บทความ เรื่อง การนิเทศเพื่อส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง


บทความ

เรื่อง  การนิเทศเพื่อส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง

โดย........ เผชิญ  อุปนันท์

               การนิเทศเพื่อส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง จะต้องดำเนินการอย่างมีระบบขั้นตอนระหว่างศึกษานิเทศก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกกับผู้บริหารสถานศึกษาครูผู้สอนซึ่งเป็นบุคคลภายในสถานศึกษา ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศก็เป็นกัลยาณมิตรต่อกัน

     การนิเทศเพื่อส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับบัญชาโดยเฉพาะกลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา จะต้องรับผิดชอบด้านคุณภาพของโรงเรียนในสังกัด ดังนั้นการส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง เป็นระบบ จะต้อง ให้โรงเรียน จัดทำข้อมูลสารสนเทศ  การวางแผนการนิเทศ  การดำเนินการนิเทศโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา  มีระบบติดตามและประเมินผลที่เน้นผลงาน และมีการเผยแพร่ขยายผลอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ทั้งนี้ต้องวางแผนการดำเนินงานร่วมกันกับผู้บริหารและครูผู้สอน  แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1.        ระยะเตรียมปฏิบัติการ คือ

1.1     สร้างความตระหนักให้มีการดำเนินการนิเทศภายใน

-          สร้างความเข้าใจเพื่อให้เห็นความสำคัญ

-          สำรวจวิเคราะห์สภาพการนิเทศภายใน

1.2     ส่งเสริมระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา

-          วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการพัฒนา

-          จัดทำระบบสารสนเทศ

-          จัดทำแผนการนิเทศภายในที่สอดคล้องกับสภาพปัญหา

1.3     สร้างสื่อ เครื่องมือ นวัตกรรมเพื่อส่งเสริมการนิเทศภายใน

2.        ระยะเร่งรัดพัฒนา

ปฏิบัติการนิเทศภายในสถานศึกษา

-          นิเทศติดตามการดำเนินการนิเทศภายในของสถานศึกษา

-          ประเมินผลการดำเนินงาน

-          สรุป รายงานผลการนิเทศ

-          นำผลมาปรับปรุงและพัฒนา

3.       ระยะนำพาสู่ความยั่งยืน

ต่อยอดการนิเทศสู่ความยั่งยืน

-           ถอดบทเรียนสถานศึกษาที่ประสบผลสำเร็จ

-          แลกเปลี่ยนเรียนรู้

-          เผยแพร่ขยายผล

-          ยกย่อง เชิดชูเกียรติ

 

               กระบวนการส่งเสริมการนิเทศภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็ง ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานด้านวิชาการของโรงเรียน หากนำกระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ไปใช้หรือปรับใช้ให้เหมาะกับสภาพและศักยภาพของโรงเรียน ปัญหาการนิเทศภายในก็จะหมดไปและส่งผลให้การจัดการเรียนรู้มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

หมายเลขบันทึก: 549169เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2013 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2013 14:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท