสูตร  วิเคราะห์ผู้เรียน  สภาพแวดล้อม  นำมาเป็นการออกแบบ  แล้วมาพัฒนารูปแบบการสอน ศึกษานวัตกรรม  เอาไปทดลองใช้ แล้วหาประสิทธิภาพ ก่อนนำไปใช้จริง  แล้วรวบรวมเป็นรายงาน  โดยเริ่มจากการวางแผน ศึกษาหลักสูตร  ศึกษาปัญหา  การวางแผนจัดการเรียนการสอนว่าหลักสูตรเป็นอย่างไร  จุดประสงค์อะไร แล้วจะสอนอะไรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์แล้วจึง ลงมือทำ  ทดลองทำ   ตรวจสอบและแก้ไข  โดยเริ่มจากการทำแผนการจัดการเรียนรู้ตามองค์ประกอบให้สอดคล้องกัน  ซึ่งประกอบด้วย  สาระ  มาตรฐาน  ตัวชี้วัด  สาระสำคัญ  จุดประสงค์ถ( KPA)  สมรรถนะ  ชิ้นงาน  ภาระงาน  เนื้อหา  กิจกรรมการเรียนการสอน  สื่อ/อุปกรณ์  แหล่งเรียนรู้  การวัดผลประเมินผล   จึงมาตรวจสอบ  เผยแพร่  โดยการถามผู้รู้  นำไปใช้แล้วปรับปรุงแก้ไข แล้วนำไปปฏิบัติจริง แล้วเผยแพร่ ที่สำคัญคือวางแผนในการทำนวัตกรรมแต่ละครั้งให้เหมาะสมสำหรับนักเรียนแล้วนำมาศึกษาผลงานตามที่วางแผนไว้  นำมาทดลองใช้ปรับปรุงให้เหมาะสมโดยปรับปรุงเรื่องการใช้ภาษา  ตลอดจนความแตกต่างระหว่างวัยของผู้เรียน  แล้วนำมาทดลองใช้  แก้ไขไปเรื่อยๆจนกว่าผลงานเป็นที่น่าพอใจ  แล้วนำไปเผยแพร่ให้ครูท่านอื่นนำไปใช้
              
ในด้านเทคนิคการทำงานให้ประสบความสำเร็จอันเกิดจากการวิเคราะห์  สังเกต  สร้างสรรค์นวัตกรรม  นำไปใช้จริง  พัฒนาจนได้ผลโดยมีการประเมินเป็นระยะ  และต้อง  มีการวางแผน  โดยลำดับความสำคัญของงาน งานที่ทำต้องตอบโจทย์ได้ทุกประเด็นโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลักรู้ว่าเขาจะเรียนอะไร  ได้อะไร มีประโยชน์เพียงใด  และสร้างความประทับใจในการเรียนการสอนให้ได้  ในด้านข้อคิดในการส่งผลงาน ต้องขยันอ่าน  ขยันค้น  ขยันคว้า ขยันคิด แล้วนำแนวคิดมาพัฒนาเป็นเนวคิดของตนเอง  นำผลงานไปใช้กับนักเรียนอย่างจริงจัง  แล้วนำผลงานมาปรับใช้ให้เหมาะสมโดยการทดลองหลายๆ ครั้ง  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  มีแนวคิดเป็นของตัวเอง  ไม่ยึดผลงานผู้อื่นเป็นหลักมีความมุ่งมั่นต้องทำให้ได้ ไม่ท้อ  ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จอยู่ที่นั่น  อย่าส่งผลงานเพราะอยากได้ตำแหน่งเป็นหลักให้ส่งผลงานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ตามเวลาและการสอนอย่างแท้จริงเหมือนกับผลไม้ที่ต้องสุกงอมตามระยะเวลาธรรมชาติ  ไม่เร่ง ค่อยเป็นค่อยไป ทำจริงๆ เมื่อได้แล้วต้องไม่อวดเก่ง ถ่อมตนเสมอ โดยคิดว่าทุกคนให้ความรู้เราได้  แม้แต่เด็ก  แล้วผ่านแน่นอน
              นอกจากนี้ยัง
ต้องมีการวางแผนในการทำงาน  ศึกษาแนวคิด  ทฤษฏีต่างๆ  โดยอ่านผลงานคนอื่นมากๆ ทั้งคศ.๓  คศ.๔ เพื่อได้แนวคิดหลายๆ แนวคิด เมื่อเริ่มดำเนินการให้ฝึกเขียนโครงร่างงานที่จะทำอย่างละเอียด(ลำดับความคิดตามลำดับ)  และเมื่อได้ผลงานแล้ว ควรให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้อง   ที่สำคัญผลงานต้องเริ่มจากการสอนเท่านั้น  เพราะงานสอนเป็นงานหลักของครู เป็นหน้าที่ของครูโดยแท้จริง  ครูต้องเป็นผู้รู้จริง  รู้ลึก  จึงจะส่งผลงานได้  ส่วนคนที่ทำผลงานวิชาการส่งแล้วไม่ผ่าน ถือว่าได้ส่งเสริมวิชาชีพแล้ว  แต่คนที่ไม่ทำผลงาน  ถือว่าทำลายวิชาชีพ บางคนส่งผลงานครั้งเดียวไม่ผ่านก็เลิกทำแล้ว  ดังนั้นการทำผลงานต้องตั้งใจและต้องศึกษาเกณฑ์ในการทำให้เข้าใจอย่างละเอียดด้วย
            
องค์ประกอบที่ทำให้ผลงานผ่านนั้น ผู้ทำเป็นคนที่รักและศรัทธาในวิชาชีพของตนภาคภูมิใจ
ในวิชาชีพ  มีความรู้ในเรื่องกฎหมายต่างๆ เกี่ยวกับวิชาชีพของตน  รู้จักใฝ่หาความรู้โดยการอ่านหนังสือมาก   อ่านด้วยความตั้งใจ   โดยเฉพาะวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย  และต้อง
 ทำจริง  สอนจริงสอนด้วยความตั้งใจ  มีเทคนิคในการออกข้อสอบ วัดผล  ประเมินผลตามกระบวนการที่ถูกต้องมีการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะความอดทน ทำเรื่อยๆท้อแล้วก็กลับมาทำใหม่  ใฝ่รู้  มีเหตุผล  เขียนไปแล้วก็ถามเพื่อน  ถามผู้รู้  มีการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รู้ก่อนที่จะส่งผลงาน  อย่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว  ให้ทำตัวเป็นน้ำครึ่งแก้ว  เก็บความรู้ได้ และมีการวางแผน  โดยการวางแผนการทำงานในหน้าที่ตามปกติ  ต้องไม่ให้บกพร่อง  ทำเต็มที่ ไม่ทิ้งห้องเรียน กำหนดตัวเองว่าต้องเขียนวันละกี่หน้า ต้องทำอย่างสม่ำเสมอและ ต้องตั้งปณิธานไว้เลยว่า   ชีวิตนี้ต้องได้เชี่ยวชาญให้ได้

สรุปข้อสังเกตในการทำผลงานแล้วไม่ผ่าน

               ส่วนใหญ่เกิดจาก เนื้อหาไม่ถูกต้องเป็นตัวสำคัญ  จะทำวิจัย หรือ ประเมินเรื่องใด  ก็จะมีเนื้อหาในเรื่องนั้นทั้งสิ้น  หลักวิชาไม่แม่น  ผลงานทางวิชาการต้องถูกหลักวิชาการ  ผู้ศึกษาได้นำข้อสังเกตบางประการที่กรรมการผู้ตรวจผลงาน  ได้ให้ข้อสังเกตจากผลงานของผู้ส่งผลงานไม่ผ่าน   มารวมรวมเป็นด้านๆ  ดังนี้

           รายงานการวิจัย

 บทคัดย่อ บทคัดย่อควรจะทําให้เหมาะสมไม่ยาวเกินไป กะทัดรัดได้ใจความประกอบด้วยชื่อเรื่อง ผลวิจัย ส่วนเครื่องมือ ผลการวิจัยโดยสรุป และคําสําคัญ โดยปกติไม่ควรเกิน 2 หน้ากระดาษ A4
             บทนํา
  ต้องบอกความเป็นมาและความสําคัญของปัญหาควรนํามาเสนอ สภาพของปัญหามีข้อมูลเอกสารหลักฐานประกอบ ชี้ประเด็นให้ชัดเจน ควรจะพูดถึงนโยบาย หลักการ และเจาะจง ไปสู่ปัญหาที่จะต้องหาคําตอบ  ส่วนวัตถุประสงค์การวิจัย จะต้องกําหนดให้สอดคล้องกับความสําคัญไม่ควรจะกําหนดวัตถุประสงค์มากเกินไป ควรคํานึงถึงเครื่องมือและการวิเคราะห์หาคําตอบ  ในการตั้งสมมติฐาน จะต้องชัดเจน เจาะจง ทดสอบได้สอดรับกับ วัตถุประสงค์ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยคาดว่าจะเกิดขึ้น
            ในส่วนของนิยามศัพท์ จะต้องกําหนดคําที่จําเพาะเจาะจงเกี่ยวกับคําสําคัญในการวิจัยครั้งนี้
            ในบทที่ ๒ เอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง ข้อความสําคัญเกี่ยวกับองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องหรือปัญหาของการวิจัยที่มีอยู่ก่อน และได้พิมพ์เผยแพร่แล้ว  โดยกําหนดหัวข้อที่เกี่ยวข้องตรงกับเรื่องที่จะทําการวิจัย
 สืบค้นองค์ความรู้ และความคิดเห็น อ่านเอกสารจดบันทึก แล้ว สังเคราะห์สาระที่ได้จากการศึกษา
   แล้วจึงนําสาระเหล่านั้นมาเรียบเรียงสรุป
  อ้างอิงแหล่งที่มาให้ชัดเจน  และถูกรูปแบบ
มีการสรุปกรอบแนวคิดที่ชัดเจน
           บทที่ ๓ วิธีดําเนินการวิจัย
 ต้องกําหนดรูปแบบการวิจัยให้เหมาะสมกับเรื่องที่จะศึกษา
กําหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
  ตลอดจนกําหนดวิธีการได้มาของเครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือ
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
 
การวิเคราะห์ข้อมูล การแปลความหมายและสถิติที่นํามาใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล
           บทที่ ๔ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล นําข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าทางสถิติที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัยเรียงตามลําดับอธิบายและแปลความหมายให้ครอบคลุมและถูกต้อง
           บทที่ ๕ สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ซึ่งประกอบด้วยการสรุปจะต้องนําข้อมูลที่ค้นพบที่สําคัญ และอภิปราย ข้อค้นพบที่สําคัญและมีผลของการค้นพบสอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักการหรือทฤษฎีใดๆ ที่นํามาเสนอไว้ในบทที่ ๒ ที่สําคัญ ข้อเสนอแนะนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อนักเรียน  ครู  สถานศึกษาและชุมชน ให้ชัดเจน

บรรณานุกรม กําหนดรูปแบบการเขียนให้เป็นแนวเดียวกันตลอด ตรวจสอบให้ครบและให้
สอดคล้องกับที่อ้างอิงในบทอื่น
            ภาคผนวก ควรกําหนดเอกสารสําคัญที่เกี่ยวข้องไว้สําหรับผู้อ่านงานวิจัยจะได้ เข้าใจเรื่องราวทั้งหมด  เช่น  ตัวอย่างเครื่องมือ   การหาคุณภาพเครื่องมือ
  ประวัติผู้เชี่ยวชาญโดยสังเขป
ระเบียบ ประกาศ คําสั่ง
   การเผยแพร่ผลงาน
  ประวัติผู้วิจัย เป็นต้น
            การวางแผนการส่งผลงานทางวิชาการเมื่อจะส่งผลงานควรคิดให้ละเอียดรอบคอบอีกครั้ง
 โดยคำนึงว่ามี ความถูกต้องตามหลักวิชาการไหม  ทุกคนต้องมั่นใจว่าที่เขียนลงไปนั้นต้องไม่ผิดแน่นอนและการเขียนทฤษฎี  กระบวนการ  ต้องให้ชัดเจน  ควรอ่านและอ้างอิงจากตัวเล่มจริง   ไม่ควรอ่านและอ้างอิงจากฉบับแปล และที่สำคัญ ต้องทันสมัย  บรรณานุกรมน้อยเล่ม  หรือปี พ.ศ. เก่าเกินไปหนังสือทั่วไป ไม่ควรเกิน 10 ปี งานวิจัยอย่าให้เกิน  5 ปี  และเนื้อหาควรทันสมัยเป็นปัจจุบันเหมาะสมกับบริบท  ผลงานต้องมีความคิดสร้างสรรค์  หรือมีสิ่งใหม่เกิดขึ้น  และที่สำคัญต้องถูกหลักภาษาไทยด้วยเวลาเขียนแล้ว  คนอ่านต้องรู้เรื่อง การเขียนพยายามเขียนจากเรื่องใหญ่ๆไปหาเรื่องย่อยๆ  ตัวย่อพยายามหลีกเลี่ยงถ้าไม่แน่ใจให้เขียนคำเต็ม  และต้องใช้คำศัพท์ในราชบัณฑิตเท่านั้น  ผลงาน ต้องสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย  ในท้องถิ่นเรามีวัฒนธรรมใดก็เขียนลงไปต้องมีจรรยาบรรณ  ถ้านำอะไรจากคนอื่นมาใช้ต้องอ้างอิง  อ้างอิงแบบไหนก็ได้  แต่ต้องเหมือนกันทั้งเล่ม  เช่น  นาม  ปี  หน้า  จะนิยมใช้มากที่สุด  การอ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต ต้องใช้น้อยที่สุดควรนำมาใช้จากคนที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น  ส่วนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง   ต้องดูจากชื่อเรื่อง  แล้วเลือกเอาเฉพาะที่เกี่ยวข้องเท่านั้น  และต้องอ่านจากต้นฉบับจริงเท่านั้น ห้ามอ้างถึงใน  ส่วนวิธีดำเนินงานวิจัยในบทที่ ๓ ต้องได้มาจากแนวคิด หลักการ ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในบทที่ ๒  การเขียน บทที่ ๓ ต้องมาจากบทที่๒  ทุกสิ่งที่นำมาใช้  ต้องปรากฏอยู่ในบทที่ ๒   การเขียน บทที่ ๔ ให้วิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์  ดีที่สุด  โดย ผลการวิเคราะห์ต้องตอบวัตถุประสงค์และสมมติฐานครบทุกข้อ  ใน บทที่ ๔  ให้วิเคราะห์ข้อมูลอย่างเดียว ไม่ต้องอภิปรายการเขียน บทที่ ๕   การสรุปผล  อภิปรายผล  และข้อเสนอแนะ  การอภิปรายผล ต้องอภิปรายผลให้เข้ากับเรื่องที่ทำนำผลที่ได้มาอภิปรายว่าที่ได้เพราะอะไร  นำแนวคิด  หลักการ  ทฤษฎี จากบทที่ ๒  มาสนับสนุน  แล้วตามด้วยสอดคล้องกับงานวิจัยของใคร  ต้องมีทั้ง  ๒ อย่างเสมอ  และทั้งสองอย่างต้องปรากฏในบทที่ ๒ ถ้าไปหามาเพิ่มใน บทที่ ๕  ต้องเพิ่มในบทที่ ๒ ด้วย  จุดอ่อนก็คือ  มีปรากฏในบทที่ ๕  แต่ไม่มีในบทที่ ๒  ข้อมูลต่างๆในงานวิจัยทุกบท  ต้องเที่ยงตรง  และสอดคล้องกัน การอภิปรายมีความสำคัญ  จะทำให้เกิดความรู้ใหม่   ในส่วนของข้อเสนอแนะต้องเป็นผลจากงานวิจัยของเรา ข้อเสนอแนะต้องได้จากสิ่งที่ค้นพบ  ข้อเสนอแนะทั่วไป  ให้มี  ๒ ข้อ  คือ  ข้อเสนอแนะในการทำวิจัย และข้อเสนอแนะในการทำงานวิจัยครั้งต่อไป เป็นจรรยาบรรณว่าผู้ทำวิจัยต้องมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ ผู้อื่นนำไปทำวิจัยต่อไป   ส่วนการเขียนบรรณานุกรม ถ้ามีอ้างอิง  ต้องมีบรรณานุกรม 
               ด้านผลงานทางวิชาการ ผลงานทางวชิาการที่ผู้ขอได้นำเสนอให้คณะกรรมการโดยทั่วไป
จะต้องตรงกับสาขาที่ขอ กำหนดตำแหน่ง ตามแบบคำขอ ตามหัวข้อ รายงาน ความเชี่ยวชาญในการสอน วิชานั้นๆ ซึ่งจะต้องจัดทำ เพื่อประโยชน์ในการเรียนการสอน และสามารถจะนาเสนอได้ในลักษณะต่าง ๆ มากมาย เช่น เอกสารประกอบการสอน แผนการสอน เอกสารคาสอน ตาราเรียน หนังสือเรียนหนังสืออ่านประกอบงานแปลบทความทางวิชาการงานวิจยัหรืออน่ื ๆโดยมคีวาม สมบูรณ์ของเนื้อหาครบถว้นตามหลักสูตร มในเอกสารอ้างอิงเป็นที่เชื่อถือได้ มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ตลอดจนมีประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางวิชาการ ความรู้จากเอกสาร ที่นำเสนอแล้ว นักเรียนสามารถนำไปพัฒนาตนเอง หรือนำไปใช้ศึกษาเพิ่มเติม 

 

เอกสารอ้างอิง

 

     สวัสดิการสำนักงาน ก.ค.ศ. (๒๕๕๔).  ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อขอเลื่อน
          วิทยฐานะ
.  กรุงเทพฯ 
:  สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู   กระทรวงศึกษาธิการ.
สวัสดิการสำนักงาน ก.ค.ศ. (๒๕๕๓).  คู่มือการประเมินข้าราชการครูและบุคลากรท

หมายเลขบันทึก: 551029เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 07:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2013 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมาก  ครูจะได้เอาไปใช้ประโยชน์ในการทำผลงาน

ส่วนใหญ่ก็จะได้มาจากการเรียนวิชาวิจัย แต่มักจะลืมๆ ไปแล้ว

รวบรวมข้อมูลจากข้อสังเกตของครูที่ส่งผลงานไม่ผ่านค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท