ธรรมรัต
พระมหา ธรรมรัต อริยธมฺโม ยศขุน

คำถามน่ารู้เกี่ยวกับคัมภีร์วิสุทธิมรรค ครั้งที่ ๑ โดยพระแทนคุณ


คำถามน่ารู้เกี่ยวกับวิสุทธิมรรค

                                                                 (โดย พระแทนคุณ อุชุจาโร  สาขาพุทธศาสตร์ ชั้นปี ๔)

วันที่  ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๖

 

 (๑) พระพุทธโฆษาจารย์คือใคร ? มีความสำคัญอย่างไร ? ผลงานโดดเด่นของท่านมีอะไรบ้าง จงอธิบายมาให้ชัดเจน ?

ตอบ พระพุทธโฆสะ เป็นชาวอินเดีย เกิด ณ หมู่บ้านชื่อโฆสคาม ใกล้พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าเมื่อ พศ.๙๕๖ ได้ศึกษาจบไตรเพทตามธรรมเนียมพราหมณ์ก่อน ต่อมาจึงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยการชักจูงของพระเรวัตตเถระ หรือบางแห่งเรียกธรรมโฆสะก็มี และได้บรรพชาอุปสมบทกับพระเรวัตตะนั่นเองเมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้วได้ศึกษาพระพุทธพจน์โดยเคารพประกอบด้วยอุตสาหะอย่างยิ่ง จนแตกฉานทั้งในพระไตรปิฏกและอรรถกถา

·       มีความสำคัญดังนี้

              ท่านได้แต่งปกรณ์ชื่อญาโณทัยขึ้นคัมภีร์หนึ่ง และกำลังปรารถจะแต่งอรรถกถาพระอภิธรรมชื่ออรรถกถาสาลินี และอรรถกถาปลีกย่อยอื่นๆ ท่านเรวัตตะผู้เป็นอุปฌายะจึงแนะนำว่า เมื่อจะแต่งอรรถกถาเหล่านี้ ก็ควรเดินทางไปเกาะลังกา เพราะเวลานั้นอินเดียมีแต่บาลีพระไตรปิฏกทั้งสิ้น ส่วนอรรถกถาทั้งหลายมีอยู่ ณ เกาะลังกาเป็นภาษาสิงหลซึ่งพระเถระมีพระสารีบุตร(ชาวลังกามิใช่พระสารีบุตรอัครสาวก) และพระมหินเทเถระได้กระทำไว้ พระพุทธโฆสะจึงเดินทางไปลังกาทางเรือ และได้แปลอรรถกถาต่างๆ เป็นอันมากจากภาษาสิงหลเป็นภาษามคธ ได้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรคในขณะที่อยู่ลังกานั่นเอง  ท่านได้เลือกเฟ้นพระพุทธพจน์ที่เหมาะสมยิ่งคือ มีใจความรวมเอาหลักสำคัญของพระพุทธศาสนาไว้ทั้งหมด ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา แล้วนำมาขยายเพราะเหตุที่ท่านแตกฉานในพระพุทธพจน์และอรรถกถาจึงสามารถขยายความได้ดีเยี่ยม

·       ผลงานที่โดดเด่นมีดังนี้

            คัมภีร์อรรถกถาธรรมบท และคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งนับเป็นคัมภีร์ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในหมู่นักเรียนบาลี  โดยเหตุผลที่ได้กล่าวแล้วไว้ข้างต้น คัมภีร์ที่ท่านได้รจนาไว้เท่าที่ทราบ คือ วิสุทธิมรรค สมันตปาสาทิกา ญาโณทัย    อัตถสาลินี และ ธัมมปทัฏฐกถา ทางคณะสงฆ์ของเมืองไทยได้ใช้หนังสือของท่านเป็นหลักสูตรในการเรียนบาลี ตั้งแต่ชั้นประโยค  -  ถึง ประโยค ป.. จนถึงปัจจุบันนี้คัมภีร์ ธัมมปทัฏฐกถา หรือ ธรรมบท อุปมาเหมือน ปิยมิตร ผู้ซื่อสัตย์ คอยชี้ทางแห่งความสุขและความเจริญ  และคอยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น   คำสอนในคัมภีร์พระธรรมบท มีคุณค่าและเหมาะสมกับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกเชื้อชาติ ศาสนา ดังนั้น คัมภีร์ ธัมมปทัฏฐกถา หรือ ธรรมบท จึงได้ชื่อว่า วรรณคดีโลก

(๒.) ในพระบาลีท่านแสดงว่าอะไรคือ วิสุทธิมรรค ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?

ตอบ  วิสุทธิมรรค คือ ความบริสุทธิ์สูงขึ้นเป็นขั้น ๆ เป็นธรรมะที่เอามาใช้ล้าง ชำระให้สัตว์บริสุทธิ์ บริบูรณ์เป็นคน ให้บรรลุจุดมุ่งหมายอันเป็น พระนิพ พาน ที่ตนได้มุ่งหวังตั้งใจไว้ 
            .   ศีลวิสุทธิ ความสะอาดแห่งศีล คือ รักษาศีลตามขั้นของตน ให้บริสุทธิ์และเป็นไปเพื่อสมาธิ วิสุทธิมรรค ได้แก่ บริสุทธิ์ศีล (๔)
          ๒..   จิตตวิสุทธิ ความสะอาดของจิต คือ ฝึกจิตไปจนให้เกิดสมาธิ เพื่อรากฐานแห่งวิปัสสนาวิสุทธิมรรคได้ ญาณสมาบัติ (๘) พร้อมไปด้วยคุณสม บัติ
          .   ทิฏฐิวิสุทธิ ความสะอาดของทิฏฐิ คือ ความรู้แจ้งและเข้าใจเห็นนามรูป ตามสภาพความเป็นจริง เป็นเหตุมาทำให้หมดกังขาได้ ไม่หลงเข้าใจ ผิดอีก 
           . กังขาวิตรณวิสุทธิ ความสะอาดแห่งญาณ อันเป็นเหตุทำให้ข้ามพ้นจากความสงสัย คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูปได้ จึงสิ้นสงสัยกังขาใน ๓ ข้อนี้ ตรงกับธรรมฐิติญาณ หรือ ยถาภูตญาณ หรือ สัมมาทัส สนะ จัดเป็นขั้นกำหนดสมุทัยสัจจ์ 
           . มรรคามรรคญาณทีสสนวิสุทธิ ความสะอาดแห่งญาณที่รู้เห็นว่าใช่หรือไม่ใช่ ความเห็นแจ้งวิปัสสนาด้วยการพิจารณา จนเห็นว่าความเสื่อม เกิดขึ้นแห่งสังขารทั้งหลาย เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ เป็นต้น วิปัสสนา คือ วิปัสสนาขั้นอ่อน ๆ แล้วมีวิปัสสนูปกิเลส กิเลสเกิดขึ้น เรากำหนด ให้ได้ และให้รู้ได้ว่าอุปกิเลสทั้งสิ้นแห่งวิปัสสนานั้นไม่ใช่หนทาง ส่วนวิปัสสนาที่เริ่มดำเนินเข้าวิปัสสนา และเป็นทางที่ถูกต้อง จะรักษาจิตไว้ในทางวิปัส สนาญาณนั้น ๆ ต่อไป ข้อนี้จัดเข้าเป็นกำหนดมัคคสัจจ์ 
            . ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ความสะอาดแห่งญาณอันเป็นหนทางกำหนดเอามาดำเนิน คือ ให้ทำความเพียรในวิปัสสนาทั้งหลายจะเริ่มแต่อุทัย พนุปัสสนาญาณ ได้พ้นจากอุปกิเลสดำเนินเข้าสู่วิถีวิปัสสนาทางสายกลางจนถึง สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ อันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนาต่อ จากนี้ จะเกิดโคตรภูญาณ ซึ่งใช้คั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้ายเป็นเส้นแบ่งของความเป็นคนธรรมดา และอริยบุคคล สรุปความแล้ววิสุทธิข้อนี้ก็คือ วิปัสสนาญาณ (๙)
            . ญาณทัสสนะวิสุทธิ ความสะอาดแห่งญาณทัสสนะ คือ ความในอริยมรรค ๔ หรือ มรรคญาณ อันเกิดจากโคตรภูญาณ เป็นต้น เมื่อราคะเกิด แสดงผลของจิตต่างกันไป ผู้ปฏิบัติก็จะทราบด้วยตนเอง 
            จากอริยมรรคญาณนั้น ๆ ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิข้อนี้และอันบรรลุผลสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา ของการปฏิบัติธรรมใน พระพุทธศาสนา ไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ในพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นศาสดาจารย์เอกของโลกทั้ง ๕ ซึ่งได้ยอมรับเอาธรรมของพระองค์มา ปฏิบัติตาม แนวทางพระพุทธศาสนา วิสุทธิ ๗ นี้ เป็นปัจจัยส่งต่อกันขึ้นไป เพื่อให้บุคคลได้ถึงที่หมายที่ตนตั้งหวังไว้ คือ การบรรลุนิพพาน

 

(๓.) ลักษณะเด่นของคัมภีร์วิสุทธิมรรค มีอย่างไรบ้าง ? จงวิเคราะห์มาพอเข้าใจ ?

ตอบ อรรถกถาทั้งหลายในสมัยอนุราชปุระ ถือเอาคัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เป็นหลักในการเขียนอรรถกถา และคณะสงฆ์ไทยปัจจุบันบรรจุในหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกภาษาบาลีประโยค ปธ.๘วิชาการแปลมคธเป็นไทยด้วย นับว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคเป็นผลงานที่สำคัญที่สุดของพระพุทธโฆสะ ทำให้พุทธชนรุ่นหลังได้ศึกษาพระปริยัติธรรมในพระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีนักวิชาการชาวต่างประเทศหลายท่านที่กล่าวถึงคัมภีร์วิสุทธิมรรคไว้ อาทิ
        R.C. Cnilders กล่าวยกย่องไว้ในคำนำของหนังสือ Pali English Dictionary ว่า คัมภีร์วิสุทธิมรรคนี้เปรียบเหมือนสารานุกรมแห่งคำสอนทางพระพุทธศาสนา ใช้ภาษาที่สั้นและชัดเจน แสดงถึงความเข้าใจทั่วถึงในเรื่องที่แต่งอย่างน่าอัศจรรย์ (วิสุทธิมรรค 
แปล 2513 : ง)
        Dr. B.C.Law กล่าวไว้ในหนังสือ Buddhaghosa ซึ่งพิมพ์เมื่อปี 1946 โดยให้ทัศนะว่าเป็นคัมภีร์ที่ให้ภาพรวมที่แสดงถึงระบบแห่งพระพุทธศาสนาทั้งหมด มิได้เพิ่มอะไรให้แก่ตัวคัมภีร์พระไตรปิฎก แต่มุ่งหมายในการจัดสารบาญของพระไตรปิฎกให้เป็นระบบระเบียบ (วิสุทธิมรรค แปล 2513 : จ)
        Spence Hardy เขียนไว้ในหนังสือ Manual of Buddhism กล่าวว่างานชิ้นนี้เสนอเนื้อหาส่วนที่เป็นคำสอนและอภิปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ซึ่งได้ทั้งหลักฐานและความถูกต้อง (วิสุทธิมรรค แปล 2513 : ช)
        พระธรรมปิฎก (สากัจฉา วิมุตติมรรค, 21 ก.ย.38) มีความเห็นว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรค ให้ความรู้ที่เป็นฐานเพื่อก้าวลงสู่มหาสมุทรแห่งคำสอนของพระพุทธศาสนา มีจุดยืนที่การนำเสนอภาคปฏิบัติเพื่อดำเนินชีวิตไปถึงเป้าหมายสูงสุด คือ พระนิพพาน 

 

(๔) คำว่าศีลในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้แสดงลักษณะของศีล อานิสงส์ของศีล โทษของการทุศิลไว้อย่างไร ?

ตอบ ศีลนั้นแม้จะต่างกันโดยประเภทเป็นอันมาก ก็มีความปกติ เป็นลักษณะ เหมือนรูปซึ่งต่างกันโดยประเภทเป็นอันมาก ก็มีภาวะจะพึงเห็นใด้เป็นลักษณะฉะนั้น เหมือนอย่างว่า แม้รูปายตนะถึงจะต่างกันโดยประเภทเป็นอันมากโดยที่ต่างกันด้วยสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น ก็มีภาวะที่จะพึงเห็นได้เป็นลักษณะ เพราะถึงแม้รูปายตนะจะต่างกันโดยประเภทแห่งสีเขียวเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจากภาวะที่พึงจะเห็นได้ ฉันใด แม้ศีลถึงจะต่างกันโดยประเภท  ก็มีความปกติซึ่งได้กล่าวมาแล้วด้วยสามารถแห่งความทรงอยู่อย่างเรียบร้อยของกิริยาทางกายเป็นต้น และด้วยสามารถแห่งความเป็นฐานรองรับกุศลธรรมทั้งหลายนั้นนั่นแลเป็นลักษณะ เพราะถึงแม้ศีลจะต่างกันโดยประเภทแห่งเจตนาเป็นต้น ก็ไม่พ้นไปจาก ความทรงอยู่เรียบร้อย และ ความรองรับ ศีลนี้นั้นมีความสะอาด เป็นอาการปรากฎ วิญญูชนทั้งหลายรับรองกันว่า โอตตัปปะและหิริ เป็นปทัฏฐาน ของศีลนั้น จริงอยู่ ศีลนี้นั้นมีความสะอาดที่ตรัสไว้อย่างนี้คือ ความสะอาดกายความสะอาดวาจาความสะอาดใจเป็นอาการปรากฏ ย่อมปรากฏโดยสภาวะอันสะอาด ย่อมถึงภาวะอันจะพึงถือเอาไว้ได้ ส่วนหิริโอตตัปปะวิญญูชนทั้งหลายรับรองกันว่าเป็นปทัฏฐานของศีลนั้น อธิบายว่า หิริและโอตตัปปะเป็นเหตุใกล้ของศีล เป็นความจริง เมื่อหิริโอตตัปปะมีอยู่ ศีลจึงเกิดขึ้นและดำรงอยู่ เมื่อหิริและโอตตัปปะไม่มี ศีลย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ตั้งอยู่ไม่ได้เลย

        ศีลมีอานิสงส์อย่างไรวิสัชนาว่า ศีลนั้นมีอันได้ซึ่งคุณเป็นอันมากมีความไม่เดือดร้อนเป็นต้นเป็นอานิสงส์ สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานันทะ กุศลศีลมีความไม่เดือดร้อนเป็นผล มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์แลยังมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้อย่างอื่นอีกว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล มี ๕ ประการ

         ๑. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีลในโลกนี้ ย่อมประสบกองแห่งโภคทรัพย์อันยิ่งใหญ่ซึ่งมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ

         ๒. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก เกียรติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมฟุ้งขจร

         ๓. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เข้าไปสู่สังคมใดๆ จะเป็นสังคมกษัตริย์ก็ดี จะเป็นสังคมพราหมณ์ก็ดี จะเป็นสังคมคหบดีก็ดี จะเป็นสังคมสมณะก็ดี ย่อมเข้าไปอย่างองอาจไม่เก้อเขิน

         ๔. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำการกิริยา

         ๕. ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ข้ออื่นยังมี บุคคลผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล เบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติ, โลกสวรรค์

ความเศร้าหมองของศีล 

        ก็แหละ ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นนั้น ท่านสงเคราะห์ด้วยความแตกซึ่งมีลาภและยศเป็นต้นเป็นเหตุอย่างหนึ่ง ด้วยเมถุนสังโยค ๗ ประการอย่างหนึ่ง จริงอย่างนั้น ในบรรดาอาบัติ ๗ กอง สิกขาบทของภิกษุใดขาดเบื้องต้นหรือที่สุด ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลขาด เหมือนผ้าที่ขาดชาย ส่วนสิกขาบทของภิกษุใดขาดตรงกลาง ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลทะลุ เหมือนผ้าที่ทะลุกลางผืน

        สิกขาบทของภิกษุใดขาดสอง, สาม สิกขาบทไปตามลำดับ ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่า ศีลด่าง เหมือนแม่โคมีสีเป็นสีด่างดำหรือด่างแดงเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ด้วยสีที่ไม่เหมือนกันซึ่งปรากฏขึ้นที่หลังหรือที่ท้อง สิกขาบทของภิกษุใดขาดเป็นตอน ๆ ไป ศีลของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น ศีลพร้อย เหมือนแม่โคลายเป็นจุดด้วยสีที่ไม่เหมือนกันเป็นระยะ ๆ ไป ภาวะที่ศีลขาดเป็นต้นย่อมมีด้วยความแตกซึ่งมีลาภเป็นต้นเป็นเหตุ ด้วยประการดังอธิบายมานี้

โทษของการทุศีล

        บุคคลผู้ทุศีล เพราะเหตุแห่งความเป็นผู้ทุศีล ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้อันเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายไม่พึงพร่ำสอน เป็นผู้มีทุกข์ในเพราะการครหาความเป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีความร้อนใจในเพราะการสรรเสริญของผู้มีศีลทั้งหลาย แหละเพราะความเป็นผู้ทุศีลนั้นเป็นเหตุ ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณหม่นหมอง เหมือนผ้าเปลือกไม้ ชื่อว่าเป็นผู้มีสัมผัสหยาบ เพราะนำอบายทุกข์มาให้แก่คนทั้งหลายผู้ถึงซึ่งการเอาเยี่ยงอย่างของเขาตลอดกาลนาน ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณค่าน้อย เพราะทำไม่ให้มีผลมาก แก่ผู้ที่ตนรับปัจจัยธรรมของเขา เป็นผู้ล้างให้สะอาดได้ยาก เหมือนหลุมคูถที่หมักหมมไว้นานปี เป็นผู้เสื่อมจากประโยชน์ทั้ง ๒ เหมือนดุ้นฟืนเผาศพ ถึงแม้จะปฏิญญาณตนว่าเป็นภิกษุ ก็ไม่เป็นภิกษุอยู่นั่นแหละ เหมือนฬาที่ติดตามฝูงโค เป็นผู้หวาดสะดุ้งเรื่อย ๆ ไป เหมือนคนมีเวรอยู่ทั่วไป เป็นผู้ไม่ควรแก่การอยู่ร่วม เหมือนกเฬวรากของคนตาย แม้ถึงจะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณธรรม มีสุตะเป็นต้นก็ตาม ยังเป็นผู้ไม่ควรแก่การบูชา ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง เหมือนไฟในป่าช้าไม่ควรแก่การบูชาของพราหมณ์ทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ควรในอันที่จะบรรลุธรรมวิเศษเหมือนคนตาบอดไม่ควรในการดูรูป เป็นผู้หมดหวังในพระสัทธรรม เหมือนเด็กจัณฑาลหมดหวังในราชสมบัติ แม้ถึงจะสำคัญอยู่ว่าเราเป็นสุข ก็ชื่อว่าเป็นทุกข์อยู่นั่นเทียว เพราะเป็นผู้มีส่วนแห่งทุกข์ดังที่ตรัสไว้ใน อัคคิกขันธปริยายสูตร

(๕.) จงอธิบายศัพท์ต่อไปนี้ มาพอเข้าใจ

๑.      ปริยันตปาริสุทธิศีล

           ตอบ ศีลคือความบริสุทธิ์มีส่วนสุด ปริยันตปาริสุทธินี้ ของอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทมีที่สุด ฯ

๒.     อปรามัฏฐปาริสุทธิศีล

          ตอบ  ศีลคือความบริสุทธิ์อันทิฐิไม่จับต้อง อปรามัฏฐปาริสุทธิศีลนี้ ของพระเสขะ๗ จำพวก ฯ

๓.     ทายชฺชบริโภค

ตอบ  บริโภคเป็นทายาท

๔.     สังวรสุทธิ

ตอบ ความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวมเป็นอธิศีล จิตตั้งอยู่ในความบริสุทธิ์ด้วยความสำรวม ย่อมไม่ถึงความฟุ้งซ่าน  อวิกเขปปาริสุทธิ ความบริสุทธิ์คือความที่จิตไม่ฟุ้งซ่าน เป็นอธิจิต

๕.     สลฺลปนา

ตอบ พูดอวด  การที่ภิกษุกลัวในอันที่คหบดีทั้งหลายจะหน่ายแหนง จึงพูดเอาใจให้โอกาสเสียเรื่อย ๆ 

๖.     อุนฺนหนา

ตอบ แปลว่า พูดเอาใจ การที่ภิกษุพูดยกให้สูงขึ้น

๗.     อารักขโคจร

ตอบ  การไปในที่ต่างๆ ก็ให้กำหนดไม่ให้มองสอดส่าย สังวรระวัง เดินอย่างสำรวม ไม่เหลียวดูสิ่งล่อตาล่อใจต่างๆ ไม่ดูสตรี ไม่ดูบุรุษ อย่างนี้ คือ มีความอารักขาดูแลตนในการไปในที่ต่างๆ

๘.     อุปนิพันธโคจร

ตอบ การโคจรไปในที่ต่างๆ โดยสำรวมระวังผูกจิตไว้ โดยการกำหนดสติปัฏฐาน ๔ 

๙.     ปณีตศีล

ตอบ  ศีลของพระอริยะ คือ ศีลที่บุคคลประพฤติด้วย ฉันทะ, วิริยะ, จิต, และวิมังสาอย่างประณีต เกี่ยวกับอธิมุติ ความน้อมใจอันประณีตศีลของพระอริยะ

 

๑๐.ปริกถา

ตอบ ปริกถานั้น มีอรรถาธิบายดังนี้ เมื่อภิกษุทำการปราบพื้นเป็นต้น เพื่อสร้างเสนาสนะ มีพวกคฤหัสถ์ถามว่าจะสร้างอะไร ขอรับ ใครจะเป็นผู้สร้าง ? ให้คำตอบว่า ยังไม่มีใครดังนี้ก็ดี หรือแม้การกระทำนิมิตอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ชื่อว่า นิมิต ภิกษุถามว่า อุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านอยู่ที่ไหน ?” เมื่อเขาบอกว่า พวกกระผมอยู่ที่ปราสาท ขอรับภิกษุพูดว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ก็ปราสาทย่อมไม่สมควรแก่ภิกษุทั้งหลายดังนี้ก็ดี ก็หรือแม้การกระทำโอภาสอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ชื่อว่า โอภาส การพูดว่า เสนาสนะของภิกษุสงฆ์คับแคบดังนี้ก็ดี แหละหรือแม้การกล่าวโดยปริยายอย่างอื่นใดเห็นปานฉะนี้ ชื่อว่า ปริกถา ในปัจจยเภสัชสมควรแม้ทุก ๆ ประการ แต่คร

หมายเลขบันทึก: 549191เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท