สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ
มูลนิธิสยามกัมมาจล สร้างโอกาสการเรียนรู้ สร้างเยาวชนคุณภาพ สร้างสังคมคุณภาพ มูลนิธิสยามกัมมาจล

หนึ่งบทบาทของ “นักถักทอชุมชน” สู่การขับเคลื่อนโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย จ.สุพรรณบุรี


 

 

หนึ่งบทบาทของนักถักทอชุมชน

สู่การขับเคลื่อนโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย จ.สุพรรณบุรี

เมื่อดิฉันได้มีโอกาสไปร่วมกิจกรรมดำนา ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนห้วยม้าลอย ต.หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ในวันที่ 7 กันยายน 2556 ที่ผ่านมา จึงได้ทราบว่าจากโรงเรียนครอบครัวห้วยม้าลอย สู่การต่อยอดเพื่อเป็นต้นแบบให้พื้นที่ในตำบลหนองสาหร่าย จึงได้เป็นที่มาของ กิจกรรมครอบครัวสัมพันธ์เรียนรู้วิถีชุมชนการทำนาโดยวิถีการดำนา

โดย มหกรรมดำนา ถือเป็นการสร้างจิตสำนึกให้กับลูกหลาน ทั้งคนในชุมชนได้อนุรักษ์สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นการสร้างความมีส่วนร่วมในชุมชน ให้รู้วิถีชีวิตของรุ่นปู่ย่าตายาย นอกจาก

นี้ยังเกิดความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มต่างๆในชุมชนตั้งแต่เด็กเล็กๆในครอบครัวไปจนถึงรุ่นปู่ย่าตายาย ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการต่อยอดจากการทำกิจกรรมโรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอยในครั้งที่แล้ว โดยเริ่มจากหมู่ 4 และกำลังขยายไปสู่หมู่ 2 และหมู่ 8 ทั้งนี้เพื่อเป็นต้นแบบให้กับพื้นที่อื่นๆ

และเมื่อได้ไปพูดคุยกับคุณเตียง ชมชื่นสมาชิกอบต.หนองสาหร่ายอำเภอ

ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งรับหน้าที่ครูใหญ่โรงเรียนครอบครัวห้วยม้าลอย ได้เล่าว่า เดิมทีบ้านห้วยม้าลอยไม่มีคำว่าโรงเรียนครอบครัว แต่ได้ไปรู้จักกับ มูลนิธิสยามกัมมาจล และสรส.นำโดย อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ (ผู้อำนวยการ สรส.)มาชักชวนว่าอยากจุดประกายให้กับชุมชนและเยาวชน เริ่มจาก โรงเรียน วัด แกนนำในหมู่บ้าน และผู้นำชุมชน ที่มาร่วมพูดคุยกันทำให้เกิดโรงเรียนครอบครัวในหมู่บ้านห้วยม้าลอย

จากเดิมชุมชนมีความเป็นอยู่แบบต่างคนต่างอยู่ ไม่มีการเอื้ออาทรต่อกัน พออาจารย์ทรงพลมาแนะนำ จึงเกิดประชุมในพื้นที่โรงเรียน ซึ่งหลายหน่วยงานให้ความร่วมมือ โดยเราจะเริ่มที่เด็กก่อน โดยเชิญผู้ปกครองมาทำความเข้าใจว่าอยากจะเห็นลูกหลานเราเป็นอย่างไร ทุกคนก็อยากจะให้ลูกได้ดี เรียนจบ มีงานทำ ดูแลพ่อแม่ได้ แต่เด็กเดี๋ยวนี้จะเบื่อหน่ายผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุเขาจะสอน ซึ่งเด็กเบื่อหน่ายทำให้เกิดช่องว่างกัน ผมจึงไม่อยากเห็นภาพตรงนี้

ทั้งนี้กิจกรรมดำนาถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานจากทีม นักถักทอชุมชนหนองสาหร่าย ที่เข้าร่วม หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อการพัฒนาเด็ก เยาวชน ครอบครัว มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในบทบาทเลขานุการกับกลไกพัฒนาเยาวชน ร่วมกับ โรงเรียนครอบครัวบ้านห้วยม้าลอย โดยใช้ทุนทางสังคมของชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนงาน

ทางด้านนางสาวชณัฐศิการูปข่าวกิจกรรมดำนาห้วยม้าลอย.zipนต์ ชัยวันดีบุคลากร อบต.หนองสาหร่าย  อำเภอดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรีได้กล่าวถึงบทบาทของนักถักทอฯในการร่วมกิจกรรมในวันนี้ว่า เราได้ประสานงาน พร้อมทั้งมีการประชาสัมพันธ์และประชุมเรื่องการดำนาของหมู่ที่ 4 บ้านห้วยม้าลอย โดยเป็นการนำเสนอว่าจะมีกิจกรรมอะไรบ้างพร้อมทั้งดูแลเรื่องสถานที่ ดูแลกิจกรรมการแสดง จากนั้นก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการ ซึ่งเราต้องนำประโยชน์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่าแต่ละคนมีความรู้สึกอย่างไร มีแนวคิดอย่างไรในกิจกรรมวันนี้ เพื่อที่จะให้ผู้เข้าร่วมมีแนวคิดไปต่อยอด โดยใช้กระบวนการคิด ชวน คุย ซึ่งครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ทุกคนให้ความสนใจ

จากการขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนกับการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้ปกครอง โรงเรียน วัด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล การศึกษานอกโรงเรียน ชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย สู่ร่วมมือกันเพื่อสร้างกลไกในการพัฒนาเด็ก เยาวชน ให้ขับเคลื่อนงานได้ต่อไปนั้น

ทั้งนี้ นายพรสันต์ อยู่เย็นนายกอบต.หนองสาหร่าย อำเภอดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรีกล่าวว่าเป้าหมายต่อไป วันนี้เรากำลังมองเด็กที่เข้ามาเป็นแกนนำ สามารถที่จะเป็นหัวหมู่ ทะลุทะลวงไปดึงเพื่อนต่างๆในหมู่วัยรุ่น เข้ามาร่วมกิจกรรมกับพวกเราได้ ดีกว่าให้เด็กพวกนั้นไปนั่งเล่นสะพานตอนกลางคืน และเราจะมีกิจกรรมส่งเสริม ดูว่าเด็กเก่งอะไร ถนัดอะไร ด้านไหนเราก็จะลงไปสนับสนุนในด้านนั้น และไม่ใช้การบังคับแต่ให้เด็กเดินเข้ามา ค่อยๆดึงเด็กๆเข้ามาทีละนิด

นายพรสันต์ อยู่เย็น กล่าวต่อว่าไม่ได้หวังว่าโรงเรียนครอบครัวจะให้อะไรกับชุมชนบ้าง แต่หวังว่าคนในชุมชนจะให้อะไรโรงเรียนครอบครัว เพื่อเอาตรงนั้นตอบสนองให้ชุมชนอีกชั้นหนึ่ง ให้คนในชุมชนมาร่วมกันทำกิจกรรม ซึ่งโรงเรียนครอบครัวไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ห้วยม้าลอยอย่างเดียว จะย้ายไปอยู่ที่ หมู่2 หมู่ 8 ที่มีพื้นที่ที่ทุกคนจะมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน มาช่วยกันทำกิจกรรมดีๆให้กับชุมชน มาช่วยกันดูแลรักษาลูกหลานเรา

และนี้ถือเป็นอีกบทบาทหนึ่งของนักถักทอชุมชนที่เข้าไปขับเคลื่อนกลไกของหมู่บ้านให้สามารถเดินหน้าต่อเพื่อไปพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เติบโตขึ้นมาเป็นบุคลากรที่ดีของสังคม โดยใช้วิถีชีวิตแบบชาวบ้านในการปลูกฝังเยาวชนให้รู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น

 

หากท่านใดสนใจสามารถรอติดตามกันต่อได้ในบล็อกมูลนิธิสยามกัมมาจลนี้หรือในเว็บไซต์มูลนิธิ ฯ (http://www.scbfoundation.com)และในเฟซบุ๊กมูลนิธิสยามกัมมาจล(https://www.facebook.com/SCBFOUNDATION)

หมายเลขบันทึก: 550431เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 18:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 ตุลาคม 2013 18:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ชอบเด็กๆขี่ม้าก้านกล้วย ครับ..

เป็นกิจกรรมที่ดีมากๆ

ขอชื่นชมการทำงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท