กิจกรรมการเรียนการสอนแทงหยวกกล้วย


การแทงหยวกกล้วย

          กิจกรรมการเรียนการสอนแทงหยวกกล้วย

   ไปเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอน การแทงหยวกกล้วยของคุณครูเยาวลักษณ์ คำกวน ครูคหกรรมกลุ่มสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เรียบง่าย ให้นักเรียนได้คิดเอง ทำเอง แก้ปัญหาเอง คุณครูคอยดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักเรียน เพราะใช้มีดแกะสลักในการทำลวดลายของหยวกกล้วย นักเรียนที่มาเรียนในวันนี้เป็นนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นห้องเรียนที่มีผลการเรียนไม่สูง แต่สนใจในงานสืบสานอนุรักษ์ความเป็นไทย น่าสนใจดี

     หลังจากคุยกับคุณครูนักเรียนเริ่มทะยอยมาเรียนกัน  พอกลุ่มแรกมาถึงคุณครูก็ให้นักเรียนนำตอไม้แห้งไปวางหน้าห้องเรียนและบอกว่าให้นักเรียนแทงหยวกกล้วยตกแต่งบนตอไม้นี้นะคะ แค่นี้ค่ะ แต่นักเรียนคนที่ได้รับคำสั่งก็นำคำสั่งไปจัดการแจ้งให้กับเพื่อนนักเรียนต่อกันไป มีนักเรียนหลายคนเตรียมหยวกกล้วยมาจากบ้านและมีอีกหลายคนไม่ได้เตรียมมาเลย  ครูก็ไม่ว่าอะไร  สักพักนักเรียนก็แก้ปัญหาด้วยกันไปฟันหยวกกล้วยจากต้นกล้วยที่ปลูกข้างๆโรงเรียนกันอย่างสนุกสนาน เสียงครูบอกว่าตัดแล้วอย่าลืมเอาหน่อกล้วยมาปลูกทดแทนบ้างนะ

          กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปตามธรรมชาติ  นักเรียนนั่งกันเป็นกลุ่มตามที่ต่าง ๆที่ตนเองชอบบ้างไปนั่งใต้ต้นไม้บ้างไปนั่งในห้องแสดงผลงานนักเรียนบ้างนั่งที่สนามหญ้าข้างๆห้องเรียน นั่งวาดลวดลายไทยบนหยวกกล้วยกันอย่างสนุกสนาน คุยหยอกล้อกันเอง แซวกันบ้างเมื่อเดินไปสอบถามว่าวาดลายไทยได้อย่างไร บ้างก็ตอบว่าครูแนะนำ บ้างก็ตอบว่าครูศิลปะเคยสอนมาแล้ว บ้างก็บอกว่าหาวิธีวาดในอินเทอร์เน็ตสิค่ะ/ครับ วาดยากบ้างง่ายบ้างตามศักยภาพของแต่ละคน ไม่มีนักเรียนสักคนเดียวที่บอกว่าวาดลายไทยไม่ได้

         หลังจากเดินเยี่ยมชมสักพักก็มีนักเรียนมาบอกว่ามีคนทำเสร็จแล้ว ก็ไปชมผลงานนักเรียนคนแรกที่ทำเสร็จก็มีความสวยงามดีซึ่ง นักเรียนบอกว่าจริงๆสามารถแทงลวดลายที่ละเอียดกว่าก้ได้แต่ด้วยเวลาที่จำกัดทำให้ต้องเลือกลวดลายที่สามารถทำให้แล้วเสร็จให้ทันเวลา ตรงนี้ชมเชยนักเรียนที่รู้จัดคิด แก้ปัญหาได้ ช่วงเวลานี้ก็มีนักเรียนหลายคนเริ่มจะดำเนินการแทงหยวกกล้วยของตนเอง เสร็จจำนวนมากขึ้น และนำลายมาวางไว้บนตอไม้ที่คุณครูจัดให้ การแทงหยวกกล้วยนี้เป็นพื้นฐานในการที่จะพัฒนาไปสู่งานแทงหยวกกล้วยที่มีลวดลายสลับซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เพราะนักเรียนชอบ สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองทุกกระบวนการ 

       สุดท้ายครูได้แนะนำนักเรียนในการนำงานแทงหยวกกล้วยให้กับนักเรียนซึ่งการแทงหยวกกล้วยสมัยก่อนจะทำเพื่อประดับตกแต่งหีบศพ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์นำไปตกแต่งงานต่างๆได้อย่างหลากหลายและเหมาะสม โดยเฉพาะในชนบทสามารถทำได้เพราะมีกล้วยปลูกตามบ้านตามสวนเยอะแยะมากมาย ไม่ต้องซื้อหา สามารถหารายได้จากการแทงหยวกกล้วยได้ด้วย และให้นักเรียนที่ใช้กาบต้นกล้วยของโรงเรียนช่วยกันหาหน่อกล้วยมาปลูกทดแทนเพื่อให้นักเรียนในรุ่นต่อๆไปได้ใช้ประโยชน์ต่อไป

      เมื่อได้มาสืบค้นในGotoknowก็พบว่ามีผู้เขียนบทความเกี่ยวการแทงหยวกกล้วยไว้ มีลวดลายที่งดงาม และสืบค้นรูปภาพจากเว็บสืบค้นก็พบว่ามีรูปภาพการแทงหยวกกล้วยที่วิจิตรงดงามมากมาย ศิลปะการแทงหยวกคงจะไม่หายไปจากสังคมไทยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของคุณครูก็เป็นกิจกรรมหนึ่งในการที่จะสืบสานอนุรักษ์ความเป็นไทยให้คงอยู่คู่ไทยตลอดไป

    เมื่อไปสืบค้นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมแบบไหนเข้ากับหลักการทฤษฏีอะไรก็พบว่าสอดคล้องกับ

ห้องเรียนกลับทาง” (Flipped Classroom) ครูทำด้วยเหตุผลที่ถูกต้องคือเพื่อมอบอำนาจการเรียนให้แก่นักเรียน   จัดการเรียนแบบถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชั้นเรียนที่นักเรียนเรียนแบบ inquiry-based learning ที่นักเรียนเป็น ผู้อำนวยการการเรียนรู้ ของตนเองครูมองนักเรียนเป็นมนุษย์ที่มีศักยภาพในการเรียนรู้   โดยที่แต่ละคนมีลักษณะจำเพาะของตนเองที่ต้องการกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะแก่ตน

    และ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism)  แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ  การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง  หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 

 

บันทึกที่เกี่ยวข้อง http://www.gotoknow.org/posts/359806

หมายเลขบันทึก: 548854เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 09:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2013 22:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าชื่นชมมาก

นักเรียนจะได้อนุรักษ์เรื่องเก่าที่ได้เรียนรู้ด้วย

ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท