"พี่หนาน"
นาย พรพจน์ พี่หนาน เรียงประพัฒน์

มาหัดอู้กำเมืองกั๋นดีกว่า ๒


"กำเมือง" ถ้าเฮาเบาะปากั๋นอู้ แล้วไผจะอู้...แหมเหมาะ

๒๔/๐๙/๒๕๕๖

***********

 

มาหัดอู้กำเมืองกั๋นดีกว่า (แบบบ้านแพะ-น้ำลอก)๒

 

ความรู้หลักที่นำมาเขียนในที่นี้ส่วนใหญ่ได้มาจาก เว็บนี้  และจาก บล็อกนี้ บล็อกที่ผู้เขียนนำคำศัพท์มาเป็น “เมน” ไว้  หากแต่นำมาปรับให้ตรงกับเสียงและภาษาของที่บ้านแพะ-น้ำลอก มีการเพิ่มเติมและตัดออกหลายคำศัพท์ที่คำและความหมายที่ไม่ได้ใช้  มีความยาวมาก คงต้องแบ่งออกเป็นหมวด ๆ ตามความเหมาะสมของบันทึก บันทึกนี้ขอนำคำศัพท์หรือชื่อที่ใช้เรียกขานกันเกี่ยวกับ ผลไม้  ผัก พืช  ดังต่อไปนี้...

 

       กล้วย = ก้วย / โก้ย 

 “ผ่อโก้ยเคียนั้นดู้...ด๊กแต้ด๊กว่าหนะ” (ดูกล้วยเคลือนั้นซิ..ดกมากมากเลย)

 

          กล้วยน้ำว้า = ก้วยอ่อง / ก้วยค้าว 

“ตะคืนเฮามัดโก้ยอ่องแขวนไว้..เจ๊ามาค้างคาวเจาะกิ๋นหม๊ดเลย”  (เมื่อคืนผมมัดกล้วยอ่องแขวนไว้..ตอนเช้ามามีแต่รอยเจาะของค้างคาวเต็มไปหมดเลย)

 

          มะตูม = บะปิน/หมะปิน 

“ได้ฮยินเขาว่าหมะปินตากแห้งต้มกิ๋นแก้กะหายได้แต๊อี้?”  (ได้ยินเขาพูดกันว่ามะตูมตากแห้งต้มกินแก้กระหายได้จริงหรือ?)

 

         แตงล้าน = หม่ะแต๋งซ้าง

“หม่ะแต๋งซ้างโหน่ยใหญ่..ขึ้นข้างไฮ่ปะเล่อปะเต๋อ” (แตงล้านลูกใหญ่..ขึ้นอยู่ข้างเขตแดนไร่เยอะแยะมากมาย)

 

         น้อยหน่า = หม่ะแหน้  

“หม่ะแหน้ต้นนั้น..สุกแตกเต๋มต้นหม๊ดเลย” (น้อยหน่าต้นนั้น..สุกแตกอ้าเต็มต้นหมดเลย)

 

         บวบงู = หม่ะนอยงู 

“กาดแลงวันนี่..เตวไปตางใดปะต๋ายแต่คนขายหม่ะนอยงู” (ตลาดเย็นวันนี้..เดินไปทางไหนพบแต่คนขายบวบงูเต็มไปหมด)

 

         มะเขือเปราะ = หมะเขียผ่อย 

“มีน้ำพริกฮ้าแล้ว...ไปเซาะเก็บหม่ะเขียผ่อยมากิ๋นกับสักน้อยก่อน”  (มีน้ำพริกปลาร้าแล้ว...ต้องไปหาเก็บมะเขือเปราะมากินกับด้วยสักหน่อย)

 

         มะเขือยาว = หม่ะเขียหำหม้า 

“วันนี่อี่แหม่ต๋ำหม่ะเขียหำหม้าจัดลำดู้..” (วันนี้แม่ตำมะเขือยาวอร่อยมากเลย)

 

        มะเขือขื่น = หม่ะเขียแจ้ 

"ถามอาใป้ว่ากิ๋นเข้าแลงกับหยัง...เปิ่นบอกว่ากิ๋นกับส้าหมะเขียแจ้อิ้หนะ"

 

         มะระขี้นก = หม่ะห่อย 

“เขาว่าหม่ะห่อยนี่..จ่วยหยุดการแพร่เจื้อเอดส์ได้ใจ่กะ?”  (เขาว่ามะระขี้นกช่วยหยุดการแพร่เชื้อเอดส์ได้ไม่ใช่เหรอ?)

 

       มะละกอ = หม่ะเต๊ด   

“อากาศฮ้อน..ต๋ำหม่ะเต๊ดกิ๋นตอนกั๋นบ่อดีกะ?”  (อากาศร้อนแบบนี้..เรามาตำมะละกอกินกลางวันกันไม่ดีเหรอ?)

 

          ตะขบ  =  หม่ะเก๋น 

“หม่ะเก๋นต้นนี่..เก๊ามีก่าหนาม”  (ตะขบต้นนี้..ลำต้นมีแต่หนาม)

 

         แตงกวา = หม่ะแต๋งขี้ไก่

 “ผัดกะเพาเคี่ยงใน..หื้อเหมาะมันต้องมีหม่ะแต๋งขี้ไก่กับโตยก่อนหน่อ”  (ผัดกะเพราเครื่องใน..ท่าจะให้ดีมันต้องมีแตงกวากินกับด้วยถึงจะเข้าท่า)

 

          แตงโม  =  หม่ะเต้า 

“หมะเต้าบ้านเฮานี่..ลูกน้อยเหนาะ...เบาะเหมือนหม่ะเต้าเจียงใหม่..ลูกใหญ่กว่ากั๋นนักเลย”  (แตงกวาบ้านเรานะ..ลูกเล็กนิดเดียว...ไม่เหมือนแตงโมที่เชียงใหม่ซึ่งลูกใหญ่กว่าเยอะเลย)

 

         พุทรา = หม่ะตัน

“ป่อกูหนะเล็วขนาดเลย...ขึ้นต้นหม่ะตันสว่ายลั่ง ๆ ฝั้งลงมาเอาโด้งไปไล่ฮับได้โหม๊ดกุลูก..บ่อตกปื้นสักโหน่ยเลยละ...เจื่อก็?”  (พ่อกูนะรวดเร็วมากเลย...ขึ้นต้นพุทราเขย่าเสียงดังลั่ง ๆ  รีบลงจากต้นเอากระด้งไปไล่รับลูกพุทราได้หมด...โดยไม่ตกถึงพื้นสักลูกเลย...เชื่อไม๊?)

 

คำศัพท์อื่น ๆ ก็มีลักษณะการใช้คล้าย ๆ กันกับตัวอย่างดังกล่าวมา หากแต่ว่าจะไม่ของแปลเป็นไทยกลาง เอาไว้ให้ผู้อ่านได้ฝึกทดลองแปลหรือทำความเข้าใจกัน ดังต่อไปนี้...

 

         ละมุด = หม่ะมุด 

“กิ๋นหม่ะมุดกะต้องหละวัง..เพราะเม็ดมันมื่น..จั่งหลุดเข้าคอได้ง่าย”

 

         กระท้อน = หม่ะต้อง 

“หม่ะต้องบ้านอาถิ่น..หยังมาหวานแต๊หวานว่าหนะ..มีแต่คนมาขอซื้อถึงบ้านเลยเหลาะ”

 

         มะปราง = หม่ะผาง   

“หม่ะผางบ้านเฮามันเบาะหวานเหมือนหม่ะผางบ้านน้ำฮอกเหนาะ..ตี่ตึงหวาน..ตึงโหน่ยใหญ่”

 

         ฝรั่ง =  หม่ะแก๋ว 

 “แม่เบาะอยู่...ไปห่อหม่ะแก๋วบ้านปู่หนานหล้าปุ้น”

 

         ขนุน = หม่ะหนุน/บ่ะหนุน   

“หม่ะหนุนต้นนี้...ยามดิบกะกิ๋นเบาะลำ..ยามสุกกะบ่อมีนวล” 

นวล : เนื้อในขนุนที่ห่อหุ้มเม็ดภายใน เมื่อสุกแล้วนำมารับประทานได้

 

         มะพร้าว = หม่ะป๊าว  

“สวนนอกหั้น...หม่ะป้าวน้ำหอมเบาะมีโหน่ย..บ่อหู้ว่ามันเป๋นโรคอะหยัง”

 

          มะกรูด  =  หม่ะขูด   

“บ้านเฮาบะเด่ว...หม่ะขูดจะลาคาแปงเหลียหม่ะนาวแถมก่อนนะ”

 

       มะรุม  =  หม่ะข้อนก้อม 

“วันนี้..แก่งหม่ะข้อนก้อมใส่ป๋าแห้งจั๊ดลำ”

 

         ส้มโอ = หม่ะโอ   

“เสียดายหม่ะโอเก๊าบ้านป่อใหญ่จื่นแต๊ว่าเหนาะ..ต๋ายไปเหียหนะ”

 

          ลูกสมอ  =  หม่ะนะ   

“ถ้าไผไขหลับ..แนะนำหื้อกิ๋นหม่ะนะเน่อ...ต๋าแจ้งลึ่งเลยละ”

 

          สะเดา  =  สะเลียม 

“หันข้างตางตังก่อนถึงตุ่งกะโล่หั้น..มีหมู่บ้านจัดสรรจื่อว่า “บ้านสะเลียม” เพราะว่าเขาปลูกสะเลียมเป๋นฮ่มเงาของหมู่บ้านตึงหมด”

 

       เพกา  =  ผักหมะหลิดไม้ 

“หันน้ำพริกฮ้าแล้วอดกี๊ดเติงหาผักหมะหลิดไม้เผาบ่อได้เหนาะ”

 

          สับปะรด  =  หม่ะหนัด 

“หม่ะหนัดบ้านเฮามันบ่อหวานหอมเหมือนหม่ะหนัดห้วยมุ่นเหนาะ” อุตรดิตถ์สับปะรดขึ้นชื่อที่ห้วยมุ่น,เชียงรายขึ้นชื่อที่นางแล

 

         ฟักทอง = หม่ะน้ำแก้ว/ น้ำแก้ว 

“ตะคืนแม่เฒ่าแก๋งยอดหม่ะน้ำแก้วใส่ป๋า...เจ๊านี่กะกิ๋นแก๋งขี้เก่าตะคืนหั้นนะ”

 

          ฟัก = หม่ะฟัก 

 

“บ้านงานเฮานี่...มีต๋ายก้าต้มหม่ะฟักหั้นนะ..บ่หู้จักฮยะกำกิ๋นอย่างอื่นกั๋นพ่อง”

 

หมวดผัก ผลไม้ที่เห็นสำคัญน่าจะมีประมาณนี้นะครับ ผู้เขียนเอง เขียนไปเขียนมาก็ชักจะสับสนและหลงไปกับการใช้ภาษาเหมือนกัน  ขอท่านผู้อ่านที่เป็นคนเมืองช่วยเสริมเติมให้ด้วยนะครับ

 

ขอบคุณทุกท่าน

 

ขอบคุณโกทูโนว์

หมายเลขบันทึก: 549173เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 15:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 ตุลาคม 2013 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จ๋ำได้กู่กำเลยเจ้า

สิบปี๋ตี่อยู่เจียงฮาย ตั้งแต่ละอ่อน

ยะฮื้อน้องได้อู้กำเมือง

ขอบคุณตี่ทำฮื้อนึกถึงเจ้า

^___^

บทความชุดนี้มีคุณค่ามากค่ะ น่าจะให้เด็ก ๆลูกหลานล้านนาได้อ่านอย่างกว้างขวางซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่นจัดพิมพ์เป็นเล่ม 

ตีพิมพ์ในวารสารที่โรงเรียนซื้อเข้าห้องสมุด ให้วัฒนธรรมจังหวัดจัดพิมพ์ ศูนย์วัฒนธรรมของราชภัฏภาคเหนือทั้งหลายอาจสนใจนะคะ(อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง พิษณุโลก) 

สวัสดีอาจารย์ใหญ่ทั้งสี่ท่านครับ ขอบคุณมาลัยน้ำใจจากทุกท่านมากครับ

  • อาจ๋ารย์ด๊อกเต้อร์จิตศิรินเป๋นคนเจียงฮายก๋าคับ กะว่าไปเฮียนหนังสือตี่หั้น...จ๊ะใดกะต้องขอขอบคุณหลาย ๆ หนาคับ  ตี่หื้อความสนใจ๋ ถือว่ามาทบทวนความฮู้กะแล้วกั๋นเนาะ ถ้ามีกำผิดตั๊ดใด กะอย่าไปลืมบอกกั๋นโตยเน่อ...อาจจะพิมพ์ตกหรือผิดไปพ่องกะได้
  • ขอบคุณอาจารย์ดร.GD อีกท่านนะครับที่ให้ความสนใจ พร้อมกับคำเสนอแนะที่เกิดประโยชน์ต่อองค์กรหน่วยงานการศึกษาต่างๆ  รอให้วัฒนธรรมจว.อต.เข้ามาอ่านก่อน เผื่อเขาจะเห็นค่าบ้างครับอาจารย์
  • ผมก็จะเขียนไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะหมดคำศัพท์ที่ตั้งใจเอาไว้นั่นแหละ  คอยติดตามอ่านกันต่อไปนะครับ วันละนิดวันละหน่อย...

ปี่หนานเจ้า น้องบ่อใจ่คนเจียงฮายเจ้า แต่ว่าต๋อนล่ะอ่อนไปอยู่ที่ฮั่นเจ้า กะเลยอู้ได้เจ้า ตี่ว่ากำผิดนี่น้องถ้าจะดูบ่อได้เจ้า น้องเองก็อู้ได้บ่อเหมือนแต้ ๆ บ่อได้ใจ้เมินแล้วเจ้า บางกำก่อลืม นึกบ่าออกเจ้า เกยลองอู้กับเปื่อนคนเหนือ เขาบอกน้องอู้ภาษากล๋างง่ายกว่าก๊า เพราะน้องอู้ได้แต่จ๊า แล้วสำเนียงก็แปลก บ่อไปตางใดซักตาง แต่น้องก็ฮักภาษาเหนือหนาเจ้า

ขอบคุณทุกก๋ำลังใจ๋ ขอบคุณอาจารย์จิตศิรินคับ

ผมได้หื้อข้อสังเกตไว่เผื่อจะมีคนแนะนำเพิ่มเติ๋ม..หรือลองสังเกตผ้องกะยังบ่หันมีไผมาแนะนำ เปิ่นอาจจะยังบ่ตันมาอ่านกั๋นเตื่อก้า...

กำตี่น่าจะผิดก็ "หม่ะตัน"  ในข้อความตี่ว่า  “ป่อกูหนะเล็วขนาดเลย...ขึ้นต้นหม่ะตันเขย่าลั่ง ๆ ฝั้งลงมาเอาโด้งไปไล่ฮับได้โหม๊ดกุลูก..บ่อตกปื้นสักโหน่ยเลยละ...เจื่อก็?”  

กำตี่ถูกต้องใจ๊แตนตั๋วขีดเส้นใต้น่าจะเป๋น "สว่าย" คับ  อ่านออกเสียง "สว" ควบกั๋นว่า "...ขึ้นต้นหม่ะตันสว่ายลั่ง ๆ .."  หนาคับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท