ทำงานกับชาวต่างชาติอย่างไร ในโรงเรียนสองภาษา


เข้าใจเขา...เข้าใจเรา ก็ทำงานกันอย่างสบาย (ชาติใดในโลกก็เหมือนกัน)

1. การทำงานร่วมกับชาวต่างชาติ ไม่ใช่เรื่องยาก อย่างแรกคือเรื่องของการสื่อสารเราต้องรู้ว่าเราจะคุยกับเขาเรื่องอะไร และต้องแน่ใจว่าเราเข้าใจในเรื่องที่เราจะคุยกับเขาดีพอ เช่นในเรื่องของการเรียนการสอนเราก้ต้องแม่นในเรื่องของหลักสูตร และเนื้อหาที่เราจะให้เขาสอน  (ถ้าเราไม่แน่ใจ ก็ต้องไปหาความรู้มาให้ดีก่อน) เพราะเมื่อเวลาที่เขาถามเรากลับว่าทำไม แล้วเราตอบไม่ได้ หรืออธิบายได้ไม่ตรงประเด็น เขาก็จะไม่ค่อยแน่ใจว่าเรารู้เรื่องนั้นดีพอหรือไม่ หรือถ้าเป็นหัวหน้าของเขายิ่งต้องระวัง อาจทำให้เขาดิสเครดิตได้ ...

2. การให้คำสั่ง ควรทำอย่างชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปมา ต้องแน่ใจว่าสิ่งที่เราจะสั่งนั้นนิ่งแล้ว ไม่สับสน และวกวน อาจทำให้เขาจับมาเป็นข้อโต้แย้งที่จะไม่ทำตามได้  เหมือนกับว่าเราบอกเขาไม่ชัดเจน และเขาจะถือหรือเลือกเอาเรื่องหรือสิ่งที่ทำง่ายทำก่อน (อาจไม่ตรงกับเจตนาของเรา)

3. การให้เวลา เป็นสิ่งสำคัญ ไม่ควรบอกหรือสั่งให้ทำอะไร โดยไม่บอกล่วงหน้า และถ้าบอกได้ยาวๆ ถือว่าดีมาก จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ต้องทำในลักษณะเดียวกัน  แต่ถึงกระนั้นในบ้างครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงแบบกระทันหันก็ย่อมทำได้ ทั้งนี้ก็ต้องบอกเหตุผลไปตรงๆว่าเพราะอะไร และบอกไปตรงๆว่าเป้นการเปลี่ยนแบบกระทันหัน ขอโทษด้วย  และเราต้องการความร่วมมือจากเขา

4. คำชมเชย การเสริมแรง ก็เป็นส่วนสำตัญ เขาเองเวลาสอนนักเรียนก็ให้คำชมนักเรียนบ่อยๆ เช่น ถ้าเราดูในวีดีโอการสอน หรือสังเกตการสอนของชาวต่างชาติ จะพบคำว่า verygood welldone good job หรืออะไรต่างๆ ที่เป็นการเสริมแรง นักเรียน เขาจะใช้มันเสมอๆ   ถ้าเราเป็นหัวหน้า หรือเพื่อนร่วมงานก็สามารถพูดชมกับเขาได้  การทำเช่นนี้ ต้องทำทันทีที่พบพฤติกรรมที่ดี แต่ห้ามทำบ่อยจนกระทั่งเขาจับได้ หรือรู้สึกว่าว่าไม่จริงใจ  บางครั้งการตอบสนองเขาด้วยคำพูดเป็นเบื้องต้นก็จะช่วยให้กำลังใจได้มากเหมือนกัน ในระยะสั้น   แต่ในระยะยาวการขอบคุณ หรือชมเชยอาจไม่เพียงพอ  จึงอาจเป็นในรูบแบบของการตอบแทน เช่นโบนัส การขึ้นเงินเดือน  ของขวัญ รางวัล หรือการได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ ก็ช่วยได้ไม่น้อย เช่นให้รับประทานอาหารกลางวันโรงเรียนฟรี ให้บุตรเข้าเรียนในโรงเรียนแบบมีการลดหย่อน หรือยกเว้น  หรือสิทธิพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่ง

5. การตำหนิ ชาวต่างชาติ ในเรื่องการทำงานในหน้าที่ ทำได้ แต่ในเรื่องส่วนตัวอาจดูไม่เหมาะ ถึงแม้ว่าเรากับเขาจะสนิทกันมาก พูดถึงเรื่องของการตำหนิจำเป็นต้องพูดกับเขาโดยตรง การฝากให้ใครไปพูดมักไม่ได้ผล ควรคุยกับเขาโดยตรง และให้เหตุผลไปว่าทำไม ถ้าไปขัดกับกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ สัญญาจ้าง ต้องแจ้งให้ทราบทันที เขาจะรู้สึกผิด และไม่กล้าทำอีก แต่อย่าพูดว่าเป็นธรรมเนียม วัฒนธรรม  บางครั้งเขาอาจไม่เข้าใจ หรือเข้าใจแต่บิดเบือนได้

6. อาจารย์ชาวต่างชาติเกือบทุกคน ไม่ชอบให้ใครเรียกเขาว่า "ฝรั่ง" หรือแม้จะเรียกว่าอาจารย์ฝรั่งก็เถอะ ที่ดีเรียกชื่อ หรือคำว่าอาจารย์ก็ใช่ได้ดี 

วันนี้คงต้องขอพูดแค่นี้ก่อนนะคะ เป็นการเขียนครั้งแรก ถือ เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ได้มีความรู้มากมายในเรื่องของชาวต่างชาติ แต่จากการทำงานร่วมกับชาวต่างชาติมามากกว่า 15 ปี ในโรงเรียนสองภาษาทำให้ได้เห็นบางอย่างที่เหมือนกัน และแบ่งปั่นได้ เพราะในอนาคต เราอาจจะต้องทำงานร่วมกับชาวต่างชาติมากขึ้นกว่านี้ ในปีที่อาเซียนกำลังคืบคลานเข้ามา ขอบคุณคะ

 

หมายเลขบันทึก: 549198เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เป็นบันทึกที่ดีมีประโยชน์สำหรับครูอาจารย์คนไทยที่ต้องทำงานร่วมกับชาวต่างชาตินะคะ...

 

ชอบการทำงานกับต่างชาติครับอาจารย์

เขาตรงต่อเวลาและมีความเป็นตัวของตัวเอง

เอามาฝากครับ

Satreephuket school International English Program Training :Project ...

http://www.gotoknow.org/posts/356696

ขอบคุณคะ อาจารย์เก่งมากนะคะ  ได้ดูจากบล็อกของอาจารย์ 

ทำให้อยากมีโอกาสพัฒนาอาจารย์ชาวต่างชาติที่โรงเรียนด้วยเหมือนกัน

มั่นใจว่าอาจารย์พัฒนาฝรั่งได้แน่นอน

รออ่านเรื่องการพัฒนาฝรั่งของอาจารย์นะครับ

เอาการพัฒนาผู้บริหารมาฝากครับ

ค่ายภาษาอังกฤษผู้บริหาร สพป.นครปฐมเขต 2 (2)

เห็นในรูปแล้วคะ ค่ายภาษาอังกฤาของผู้บริหารน่ารักดีคะ

อยากไปอบรมด้วยแล้วละคะ หรือถ้าอาจารย์มีเวลาว่างได้มาแถวชลบุรี เมื่อไร ขอเชิญนะคะ

ในช่วงมีนาคม เรามักจะมีการสัมมนาครูชาวต่างชาติคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท