การใช้เพลงกล่อมเด็กจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย


ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นแหล่งความรู้ที่มีคุณค่าที่อยู่ใกล้ตัวนักเรียนมากที่สุด โดยเฉพาะเพลงกล่อมเด็กเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เด็กสัมผัสได้ตั้งแต่แรกเกิด  เพลงกล่อมเด็กนอกจากช่วยให้เด็กเกิดความเพลิดเพลิน  หลับง่ายแล้ว ยังสะท้อนวิถีชีวิต  สังคม ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีของสมาชิกในครอบครัวด้วย ศรีอัมพร  ประทุมนันท์  (2549 , น.15 )กล่าวว่า เพลงกล่อมเด็กเป็นเครื่องมือกล่อมเกลาคุณธรรมจริยธรรม จึงเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิถีชีวิต ที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นมาเองแล้วสืบทอดต่อกันมา

                ครูจึงควรนำเพลงกล่อมเด็กมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามที่หลักสูตรกำหนด เช่น

                เรื่องการคัดลายมือ - ระดับประถมศึกษา (ป.๑-ป.๓) :ครูนำเพลงกล่อมเด็กมาให้นักเรียนคัดลายมือ

                                                    - ระดับประถมศึกษา (ป.๔-ป.๖) และระดับมัธยมศึกษา :นักเรียนสืบค้น                                                        เพลงกล่อมเด็กจากบุคคลในครอบครัวและในชุมชน แล้วคัดลายมือ

                การเขียนเรียงความ- ใช้เพลงกล่อมเด็กอ้างอิงในการเขียนเรียงความ

                เรื่องโครงงานและการเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้า

                                                     - นักเรียนทำโครงงาน เกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็ก

                                                     - นักเรียนเขียนรายงานจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องที่ เกี่ยวกับเพลงกล่อมเด็ก

                สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

                                                     - ความรู้และข้อคิดจากเพลงกล่อมเด็ก  และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

                การสร้างคำในภาษาไทย - นักเรียนจำแนกคำมูล คำประสม  คำซ้อน และคำซ้ำ จากเพลงกล่อมเด็ก

 

 

ศรีอัมพร ประทุมนันท์.เพลงพื้นบ้านกับการสอนภาษาไทย.(2549). กรุงเทพฯ:ศรีเมืองการพิมพ์.

 

                                                  

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เพลงกล่อมเด็ก
หมายเลขบันทึก: 548830เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2013 00:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2013 00:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท