"Knowledge Camping Debsirin 8" ที่เทพศิรินทร์


การเรียนรู้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียน
          สวัสดีผู้ที่เข้าเยี่ยมชม Blog ทุกท่าน
        ผมได้ไปร่วมพิธีเปิดโครงการ Knowledge Camping เทพศิรินทร์ครั้งที่ 8 เมื่อวันจันทร์ที่ 16 ต.ค. ที่ผ่านมา ผมร่วมบรรยายในหัวข้อ"พระอัจริยภาพด้านภาวะผู้นำ" และ "เศรฯฐกิจพอเพียง" ณ อาคารเทิดพระเกียรติ โรงเรียนเทพศิรินทร์
        โครงการนี้ได้รับความสนใจมากจากเด็กๆ ซึ่งได้มีส่วนร่วมในการ Share ความรู้ และร่วมเปิดประเด็นใหม่ๆ
         ผมหวังว่าทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชมและ Share ความรู้ จะไรบประโยชน์จาก Blog นี้
                                                          ขอบคุณครับ
                                                      ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

กำหนดการกิจกรรมค่ายผู้นำเยาวชนเทพศิรินทร์ ครั้งที่ 8 (Knowledge Camping Debsirin 8th)ระหว่างวันที่ 16-19 ตุลาคม 2549

ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ บรุคไซค์ วัลเล่ย์ รีสอร์ท จ.ระยอง

วันจันทร์ที่ 16 ตุลาคม 2549 
07.00-08.00 . ลงทะเบียน ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์
08.15-08.30 .          พิธีเปิดหม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี  ประธานมูลนิธิโครงการหลวง องค์ประธานในพิธีกราบทูลรายงานโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  นายกสมาคมฯ
08.30-09.30 .

ปาฐกถาพิเศษ  โครงการหลวง                                โดย  หม่อมเจ้าภีศเดช  รัชนี       

09.30-10.30 น.

พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน                                  โดย  ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์

10.30-11.30 .         

พระอัจฉริยภาพด้านน้ำ                                        โดย  คุณจริย์  ตุลยานนท์

11.30-13.00 . พักรับประทานอาหารกลางวัน และกิจกรรมสันทนาการ
13.00-14.00 .

พระอัจฉริยภาพด้านภาวะผู้นำ                                โดย  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

14.00-15.00 .

เศรษฐกิจพอเพียง                                              โดย  ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์

15.00-15.15 . Coffee break 
15.15-16.15 น. พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา     โดย  ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี  สวัสดิวัตน์
16.15-17.15 .

พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ                     โดย  ศ.ดร.ศรีศักดิ์  จามรมาน

17.15-19.00 . รับประทานอาหารเย็นและภาระกิจส่วนตัว
19.00-21.30 น Workshop : วิเคราะห์จากภาพยนตร์ 
21.30-22.00 . ชี้แจงและนัดหมายกิจกรรมวันถัดไป
22.00 .        เข้านอน         
   

วันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2549

 
05.30-06.30 . ตื่นนอน กิจกรรมยามเช้า และภาระกิจส่วนตัว
06.30-07.30 . รับประทานอาหารเช้า
07.30-09.30 น. ออกเดินทางจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ เพื่อไปทัศนศึกษา     ศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
09.30-11.30 . ทัศนศึกษาศูนย์ศึกษาพัฒนาเขาหินซ้อนฯ
11.30-13.00 น. ออกเดินทางไปศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล รับประทานอาหารกลางวันบนรถระหว่างเดินทาง
13.00-14.00 น. ทัศนศึกษาศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล
14.00-15.00 น. ทัศนศึกษาเรือหลวงจักรีนฤเบศร
15.00-16.00 น. ออกเดินทางไปบรุคไซค์ วัลเล่ย์ รีสอร์ท
16.00-16.15 น.

กิจกรรมพี่พบน้อง                                                 โดย  คุณกมล  แสงสว่าง  ผู้แทนนายกสมาคมฯ

16.15-16.30 น. แนะนำสถานที่และชี้แจงการเข้าพัก
16.30-18.30 น. Workshop : วิเคราะห์จากหนังสือ     
18.30-20.00 น. ภารกิจส่วนตัว / รับประทานอาหารเย็น
20.00 -22.00 น. Workshop : ทักษะการประชุมภายในองค์กร 
22.00 .        เข้านอน
 

วันพุธที่ 18 ตุลาคม 2549

 
05.30-06.30 . กิจกรรมยามเช้า : ออกกำลังกาย
06.30-08.00 . กิจวัตรส่วนตัว และรับประทานอาหารเช้า
08.00-09.00 น. กิจกรรมสันทนาการ
09.00-10.00 . คุณสำเร็จ  โชติมงคล  เลขาธิการสมาคมฯกล่าวต้อนรับในนาม บรุคไซค์ วัลเล่ย์ รีสอร์ท
10.00-11.30 น.

ธรรมาภิบาล กับการเมืองการปกครองไทย            โดย รศ.อัษฏางค์  ปาณิกบุตร

11.30-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-15.00 น.

Workshop : การกำหนดวิสัยทัศน์ประเทศไทย           โดย รศ.อัษฏางค์  ปาณิกบุตร                                 ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน

15.00-15.15 น. พักผ่อนตามอัธยาศัย
15.15-17.30 น. กิจกรรรมกีฬาเสริมทักษะ
17.30-21.00 น. ภารกิจส่วนตัว / รับประทานอาหารเย็น (Fancy night party)
21.00-22.00 .          กิจกรรมจากพี่สู่น้อง
22.00 .        เข้านอน
   
วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2549 
05.30-06.30 . กิจกรรมยามเช้า : ออกกำลังกาย
06.30-08.00 . กิจวัตรส่วนตัว และรับประทานอาหารเช้า
08.00-09.00 น. กิจกรรมอำลา
09.00-12.00 .

Workshop & สรุป    

โดย   รศ.อัษฏางค์  ปาณิกบุตร                                   ผศ.พงษ์ศักดิ์  กรรณล้วน                                              คุณบุญเกื้อ   ตั้งศรีตระกูล                                                  คุณกฤช   สินอุดม

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น. พิธีปิดและมอบวุฒิบัตร                                         โดย   รศ.อัษฏางค์  ปาณิกบุตร    อุปนายกสมาคมฯ             คุณสำเร็จ  โชติมงคล     เลขาธิการสมาคมฯ
14.30 น. เดินทางกลับ
หมายเลขบันทึก: 54893เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2006 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน  
เช้านี้ วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง แค่ปรับ Mindset ก็พอ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ทำและน่าสนใจ ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ    

 


สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ Mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม (Networking) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน

 พูดถึงระบบการศึกษา ของประเทศเรา ยังไม่สามารถสร้างคนให้ทันโลกทันเหตุการณ์ มีทุนทางปัญญา เพียงพอกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทั้งในประเทศและต่างประเทศ  ถ้าเปรียบเสมือนรถ  ก็เปรียบเทียบได้ว่า ระบบส่งกำลังที่จะขับเคลื่อน ไปข้างหน้า มีปัญหา ถึงขั้นทำให้ไม่สามารถรักษาอันดับต้น ๆ ไว้ได้ แนวทางแก้ไขคือต้องฟิตเครื่องใหม่ หาเครื่องยนต์ใหม่ มาใส่  ในการบริหารเชิงกลยุทธ์  ปัญหาในองค์กรใหญ่เล็ก มักจะมีอยู่สองเรื่อง ใหญ่ ๆ  คือ 1 ปัญหาเรื่องระบบ  2 ปัญหาเรื่องคน  ซึ่งควรต้องแก้ไขพร้อมกันไป ทรัพยากรมนุษย์ เป็นตัวสร้าง บริหารระบบ ถึงแม้ว่าควรแก้ทั้งสองปัญหาไปพร้อม ๆ กัน แต่การแก้ปัญหาเรื่องคน ต้องให้ถูกจุด ตรงประเด็น ก็คือปรับทัศนคติ ความคิด เพิ่มองค์ความรู้ใหม่ ๆ เข้าไป เพื่อคนจะได้นำความรู้ ทัศนคติใหม่ ๆ ไปบริหารจัดการระบบ ได้ดี  การศึกษาในไทย จึงต้อง ปฏิรูป ปฏิวัติกันบ่อย  ๆ ทำทั้งแบบค่อยเป็นค่อยไป และบางเรื่อง ต้องทำทันที ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้ดี


ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน

 ในโรงเรียนประถม ส่วนใหญ่ สอนให้นักเรียนท่องจำ ขยันหาคำตอบให้ตรงกับที่ครู ตั้งไว้ล่วงหน้าแล้ว  เด็กไทยจึงเบื่อการเรียน และหันไปเสพสิ่งบันเทิงอื่น ๆ เป็นปัญหาสังคมอยู่ทุกวันนี้  ตราบใดถ้า Mind Set ของผู้บริหารการศึกษาในโรงเรียนบางแห่ง ครูรุ่นเก่า ๆ ไม่เปลี่ยน อนาคตทรัพยากรมนุษย์ของไทย คงสู้ต่างชาติไม่ได้    ที่จริงการระบบการศึกษาในญี่ปุ่น น่าสนใจ ทั้งครูและนักเรียนญี่ปุ่นมี Mind Set ที่ดีกว่าเรา ผมเคยไปอยู่ที่ญี่ปุ่น เห็นการสอนเด็กอนุบาล เด็กประถม ที่ญี่ปุ่น มองออกได้ว่า เขามีระบบการจัดการที่ดี ผสมผสาน บูรณาการ การเรียนการสอน ของชาติที่เจริญแล้ว มาเป็นแบบ ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นจึงสามารถกู้สถานการณ์ของประเทศได้เร็ว ก็ด้วยทรัพยากรที่มีคุณภาพ จากวัยเด็กมาสู่ผู้ใหญ่ มาช่วยพัฒนาชาติ และยังสามารถช่วยเหลือประเทศที่ด้อยกว่าได้อีกด้วย 

 


ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน

  รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ที่ ศ.ดร.จีระ ออกอากาศทุกวันจันทร์ ถึง ศุกร์ เวลา 22.40-22.45 เป็นรายการที่ดี มีประโยชน์ สอดโครงกับนโยบายสาธารณะในรัฐบาลชุดนี้ และเป็นการนำแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาต่อยอด ขยายผลอย่างเป็นรูปธรรม ในบทบาทของครูของชาติ  เมื่อทางรัฐบาล จะนำเอาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ไปทำเป็นหลักสูตรการเรียน การสอน ผมขอกราบเรียนทางภาครัฐ ผ่าน Blog นี้ว่า ขอให้ทำเรื่องง่ายให้เป็นเรืองง่ายยิ่งขึ้น ให้เป็นเรื่องที่น่าชวนติดตาม น่าโน้มนำไปปฏิบัติ รายการนี้ ที่จริงแล้ว เนื้อหาสาระ ที่ ศ.ดร.จีระ และทีมงานกำกับ นั้น ดี มีประโยชน์ สามารถนำไปเป็นสื่อการเรียนการสอนเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ได้ทั่วประเทศ 

 


แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้

 เศรษฐกิจพอเพียง ต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา ตรงนี้สำคัญมาก การจัดให้ประชาชนได้มีการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รัฐและเอกชน ควรร่วมมือกัน ทำไปอย่างมีทิศทางเดียวกัน  ขณะนี้ การโฆษณาทีวี เกี่ยวกับ เรื่อง  เศรษฐกิจพอเพียง มักจะเน้นที่การออมเงิน  การทำกินบนพื้นฐาน ประหยัด พอเพียง ผมว่า ยังไม่ไร้ทิศทาง ที่จริงควรโฆษณา ออกมาในแนวกระตุ้นให้คนไทยอยากรู้ อยากเห็น อยากทำ ร่วมกันในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง  โฆษณา ให้คนไทยตื่นตัวเรื่องการเรียนรู้ ใฝ่รู้ ทุกระดับ ส่งเสริมให้คิด ให้ทำ อย่างสร้างสรรค์ ไม่ใช่แค่อดออมอย่างที่เป็นอยู่ มิฉะนั้นจะเกิดปัญหา ถ้าทุกคนทั้งประเทศหันมาเก็บออม ระบบเศรษฐกิจ อาจจะมีปัญหาได้ เพราะการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ชะลอตัวลง ภาคธุรกิจก็จะไม่คล่องตัว ภาครัฐจะเก็บภาษีได้น้อยลง 

 

  

สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน

 ประโยคนี้ สามารถอธิบายแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้เข้าใจง่าย และประโยคนี้ สามารถที่จะนำไปทำรายการ ทำสื่อการเรียนการสอน เกี่ยวกับแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์  เพื่อสื่อให้ประชาชนคนไทย ได้มีความเข้าใจเรื่องยิ่งขึ้นได้

มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
  การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่  ประโยคนี้ เป็นจริงครับ  ในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้ การทำงานแบบเดิม ๆ คิดแบบเดิม ๆ วิธีการเก่า ที่เคยทำสำเร็จในอดีต จะไม่สามารถรับรองความสำเร็จในปัจจุบันและอนาคตได้   มหาวิทยาลัยในประเทศเรา นับจากปี ค.ศ. 2000 วิชาการองค์ความรู้ต่าง ๆ ต้องปรับใหม่หมด ให้ทันโลกทันเหตุการณ์ วิธีการเรียนการสอน ต้องปรับใหม่  เรียกว่า ทุกมหาวิทยาลัย ต้องเริ่มใหม่ ใครคิดก่อน เปลี่ยนก่อน ได้เปรียบ    การทำงานยุคใหม่ นอกจากต้องคิดใหม่ ๆ เสมอ พร้อมเปลี่ยนแปลงแล้ว ต้องเร็ว มีประสิทธิภาพ เรียกว่า เร็วกว่า ดีกว่า ถูกว่า มีประสิทธิภาพกว่า


เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ

คนอีสาน เป็นคนที่มีเอกลักษณ์ เป็นของตนเอง ทั้งโครงสร้างร่างกายและจิตใจ ประเพณีวัฒนธรรมอีสาน เป็นจุดเด่น แม้กระทั่งคนต่างชาติเริ่มเห็นจุดเด่นตรงนี้ และหันมาปักหลัก สร้างครอบครัวที่อีสานมากขึ้น  ในอีก 20 ปีข้างหน้า คนอีสานจะมีบุคลิกภาพใหม่ จมูกโด่ง สูง ยาว สมอง ปัญญาดี กว่าเก่า คนอีสานจะพัฒนาเร็วขึ้นและเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาสังคมมากยิ่งขึ้น 

 

 คนดี มีน้ำใจ ที่อีสานมีมากมาย เป็นสิ่งที่ผมศึกษามานาน เมื่อครั้งผมไปอยู่ที่อีสาน เพื่อทำวิจัย ในโครงการบัณฑิตอาสาสมัครมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ไปใช้ชีวิตกับคนอีสานเกือบสองปี  คนอีสานเป็นคนรวย   คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต คนอีสานรักษ์ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม ที่ ม.ขอนแก่น ทำตรงนี้ได้ดี ขอชื่น ที่ ม.ขอนแก่น ก็เป็นตัวอย่างที่ดีของคนอีสาน  
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย

สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ ถือว่าเป็นประโยชน์กับสังคม ประเทศชาติอย่างมาก การเชื่อมโยง จุดแข็งของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นพันธมิตร และมองประเทศไทยเป็นเพื่อนบ้านที่ดี  มาเสริมจุดอ่อนของชาติเรา ถือว่าเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศ ยุทธศาสตร์การทูต ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการศึกษาที่น่าสนใจ  นำไปเป็นแม่แบบ ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ สำหรับรัฐบาลชุดนี้ และชุดต่อ ๆ ไป

 


ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน

ระบบราชการของเรา อยู่ในระหว่างปฏิรูป  ขั้นตอนยังคงมีมาก รอไม่ได้ ต้องคิดถึงลูกค้าคือนักเรียน ตรงนี้ เป็นตัวอย่างที่ดี น่ายกย่อง น่าศึกษา หน่วยงานราชการอื่น ๆ ทีติดขัดปัญหา ก็น่าจะลองศึกษาวิทยายุทธ์ของครูอาจารย์ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ ถ้าทั้งประเทศทำเช่นนี้ได้ ผมคิดว่าจะเกิดประโยชน์กับประเทศชาติ เป็นอย่างมาก

 

 

  ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการ เศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ       
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน               

ยม

นักศึกษาปริญญาเอก 

รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต 

 

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ แค่ปรับ Mindset ก็พอ"
แค่ปรับ mindset ก็พอ[1]

ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องการเมือง เนื่องจากการเมืองในประเทศไทยไม่ปกติ แต่เมื่อเริ่มเข้ารูปเข้าร่างแล้ว ก็จะเล่าถึงงานของผมต่อไป บทความของผมจะเน้นการเรียนรู้จากความจริง จากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผมได้ทำไป นำมาแบ่งปันกัน และสร้างมูลค่าเพิ่ม แต่ละเรื่องจะทำให้คนไทยมีวัฒนธรรมการเรียนรู้มากขึ้น คิดเป็น วิเคราะห์เป็น นำไปใช้เป็นประโยชน์
สิ่งที่สำคัญมากในระดับประเทศที่อยากขอฝากรัฐบาลชุดใหม่คือ การปฏิรูปการศึกษา ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน
ผมเห็นว่า ตราบใดก็ตาม หากคนไทยใฝ่รู้ มี Lifelong Learning มากขึ้น อยากรู้อยากเห็นมากขึ้น ( Curiosity ) ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และคิดนอกกรอบ แทนที่จะขยันในการหาคำตอบที่ตายตัวแบบที่เป็นอยู่ ประเทศคงอยู่รอดแน่นอน
ผมคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียง มีจุดแข็งที่ว่า จะทำอะไร รู้ให้จริง มีความคิดสร้างสรรค์ มีเหตุมีผล และนำไปสร้างนวัตกรรม ( Innovation ) แต่ที่สำคัญคือ ต้องมีคุณธรรม จริยธรรม และอยู่อย่างยั่งยืน เรื่องแรกที่จะเล่าให้ฟังคือ ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม เป็นต้นไป ผม ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดร.ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ จะนำเสนอสารคดีสั้น 5 นาทีเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง "เศรษฐกิจพอเพียงและโลกาภิวัตน์" ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ติดต่อกัน ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 11 เวลา 22.40-22.45 น. เพื่อให้ผู้ชมได้รู้ว่า
- เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร
- โลกาภิวัตน์คืออะไร
- เศรษฐกิจพอเพียงจะช่วยคนไทยให้อยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างไร
- และให้รู้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงช่วยทุกส่วนของสังคมไทย ไม่ใช่แค่ภาคเกษตร และทำให้เราอยู่ในโลกาภิวัตน์ได้อย่างยั่งยืน
เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับโลกาภิวัตน์นี้ หากไม่มีรัฐบาลซึ่งมีพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะถูกมองข้ามไปว่าไม่เกี่ยวกัน เพราะรัฐบาลชุดที่แล้ว มองโลกาภิวัตน์เพื่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ การส่งออก และดึงเงินทุนจากต่างประเทศ ซึ่งไม่ผิด แต่ต้องพอดี และไม่เสี่ยงจนเกินไป แต่จะยั่งยืนหรือไม่นั้น หากการขยายตัวที่ไม่มีพื้นฐานที่ดี เหมือนการสร้างตึก โดยไม่ลงเสาเข็มนั้น คงทำได้ยากและไม่ยั่งยืน ผมคิดว่า อาจจะเป็นโชคของประเทศไทย ที่มีผู้นำแบบอดีตนายกฯ ทักษิณ มาแสดงความสามารถในนโยบายเชิงรุก ให้คนไทยได้เห็นถึงจุดอ่อน จุดแข็ง เพื่อจะได้มีโอกาสเปรียบเทียบกัน แต่สิ่งสำคัญคือ เศรษฐกิจพอเพียงต้องเป็นสังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
ในเวลา 1 ปีกว่าจากนี้ รัฐบาลจะต้องวางรากฐานให้สังคมไทย คิดเป็น รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ จะต้องไม่ปฏิรูปเฉพาะโครงสร้างเท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปพฤติกรรม ปฏิรูป mindset หรือวิธีการมองโลกของคนไทยให้ได้ เรื่อง mindset นี้มีหนังสือเล่มล่าสุดของ John Naisbitt ซึ่งเคยเขียนเรื่อง Megatrends ที่ดังมากมาแล้ว บอกว่า การที่คนยุคใหม่จะประสบความสำเร็จได้ ต้องมีวิธีการคิด และวิธีการทำงานที่ใหม่เสมอ อย่ามีวิธีคิดแบบเดิม พร้อมจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ถ้ามีข้อมูลใหม่ ผมคิดว่า การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ไม่ใช่ฟังข้างเดียว เราต้องวิเคราะห์เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
- Reality มองความจริง
- และ Relevance ตรงประเด็น
เช่น ยุคนายกฯสุรยุทธ์ หากจะแก้ปัญหาภาคใต้ คงต้องเปลี่ยนวิธีการคิด จากการที่จะฆ่ากันทุกครั้ง มาเป็นการคุยกันแบบเจรจาบนโต๊ะ มองมาเลเซียเป็นมิตร ไม่ใช่แบบฆ่าทิ้งเป็นว่าเล่นอย่างในอดีต
เมื่อเร็ว ๆ นี้ PMAT สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย กล้าไปจัดสัมมนาเรื่อง HRM ในภาคอิสาน ซึ่งผมได้รับเชิญด้วย เดิม PMAT อาจคิดว่ามีแต่คนในกรุงเทพฯ เท่านั้นที่สนใจ ปรากฏว่าคนในภาคอิสานตื่นตัวมาก เพราะได้แนวคิดใหม่ ๆ
ผมบอกได้ว่า อิสานเป็นสังคมการเรียนรู้ได้สบาย ถ้าท่านมองอิสานแบบใหม่ คือไม่ใช่จน โง่ รับจ้างแรงงานถูก ๆ ควรต้องยกย่อง มองการเกษตรเชื่อมโยงวัฒนธรรม สร้างองค์ความรู้ มองคุณค่าของคนอิสาน โดยเปิดโอกาสให้อิสานได้มีอิสรภาพทางความคิด ผมว่าคนอิสานก็คิดเป็น แต่บรรยากาศไม่เอื้ออำนวย ถ้าผมรู้จักคนอิสานมากขึ้น ผมจะเขียนหนังสือพาดหัวสวย ๆ เป็นภาษาอังกฤษว่า :
Isarn can also learn and think
ผมมีเรื่องกิจกรรมอีกเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เมื่อวันที่ 16 - 18 ตุลาคม 2549 คณะครูจากจังหวัดสมุทรปราการ นำโดยโรงเรียนบางหัวเสือบุญแจ่มเนียมนิล ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สมุทรปราการ เดินทางไปดูงานด้านการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้
การไปดูงานครั้งนี้ ได้ไปเยี่ยมเยียนเอกอัครราชทูตไทยประจำเกาหลี คุณวศิน ธีระเวชฌาน แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน ผมได้เล่าถึงความเป็นมาของโครงการการศึกษาระหว่างไทย/เกาหลี และท่านทูตได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเกาหลีใต้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาที่รัฐบาลเกาหลีให้ความสำคัญมาก เพราะมองคนเป็นทรัพย์สิน asset ไม่ใช่ต้นทุน จึงทำให้ประชากรเกาหลีมีคุณภาพ และให้ความรู้เรื่องการเมืองระหว่างประเทศในกรณีเกาหลีเหนือทดลองอาวุธนิวเคลียร์ นับเป็นการเรียนรู้ข้ามศาสตร์ที่น่าสนใจสำหรับคณะครู ซึ่งทำงานต่อเนื่องในด้านการศึกษาร่วมกับผมมา 3 ปี และได้เดินทางไปดูงานต่างประเทศ 3 ครั้งแล้ว
สิ่งแรกที่คณะนี้ทำได้คือ ปรับ mindset ว่า ฉันทำได้ ฉันพึ่งตัวเอง ไม่รอให้กระทรวงส่งฉันไปดูงานต่างประเทศ
เรื่องที่สองคือ กลุ่มนี้สนใจ Networking มาก อะไรที่ดี ๆ จะแสวงหาและฉกฉวยให้ได้ ในอดีตเคยได้รับการสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ปัจจุบันมีการสร้างแนวร่วมกับนายกเทศมนตรีสำโรงใต้ คุณสรรเกียรติ กุลเจริญ และธุรกิจต่าง ๆ รอบโรงเรียน ประการที่ 3 คือ ได้ทำต่อเนื่อง ไม่ใช่ทำครั้งเดียวแล้วสำเร็จ
คณะนี้ขอให้ผมในฐานะ Lead Shepherd ของ HRD Working Group ใน APEC ติดต่อไปดูงานระบบสารสนเทศกับการสอน ที่กรุงโซล ซึ่งผมรู้จักเกาหลีใต้ดี ได้เจรจาให้จนประสบความสำเร็จ และได้เซ็นสัญญากับโรงเรียนในเกาหลี ว่าจะแลกเปลี่ยนเรื่อง ICT กับการเรียนการสอน เพราะเกาหลีเขาเอาจริงเรื่อง ICT กับการสอน และการแลกเปลี่ยนนักเรียนและครูในอนาคตด้วย
ทัศนคติของผู้บริหารชุดนี้คือ ทำ ทำ และทำให้สำเร็จ พึ่งตัวเอง ทำจริง คิดนอกกรอบ นึกถึงลูกค้าคือนักเรียน ผมภูมิใจมากที่มีโอกาสได้นำอาจารย์ 32 คน ซึ่งออกเงินเอง ไม่แบมือขอใคร และสามารถใช้การทูตภาคประชาชน ทำประโยชน์ให้แก่นักเรียนและครู ผู้ปกครองของจังหวัดสมุทรปราการได้สำเร็จ เพราะปรับ mindset ที่ถูกต้องครับ

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181
 

หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี  เป็นองค์ประธานพิธีการเปิดโครงการเทพศิรินทร์ Knowledge Camp ครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 16  ตุลาคม 2549 ณ โรงเรียนเทพศิรินทร์ ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 16 – 19  ตุลาคม 2549 ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ และ บรุ๊คไซด์ วัลเล่ย์ รีสอร์ท จ.ระยอง

 ฯพณฯพล.ต.กำธน สินธวานนท์ องคมนตรี บรรยาย พระอัจฉริยะภาพด้านพลังงาน แก่นักเรียนเทพศิรินทร์ ที่เข้าค่ายเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549

ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์ นายกสมาคมนักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ฯ บรรยาย  พระอัจฉริยะภาพด้านภาวะผู้นำ  แก่นักเรียนเทพศิรินทร์ ที่เข้าค่ายเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2549

ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน "

สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  

เช้านี้ วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ต้องออกเดินทางแต่เช้า จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ 

 

อย่างไรก็ตาม ผมหาความรู้ ทาง internet และค้นหาอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ  

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ   เรื่องการ Listen and Learn ผมเห็นด้วยกับ ศ.ดร.จีระ อย่างมาก ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ Link, Listen and Learn    ในอดีต การคัดเลือกผู้นำในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพการคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ก็ต้องคิดที่จะ Link, Listen และคิดที่จะ Learn (Long life learning)    
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   ในความเห็นส่วนตัว ในสายตาของประชาชน เข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ฉะนั้นใครพูดอะไร คิดอะไร จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อกัน   คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นรักและเคารพ อย่างสูง ของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง และอาจจะมีผลกระทบกับภาพลักษณ์ ของท่านนายกรัฐมนตรีได้ การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation!

Can we fix! Broken Government? Can we fix! The national disunity?

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจน 60% จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์มีส่วนใหญ่ขาดคุณภาพไม่มีทางออกทะเล  ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending 

 

 

ที่สำคัญที่สุดจะต้องแข่งขันกับโลกการศึกษาสำคัญที่สุดจะรีบเร่งการลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance)  

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT  

 

การใช้แรงงาน เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชาต่าง ๆ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรต้องสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร สนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วนดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระดับโลก ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ทำตรงนี้ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์  
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

อาจารย์ทำ Knowledge camping เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัยถ้าทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคต เป็นการสร้างคนไว้สร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมเสนอ ศ.ดร.จีระ เรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่อง การพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  IT CITY ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี และน่าสนใจร่วมมือกันในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming เป็นต้น   
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

คิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ไม่มองแนวคิดตะวันตกดีเลิศ หรือมองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น


 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า เอาแนวคิดของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเราโดยเร็ว ผมสังเกตเห็นอาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้คนที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้เก่งขึ้น ได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือครู อาจารย์ CEO ทั้งหลายควรเรียนรู้วิธีการมองคน ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองในสิ่งที่ CEO หรือผู้นำ บางคนมองไม่เห็น ครับ 

สุดท้ายฝากไว้Brain Power  “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ         ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน                 ยม  นักศึกษาปริญญาเอก  รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฎบัณฑิต  081-9370144  [email protected] 
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ เรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"

ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน[1]

 

 

เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ
ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง
ผมหวังว่า งานดังกล่าวจะก้าวไปด้วยดี และสร้างความเข้าใจได้ถูกต้อง
ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป
สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระยะนี้ ท่านผู้อ่านอาจจะใช้สื่อทางวิทยุมากขึ้น เพราะสื่อทางโทรทัศน์ยังไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก
ในขณะที่สื่อวิทยุ เช่น FM 96.5 MHz. ทั้ง 24 ชั่วโมง มีความคิดดี ๆ ออกมาจากผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ทันเหตุการณ์ ผมยังต้องติดตามใกล้ชิด
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต
อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning
ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว
เอเชียต้องมีฐานความรู้ของตัวเอง ร่วมมือกับตะวันตกได้ โดยไม่ลอกความคิดของตะวันตกอย่างเดียว
นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย
คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์
ผมโชคดีได้เปลี่ยนแนวการสอนมากว่า 10 ปีแล้ว ไม่ว่าจะสอนที่ไหน จะให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และสรุปร่วมกัน ทุกวันนี้มีคนสนใจเรื่องนี้มากขึ้น ล่าสุดองค์กรบริหารส่วนตำบล ซึ่งจะนำเศรษฐกิจพอเพียงไปให้เขาคิด เช่นเดียวกับข้าราชการระดับ C7 , C8 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของรองปลัดสุทธิพร จีระพันธุ ซึ่งเป็นผู้สนใจวิธีการเรียนแบบใหม่

 

 จีระ หงส์ลดารมภ์
[email protected]
โทร. 02-273-0180, 0-2619-0512-3
โทรสาร 0-2273-0181  
ยม "บทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน"(ปรับปรุงใหม่)
สวัสดีครับ ศ.ดร.จีระ และท่านผู้อ่านทุกท่าน
  

วันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2549  ผมมีกิจกรรม สัมมนา ภาวะผู้นำโลก(Seminar on Global Leadership) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน ในหลักสูตร ป.เอก ผมออกเดินทางแต่เช้า เพื่อจะไปร่วม สภากาแฟก่อนมีการสัมมนา จึงส่งข้อควานี้มาช้ากว่าปกติที่เคยทำ หลังจากเขียนเสร็จแล้ว รู้สึกว่า บรรยากาศรอบตัวมีผลต่อการเขียนมาก ไม่ค่อยมีสมาธิเหมือนเขียนเงียบ ๆ ในมุมธรรมชาติ

 

อย่างไรก็ตาม ผมอ่านบทความบทเรียนจากความจริง กับ ศ.ดร.จีระ” จาก Interent ซึ่งสัปดาห์นี้อาจารย์ใช้ชื่อเรื่องว่า ในบทความนี้ ศ.ดร. จีระ เขียนเรื่อง ควรรับฟังข้อคิดเห็นอดีตนายกฯชวน ผมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม โดยใช้ข้อความข้างล่างนี้ แถบสีน้ำเงินคือข้อความที่ผมคัดลอกมาบางส่วนจากบทความที่อาจารย์เขียน ส่วนสีดำเป็นความเห็นของผม ซึ่งมีดังนี้ ครับ 

 

  เวลาผ่านไปแล้ว 5 สัปดาห์ เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วและคาดไม่ถึง หลายอย่างดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็มีปัจจัยหรือมีข้อมูลใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี ต้องใช้นโยบาย
Listen and Learn
อย่างมาก และต้องมีความอดกลั้น ที่จะต้องรับฟัง หากมีประโยชน์จึงนำไปปฏิบัติ  
ในความเห็นส่วนตัว ผมคิดว่าเรื่องการ Listen and Learn ที่ ศ.ดร.จีระ กล่าวไว้ สำคัญต่อการเป็นผู้นำยุคใหม่อย่างมาก
ผมคิดว่า Competency หรือ สมรรถนะของผู้นำยุคใหม่จะเกี่ยวข้องกับสมรรถนะในการ  
  • Link หมายถึง ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ต่อทรัพยากรมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง เชิงสร้างสรรค์
  • Listen หมายถึง ขีดความสามารถในการฟังผู้อื่น ไม่เอาแต่สังการ ควบคุม แต่ฝ่ายเดียว การฟัง ด้วยเหตุ ด้วยผล ด้วยสติปัญญา จะทำให้เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ได้
  • Learn   หมายถึงขีดความสามารถในการเรียนรู้สรรพสิ่งทั้งหลาย เรียนรู้จากเหตุการณ์ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น เรียนรู้ถึงความสำเร็จ ความล้มเหลว ในอดีต ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต เป็นต้น 

ในอดีต การสรรหา คัดเลือกผู้นำ CEO ในองค์กร มักจะแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการทำงาน ถือว่าเก่ง ครับ แต่ในยุคปัจจุบันและอนาคตแนวคิดนั้นได้เปลี่ยนมาแสวงหาผู้นำที่มีความสามารถในการ Link, Listen and Learn เพื่อต้องการหาผู้นำที่สามารถบริหารการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผมคิดว่า ความคิดและข้อเสนอแนะของอดีตนายกฯ ชวน หลีกภัยที่ติงการทำงานของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ น่าสนใจ คือจะต้องอธิบายจุดอันตรายของ "ระบบทักษิณ" ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจอย่างแท้จริง เพราะใน 5 ปีที่ผ่านมา ประชาชนที่ยากจนอาจจะคิดไม่ครบถ้วน และไม่เข้าใจ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นจะต้องทำ ควรอธิบายด้วยข้อมูลและข้อเท็จจริง อาจจะต้องดึงเอาภาคประชาสังคมที่เป็นกลาง มาช่วยอธิบายเพื่อเสริมรัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติเพื่อให้ทั่วถึง ระยะนี้ ยังมีข่าวความไม่สงบหรือคลื่นใต้น้ำอยู่ ซึ่งคงจะไม่ใช่ของแปลกอะไร เพราะมีผู้เสียผลประโยชน์มาก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติจะต้องบริหารและจัดการสิ่งเหล่านี้อย่างรอบคอบ เหมาะสมและสมานฉันท์  
ดูเหมือนว่า นายกฯสุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำหน้าที่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ได้เชิญหัวหน้าพรรคการเมืองมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ การยกย่องให้เกียรติทุกกลุ่มในสังคมเป็นเรื่องที่ดีและเหมาะสม
ส่วนกลุ่มพันธมิตรก็เช่นกัน คงจะต้องอดทนและมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเหมือนเดิม ขออย่าท้อใจ ถึงกับจะลาออกจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งไม่เป็นผลดี คงจะต้องช่วยกันตรวจสอบต่อไป   

ในความเห็นส่วนตัวของผมคิดว่า  ในสายตาของประชาชนคงเข้าใจว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เป็นบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ โดยเฉพาะท่านนายกรัฐมนตรี เป็นที่รักและเคารพ อย่างสูง เป็นองคมนตรีของชาติ การที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี จะพูด จะทำอะไร จึงเป็นสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบถึงตัวท่านนายกรัฐมนตรีได้
การฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น การ Link, Listen and Learn เป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายควรทำ ทุกฝ่ายควร Know our situation! และร่วมกันประกอบภารกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังกันทุกฝ่าย เหตุการณ์ภาคใต้ รุนแรงมากขึ้น เราจะสามารถกู้สถานการณ์ได้หรือไม่

Can we fix! Broken Government?

Can we fix! The national disunity?

เป็นสิ่งที่คนไทยจะต้องสมานฉันท์ ร่วมมือกัน ผมเชื่อว่า ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา ย่อมแก้ไขได้ด้วยคนในบ้านของเราเช่นกัน  

 

ประเทศไทยจะต้อง Compete international เพื่อที่จะลดความยกจนลง Economic growth ควรจะต้อง ได้ 6% GDP 

 

ขณะนี้ เราเผชิญปัญหาหลายอย่าง ผมในฐานะคนไทยด้วยกัน ขอแสดงความเห็นใจรัฐบาล และผู้รับอาสาเข้ามาบริหารบ้านเมือง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีคนจน 60% อีสานเป็นภาคที่จนที่สุดในประเทศ ทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ขาดคุณภาพ ด้อยโอกาสทางการศึกษาและอาชีพ ทั้งที่เป็นคนดีมีน้ำใจ 
อีสานเป็นดินแดนไม่สมบูรณ์เหมือนภาคกลาง ไม่มีทางออกทะเล ดินฟ้าอากาศมีผลต่อการประกอบอาชีพ ผลผลิตเกษตรต่อไร่ตกต่ำ การติดต่อค้าขายกับชายแดนต่ำ การใช้เงินภาคสาธารณะต่ำ Low Public spending  อาชีวอนามัยแม่และเด็กยังคงมีปัญหา ส่งผลต่อสมองและความฉลาดของเด็กไทยในอีสาน

 

ที่สำคัญที่สุดเราหนีไม่พ้นที่จะต้องแข่งขันกับโลก  การศึกษาสำคัญที่สุดควรจะต้องรีบเร่งแก้ไขปรับปรุง

 

การลงทุนภาคเอกชน ชะลอการลงทุนเกือบถึงขั้นหยุดชะงักมาหลายปี(Reluctance) แนวโน้มจะมีมากขึ้นหรือน้อยลง ผมไม่แน่ใจ 

 

แรงงานมีทักษะ ความรู้ต่ำ แรงงานต่างด้าวคุณภาพต่ำเข้ามาผสมผสานมากขึ้นมีทั้งถูกต้องไม่ถูกต้อง
การปฏิรูปสถาบันการเงินยังมีขีดจำกัดในภาพรวมทางเศรษฐกิจ  การขาดแคลนแรงงานทีมีความสามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุน Skill Labor
นอกจากนี้ จุดอ่อนของประเทศไทยประการหนึ่งคือ Staff นักบริหารอ่อน องค์ความรู้เพื่ออนาคต อ่อน IT ควรต้องมีแผนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

 

จุดแข็งในการใช้แรงงานราคาถูกของไทย เช่น โรงงานทอผ้า ธุรกิจ Garment รองเท้าฯ ได้สูญเสีย Competitive edge ให้แก่ประเทศจีนและเวียดนามไปแล้ว และ 2 ประเทศนี้ได้พัฒนาการศึกษา เทคโนโลยีอย่างรวดเร็วนำหน้าประเทศไทยไป  
สิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องท้าทายรัฐบาลทุกยุคสมัย เป็นเรื่องท้าทายวิสัยทัศน์ ความคิด การกระทำของกลุ่มสมัชชา และความร่วมมือของคนไทยทั้งชาติ  

 

ประชาชนทุกส่วน ควรเพิ่มและส่งเสริมความสมานทฉันท์ ช่วยเหลือกันและกัน เพื่อชาติจริง ๆ ร่วมมือกันช่วยรัฐบาลในการพัฒนาประเทศให้สำเร็จ   ยุติความขัดแย้ง หันมาแก้ปัญหาประชาธิปไตยด้วยความสงบสุข เคารพในศักดิ์ศรี ในศักยภาพของคนทุกคน ต้องเชื่อว่าคนทุกคนมีคุณค่าทั้งสิ้น ไม่มองใครต่ำ ใครสูง 

 

 

คณะรัฐมนตรี ต้องเร่งบริหารประเทศให้พ้นภัย ให้บรรลุเป้าหมายสูงสุด ด้วยการทำงาน Fast, smart to meet highest Standard
วิสัยทัศน์ของชาติต้องชัดเจน และยั่งยืน เน้นความสงบสุขของบ้านเมือง และประโยชน์ของประชาชน ไม่ทำลาย ไม่กล่าวร้ายใคร อะไรก็ตามที่เป็นอุปสรรคสร้างและพัฒนาชาติควรขจัดออกไป ควรต้องสนองแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแนวคิดขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ของเรา   ผสมผสานบูรณาการแนวคิดทางการบริหาร ทฤษฎีอื่น ๆ ทั้งแนวพุทธศาสตร์ อิสราม คริสต์ฯ มาพัฒนาชาติของเราให้เข้มแข็งโดยเร็ว

 

รัฐบาลใด ชาติใดก็ตามถ้าเริ่มต้นบริหารชาติด้วยดี พลีอุดมการณ์ให้ชาติ เพื่อคนรุ่นหลัง  เพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่ชาติแล้วนั้น นั่นคืออนุสาวรีย์ที่ปักแน่นในจิตวิญญาณของคนทั้งประเทศ 

สำหรับผม ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะทำหน้าที่ต่อไปในฐานะประชาชนคนหนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของการให้ความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

 

ผมคิดว่า สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำอยู่เป็นแบบอย่างที่ดีที่ผมประทับใจ อาจารย์เป็นกลาง มีคุณธรรม มีอุดมการณ์ มีเสียสละ เพื่อส่วนรวม อาจารย์ทำงานที่มีประโยชน์กับสังคม โดยหวังให้ผู้อื่นเป็นสุข หวังให้ชาติเจริญ เป็นงานพัฒนาทรัยพากรมนุษย์ที่แท้จริงในทุกระดับ ทั้งในและต่างประเทศ   สมกับเป็น HR สายพันธ์แท้  รัฐบาลและองค์กรพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทุกระดับ ควรให้การสนับสนุน ทั้งทางตรงและทางอ้อม  
นักศึกษา ลูกศิษย์ ของอาจารย์ หากมีโอกาส ก็ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนอาจารย์ ทุกรูปแบบ ด้วยความมีอุดมการณ์ ความมีชาตินิยม และเรียนรู้วิถี แนวทางของ ศ.ดร.จีระ เพื่อต่อยอด เป็นแนวร่วมอุดมการณ์ ครับ

สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีงาน 3 เรื่องที่จะเล่าให้ฟัง
เรื่องแรก ซึ่งทำเป็นประจำทุกปี คือ ค่ายผู้นำเยาวชน Knowledge camping ให้แก่นักเรียนเทพศิรินทร์และโรงเรียนในเครือทั้ง 7 โรงเรียน จำนวน 120 คน ครั้งนี้เป็นปีที่ 8 แล้ว ในปีนี้เน้นในพระอัจฉริยภาพด้านต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เช่น ภาวะผู้นำ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น มีวิทยากรรับเชิญซึ่งเป็นนักเรียนเก่าที่มีชื่อเสียงหลายท่านมาร่วมแบ่งปันความรู้ เช่น
-
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ประธานมูลนิธิโครงการหลวง เป็นองค์ประธานในพิธีและปาฐกถาพิเศษเรื่อง "โครงการหลวง"
-
ฯพณฯ พล.อ.ต.กำธน สินธวานนท์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านพลังงาน"
-
ดร.ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัตน์ บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรีและกีฬา"
-
ศ.ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน บรรยายเรื่อง "พระอัจฉริยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ"
ค่าย Knowledge camping นี้เป็นค่ายที่สร้างและพัฒนาภาวะผู้นำให้กับนักเรียน ให้เด็กมีความคิดกว้างไกล คิดเป็น กล้าแสดงออก เด็กจะได้รับการพัฒนาความคิดจากโจทย์ "ประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า" ซึ่งเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเติบโตเป็นผู้นำของชาติในอนาคต

 

 

ที่ ศ.ดร.จีระ ทำ Knowledge camping นี้ ผมเห็นว่า เป็น Good Model ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ อย่างมาก เป็นประโยชน์ในการสร่างเยาวชน ให้เป็นผู้นำในอนาคต
การปฏิรูปการศึกษาบ้านเรา ควรมีวิธีการเรียนรู้แบบนี้ สอดใส่เข้าไปในการศึกษาทุกระดับ ตั้งแต่ระดับประถมฯ ถึง มหาวิทยาลัย และถ้าทุกสถานบันการศึกษาทำได้ ผมเชื่อว่าเราจะมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในอนาคตมากพอ เป็นการสร้างคนเพื่อสร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อีกงานหนึ่งเป็นงาน India-Thai Business Forum ซึ่งเป็นชมรมนักธุรกิจชั้นนำของอินเดียในประเทศไทย ผมภูมิใจที่เขาสนใจงาน HRD ของ APEC ของผม แต่แทนที่จะมองเฉพาะ APEC เขามองถึงความร่วมมือระหว่างอินเดียกับ APEC ในอนาคต
ผมคิดว่าเรื่อง HRD กับอินเดียน่าจะมี 3 เรื่อง
1.
การแลกเปลี่ยนครูทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และ IT โดยให้อินเดียส่งครูมาช่วย
2.
การส่งครูไทยไปสอนเรื่อง การบริการ Service sector และการท่องเที่ยว
3.
จัดให้เกิดธุรกิจร่วมกัน เช่น E-learning

ผมคิดว่ารัฐบาลของนายกฯสุรยุทธ์ ยังคงสนับสนุนแนวคิดการจัดตั้ง ACD HRD Center ขึ้น เพื่อให้เอเชีย ซึ่งมีอินเดีย จีน ญึ่ปุ่น ไทย และประเทศในตะวันออกกลางรวย ๆ เช่น โอมาน คูเวต มาพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของคนเอเชียด้วยกัน แทนที่จะไปเรียนจากตะวันตก ซึ่งผมได้รับมอบหมายจากรัฐบาลชุดที่แล้วให้ดำเนินการ และได้รับการเห็นชอบในหลักการแล้ว 

 

ประเด็นนี้ ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมครับ สิ่งที่ ศ.ดร.จีระ ทำเรื่อง การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ไม่ธรรมดาเลย  ทำให้คนอินเดียประทับใจและทึ่งคนไทยไปอีกนานด้วยความสามารถของ ศ.ดร.จีระ
ผมเสนอเพิ่มเติมว่า การร่วมมือระหว่างอินเดียกับไทยและ APEC น่าจะมีอีกหลายเรื่องที่ทำได้และจะเป็นประโยชน์กับไทยมาก เช่น ในเรื่องการให้ความร่วมมือเรื่องการพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษ ให้แก่ครูและนักเรียนในชนบทยากจน ทำอย่างไรให้เด็กไทยพูดภาษาอังกฤษได้เหมือนเด็กอินเดีย  
IT CITY ในรัฐบังกาลอร์ ของอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ดี ในเรื่องการบริหาร Talent people การแลกเปลี่ยน นักศึกษา ป.โท ป.เอก ในด้านพลังงานเพื่ออนาคต การวิจัยปัญหาของโลก ปัญหาของ APEC เช่น ด้านการป้องกันภัยวิบัติของโลก Global warming การป้องกันการก่อการร้ายข้ามชาติ การอนุรักษ์วัฒนธรรม ไทย อินเดีย การส่งเสริมและปฏิบัติตามหลักศาสนา เป็นต้น ครับ

นอกจากนี้ ผมได้รับเชิญจากมูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ไปบรรยายเรื่อง คิดแบบ CEO ในยุคสมัยใหม่ ผมชอบหัวข้อที่เขาตั้ง เพราะ CEO ต้องคิดเป็นถึงจะสำเร็จ จึงแนะนำวิธีการคิดไป 3 วิธีคือ
-
ทฤษฎี 4 L's ของผม
- 5 Disciplines
ของ Peter Senge
-
และ 6 Thinking hats ของ Edward de Bono
เน้นว่าแต่ละแบบสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้โดยมองจากสถานการณ์ความจริงของแต่ละองค์กร มีจุดที่น่าสนใจคือ ยุคใหม่ CEO ต้องไม่เก่งคิดคนเดียว ต้องให้ผู้ร่วมงานคิดเป็นด้วย

 

ผมขอเสนอความคิดเห็นเพิ่มเติมที่อาจจะเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านว่า การคิดแบบ CEO ที่เป็นเลิศ ควรต้องคิดโดยใช้สมองทั้งสองด้าน ทั้งซีกซ้ายและขวาด้วย คือต้องมองอะไรได้ทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น ไม่คิดว่าแนวคิดตะวันตกดีเลิศ มองแนวคิดตะวันออกแบบติดลบ ต้องคิดบูรณาการทั้งตะวันออก และตะวันตกเข้าด้วยกัน จะได้จุดแข็งทั้งสองซีกโลกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม เป็นต้น

 

คำถามคือ จะทำอย่างไร ในประเทศไทย เราเสียเปรียบตั้งแต่ระบบการศึกษา เพราะเราไม่มีการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ เราให้นักเรียนลอกความคิดของอาจารย์

 

ผมคิดว่า การปฏิรูปการเรียนการสอน การศึกษาของบ้านเรา  น่าจะนำแนวคิด แนวปฏิบัติ ของ ศ.ดร.จีระ มาเป็นส่วนหนึ่งใน

ในการพัฒนาระบบการศึกษา

 

ผมสังเกตเห็นว่า อาจารย์ทำแล้วได้ผล อาจารย์สามารถขุดความสามารถของนักเรียน นักศึกษาได้ อาจารย์ทำให้นักเรียน นักศึกษาจำนวนมาก (ในเวลาที่จำกัด) ที่ไม่ค่อยพูดซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนเก่ง ได้มีโอกาสได้แสดงความเก่งขึ้นมาอย่างน่าทึ่ง ให้นักเรียน นักศึกษาได้แชร์ความรู้ ได้ปะทะกันทางปัญญา เหมือนพระสนทนาธรรม เหมือนจอมยุทธ์ได้ปะลองฝีมือ ปัญญาย่อมเกิด ฝีมือย่อมพัฒนาขึ้นได้แน่นอน

 

และที่สำคัญคือท่านที่สนใจวิธีการมองคนที่เป็นเลิศ ของ ศ.ดร.จีระ ว่าท่านทำอย่างไรจึงมีสายตาที่เฉียบคม มองเห็นในสิ่งที่ CEO ผู้นำ หรือคนอื่น มองไม่เห็น อาจารย์มีเทคนิคในการมองลูกศิษย์ทุกระดับ ได้เหมือนมีแว่นวิเศษ ครับ สุดท้ายก่อนจบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นวันนี้ ผมฝากไว้เกี่ยวกับ  Brain Power 
 “We live in the world where almost anything is a new possibility. The nature of work is changing. It is becoming increasingly brain intensive, value oriented, and unpredictable.   Skilled brain power is replacing disciplined muscle power. 

 

We want everyone to be seen as an achiever, an innovator, a seeker of the unknown to build a better world together.  The effective development of brain power within a nation will decide the prosperity of the country in the future.”   
ศ.ดร.จีระ ยังมีรายการโทรทัศน์ช่อง 11 ชื่อรายการสู่ศตวรรษใหม่ทาง ช่อง 11 ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือน เวลา 14.00-15.00 น. และ รายการเศรษฐกิจพอเพียง กับ โลกาภิวัตน์ ทุกวันเวลา 22.40 น. – 22.45 น.นอกจากนี้ ยังออกอากาศอีกทีทาง UBC 7 ทุกวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนเวลา 14.00-15.00 น. และรายการคิดเป็นก้าวเป็นกับดร.จีระ ทาง UBC 7 อาทิตย์ที่ 1,3 และ 5 ของเดือนเวลา 13.00-13.50 น. นอกจากนั้นยังมีรายการวิทยุ knowledge for people วันพุธ เวลา 19.30 - 20.30 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท. F.M. 96.5 MHz Hz   คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระของหนังสือพิมพ์แนวหน้าทุกวันเสาร์หน้า 5 หรือทาง http://www.chiraacademy.com/  เชิญท่านติดตามศึกษาหาความรู้ จากผลงานของ ศ.ดร.จีระ และร่วมกันแสดงความคิดเห็น สะสมสร้างทุนทางความรู้ ทุนทางปัญญา และทุนทางสังคม ใน Blog นี้ ครับ        
ขอความสวัสดีจงมีแด่ท่านผู้อ่านทุกท่าน     
            
ยม  
นักศึกษาปริญญาเอก 
รัฐประศาสนศาสตร์ดุษฏีบัณฑิต
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท