น้ำพริกต่อ(หัวเสือ)


เมนูบ้านนา :

 

 

น้ำพริกต่อ(หัวเสือ)

 

 

 

น้ำพริกต่อ(หัวเสือ)...เมนูอาหารตามฤดูกาลที่อยากแนะนำให้ลองชิมดู

 

 

 

 

                    ที่บ้านแม่ตาด...ชาวบ้านหลายคนเลี้ยง "ต่อหัวเสือ" เอาไว้ตามสวนหลังบ้าน เพื่อเก็บลูกต่อและรังต่อเอาไว้ขายเป็นรายได้เสริมให้กับครอบครัว บางคนเลี้ยงไว้มากถึง 40-50 รังเลยก็มี

          ช่วงนี้เป็นช่วงที่ "ลูกต่อ" กำลังเติบโต เหมาะสำหรับเก็บขาย ชาวบ้านเลยเก็บ "ลูกต่อ" ขายในราคา กก.ละ 350 บาท (ต่อหนึ่งรังให้ผลผลิตได้ประมาณ 2-3 กก. แถมยังขายรังเก่าได้อีกต่างหาก)

          วันนี้เลยนำเมนู "น้ำพริกต่อ(หัวเสือ)" มาให้เพื่อนๆ ได้ชมกันนะครับ ซึ่งเป็นเมนูอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลอีกอย่างหนึ่งของภาคเหนือ ปีหนึ่งมีครั้งเดียวเท่านั้น

          สำหรับรสชาตินั้น คนที่ชอบก็บอกว่าอร่อยมาก จนไม่กินไม่ได้ ส่วนคนที่ไม่คุ้นเคยก็อาจจะรู้สึกสยองขวัญนิดๆ...นานาจิตตังนะครับ 555

 

 

 

 

 

รังต่อหัวเสือที่ชาวบ้านเลี้ยงเอาไว้เก็บ "ลูกต่อ" ขาย
แถม "รังต่อ" ที่ร้างแล้ว ก็ยังขายได้ราคาดีด้วย (ขนาดที่เห็นในภาพ ราคาประมาณ 1,000 บาท)

รวงต่อหัวเสือที่มีลูกอ่อนอยู่ด้านใน

ดักแด้ต่อหรือตัวอ่อนของต่อหัวเสือ(คล้ายๆ ดักแด้ไหม)

น้ำพริกต่อกินกับหน่อไม้ต้ม
ลำแต้ๆ เลยเน้อครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 548353เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2013 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2013 14:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)
  • ที่อุบลฯ ไม่เคยเห็นลูกต่อมีขาย...อยากชิมน้ำพริกต่อบ้าง คงต้องสั่งตรงจากบ้านแม่ตาดแล้วล่ะคะ
  • รวงต่อแบบขวามือคล้ายรังแตนที่เคยเห็นที่ฟาร์มนะคะ แต่แบบภาพซ้ายมือไม่เคยเห็น มันเกี่ยวข้องกับภาพทางขวามือยังไง ป้าวิไม่เข้าใจค่ะ คุณเพลินชวยอธิบายด้วย ขอบคุณนะคะ
  •  

สวัสดีครับ  ป้าวิ  ไอดิน-กลิ่นไม้

 

* ที่ภาคอีสานบ้านเฮา กินต่่อเหมือนกันครับ  เพียงแต่ไม่มีคนนำมาเลี้ยงไว้ขายเหมือนทางเชียงใหม่  ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเอาต่อโดยการใช้ไฟเผาให้แม่ต่อตาย แล้วก็เอาลูกต่อที่อยู่ด้านในมานึ่งหรือคั่วกิน

** รังต่อที่เห็นในรูป ด้านในจะมี "รวงต่อ" เหมือนในรูปทางขวามือซ้อนกันอยู่หลายชั้นนะครับ ซึ่งลูกต่อก็จะอยู่ในรวงต่ออีกทีหนึ่ง

     ต่อกับแตนเป็นแมลงตระกูลเดียวกันนะครับ ต่างกันตรงที่ขนาด ลักษณะรัง และพิษสงเท่านั้น  โดยแตนจะทำรังเพียงชั้นเดียว(คล้ายรูปทางขวามือ) ในขณะที่รังต่อจะมี 2 ชั้น  คือ ด้านในเป็นรวงสำหรับเป็นที่อยู่ของตัวอ่อน(มีหลายรวงซ้อนกัน) และด้านนอกแม่ต่อจะทำรังหุ้มรวงที่มีลูกอ่อนเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง

     เวลาจะนำลูกต่อมาทำอาหาร ก็ต้องดึงลูกต่อออกมาจากรวงทีละตัวๆ จากนั้นก็นำไปนึ่งหรือคั่วให้สุก แล้วก็นำไปทำเมนูอาหารตามทีตนเองชอบได้ครับ

    อ้อ...ตัวอ่อนของแตนก็สามารถนำมาตำน้ำพริกได้เช่นกันนะครับ ป้าวิ

ไม่เคยขายเลยครับ

ไม่คิดว่าราคาจะแพงขนาดนี้

ที่ไร่มีหลายรัง ปกติที่บ้านเขากลัวกันมาก

ไม่คิดว่าเอามาทำน้ำพริกได้ด้วย

ตอนนี้ไม่ฆ่าสัตว์แล้ว ดีจะได้ไม่ต้องชิมน้ำพริกต่อ 555

  • ขอบคุณคุณเพลินมากนะคะ ...ไม่ผิดหวังเลย ทุกครั้งที่ถามคุณเพลินจะอธิบายแจ่มแจ้งมาก ตอนนี้ป้าวิเข้าใจอย่างแจ่มชัดถึงความสัมพันธ์ของรังทางซ้ายมือกับรวงทางขวามือ
  • แต่วิธีการนำลูกต่อมากินของคนอีสานบ้านเราดูออกจะโหดร้ายไปหน่อยนะคะ ...จุดไฟเผาแม่ให้ตายแล้วนำลูกไปกิน
  • ตอนเด็กๆ ป้าวิก็เคยแอบขโมยรังแตนตอนที่แม่มันไม่อยู่ นำไปดึงลูกแตนออกมากินจากการสอนของเพื่อนๆ ตอนนี้เลยถูกแตนมาเอาคืน เคยไปตัดใบกล้วยแห้งช่วงที่ยังต้นเล็กๆ เรี่ยดิน ถูกแตนทั้งรังต่อย พ่อใหญ่สอบอกให้ทายาหม่องเดี๋ยวก็หาย ปรากฏว่า เวลาผ่านไปป้าวิบวมทั้งตัวหน้าบวมจนจำตัวเองไม่ได้ ปากเขียว ไปถึงหมอๆ บอกว่าถ้าช้ากว่านี้ไม่เกินครึ่งชั่วโมงจะช็อคถึงตาย เพราะพิษเข้าสู่ร่างกายมากและจะเข้าถึงหัวใจ วันก่อนพ่อใหญ่สอตัดแต่งกิ่งเฟื่องฟ้าหน้าบ้าน ก็ถูกแตนต่อยเห็นรังเบ้อเร่อเลยค่ะ แต่แกแต่งตัวรัดกุมทั้งเสื้อแขนยาว ถุงมือ ถุงเท้า รองเท้าบู๊ท หมวกปิดคอเลยไม่เป็นอะไรมาก ต่างจากป้าวิที่นุ่งกางเกงขาสั้นเสื้อแขนสั้นรองเท้าแตะ แตนเลยต่อยไปทั่วทั้งตัวค่ะ

น่ากินจัง  เป็นตาแซ่บ

เขียนหนังสือ "อาหารพื้นถิ่น แดนดินล้านนา" ได้แล้วมั้งครับ พี่หนานเพลิน อักขณิช ;)...

..เมื่อ..ไร.."ชาวบ้าน..บ้านเรา..จะ..ผลิตใส่..กระป๋อง ไป..ขาย..แข่ง..กะ..ฝรั่ง.."..บ้างล่ะจ้ะ...ก่อน..ที่..ฝรั่งจะ..ทำฟรามหนอน..ใส่กระป๋องมา..ขาย..เมืองไทย..๕๕๕..เพราะ..เมืองไทย..อนาคต..จะเป็น..โรค..ฟาดฟู้ด.เ้อ้ย..ไม่ใช่..เป็นโรคขาด.โปรตีน น่ะอ้ะะ...

น่าสนใจตรงที่ การเลี้ยงยังไง ไม่กลัวมันต่อยเหรอครับ

สวัสดีครับ  อาจารย์ขจิต ฝอยทอง

 

* ที่บ้านแม่ตาดขาย กก.ละ 350 บาท  แต่ถ้าหากเอาไปขายตามตลาดราคาจะตก กก.ละ  500  บาทเลยนะครับ  โดยส่วนใหญ่เขาจะซื้อเป็นขีดครับ คนละ 2-3 ขีด ตามกำลังเงินที่มีอยู่ในกระเป่า

** น่าเสียดายที่ไร่ของอาจารย์อยู่ไกลเกิน  ไม่งั้นจะพามืออาชีพไปลุยละครับ  555

สวัสดีอีกรอบครับ  ป้าวิ  ไอดิน-กลิ่นไม้

 

* ทางเหนือหรือเชียงใหม่  เวลาเอาต่อหรือเก็บตัวอ่อนของต่อ เขาจะสวมชุดที่ทำขึ้นเป็นพิเศษนะครับ   โดยจะใช้มีดปาดรังต่อออกบางส่วน จากนั้นก็เอามือล้วงเอา "รวงต่อ" ที่อยู่ข้างในออกมา โดยในการเก็บครั้งแรกจะเหลือรวงต่อเอาไว้ด้านใน 1 รวง  เพื่อให้แม่ต่อได้เลี้ยงลูกต่อไปอีก....ประมาณหนึ่งเดือนจากนั้น ก็เก็บรวงต่ออีกครั้งหนึ่ง(ครั้งที่ 2) โดยใช้วิธีเดิม ซึ่งครั้งนี้รวงต่ออาจจะน้อยลง แต่ก็ยังคงเหลือรวงต่อเอาไว้บางส่วนเช่นกัน

  หลังจากดักแด้ต่อลอกคราบเป็นแม่ต่ออย่างสมบูรณ์แบบหมดแล้ว  คนเลี้ยงต่อก็จะไล่แม่ต่อให้หนีไป จากนั้นก็ตัดเอารังต่อมาทางแลกเกอร์ให้สวยงาม  แล้วก็นำไปขายให้กับคนที่สนใจ ในราคาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับขนาดของรังต่อ

** ทั้งต่อและแตนมีพิษร้ายเหมือนกัน  คนที่แพ้พิษต่อหรือแตน  หากไปถึงหมอช้า  ก็รอดยากนะครับ

    อ้อ...อาทิตย์ที่แล้ว  ก็มีชาวบ้านใกล้ๆ บ้านแม่ตาดถูกต่อกัดต่อยไปคนหนึ่งนะครับ  แกเป็นขี้เมา  พี่สาวกำลังทำลาบหมู  แกก็เลยอาสาไปเก็บฝักเพกา(ลิ้นฟ้า)หลังบ้านพี่สาวมากินกับลาบ  บังเอิญฝักเพกาตกใส่รังต่อที่อยู่บนต้นลำไย (ซึ่งแกไม่รู้มาก่อนว่าต่อทำรังอยู่บนนั้น ) ผลก็คือ แกโดนต่อต่อย 100 กว่าจุด  และตายในระหว่างที่ญาติๆ กำลังพาไปส่งโรงพยาบาลสันกำแพง....น่ากลัวมากๆ เลยครับ

สวัสดีครับ  คุณหมอ ทพญ.ธิรัมภา

 

* ฮ่วย! คุณหมออ้อก็มักของแปลกคือกันบ่ครับ?

** หากคุณหมอมายามบ้านแม่ตาดในช่วงนี้ รับรองจะได้กินเมนูนี้อย่างแน่นอนครับ  555

สวัสดีครับ  อาจารย์หน่อย Wasawat Deemarn

 

เรื่องเขียนหนังสืออย่างที่อาจารย์แนะนำมา ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มากๆ เลยนะครับ สำหรับคนเล็กๆ และชาวบ้านธรรมดาๆ อย่างผม

คงจะยุ่งยากและวุ่นวายมาก ทั้งการเก็บข้อมูล ทุนในการจัดพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์ และการวางจำหน่าย

เขียนเป็นบันทึกแบ่งปันกันอ่านแบบนี้ดีที่สุดแล้วละครับ ผมว่า   555

สวัสดีครับ  คุณยายธี

 

ตอนนี้ปริมาณผลผลิตต่อสำหรับการบริโภคในประเทศยังไม่เพียงพอเลยครับ คุณยาย  แถวๆ ภาคเหนือปริมาณยังไม่พอกับความต้องการบริโภคเลยครับ....ดังนั้น  ขอให้ฝรั่งรอไปก่อนก็แล้วกันนะครับ   555

สวัสดีครับ  พี่ พ.แจ่มจำรัส

 

ผมขอเล่าเรื่องวิธีการเลี้ยงต่อของชาวบ้านแม่ตาดพอคร่าวๆ ดังนี้นะครับ....เมื่อถึงช่วงต้นฤดูฝนต่อจะเริ่มสร้างรังเพื่อวางไข่ ช่วงที่รังต่อมีขนาดเท่ากำปั้น ชาวบ้านก็จะพากันไปค้นหาตามป่าตามเขา โดยใส่ชุดพิเศษสำหรับเอาต่อโดยเฉพาะ เมื่อเห็นเป้าหมายแล้ว ชาวบ้านก็จะเอาถุงพลาสติกไปคลุมรังต่อเอาไว้ แล้วก็ตัดกิ่งไม้ที่รังต่อเกาะอยู่นำมาผูกมัดไว้ตามกิ่งไม้ในสวนของตนเอง(ต้องอยู่ไกลจากที่พักพอสมควร) พอตกกลางคืนก็นำพลาสติกที่คลุมรังต่อออก แล้วต่อก็จะอยู่ตรงนั้น และขยายรังให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่คนเลี้ยงไม่ต้องให้อาหารแต่อย่างใดเลย

การเลี้ยงต่อทำได้ปีละครั้งเท่านั้น เฉพาะในช่วงฤดูฝนหรือช่วงเข้าพรรษา  บางคนเลี้ยงไว้  40-50 รังเลยก็มี  ถือเป็นรายได้เสริมอย่างงามสำหรับชาวบ้าน  แม้จะเสี่ยงและอันตรายมากหน่อยก็ตาม

ทั้งนี้  ในการเก็บต่อหรือเลี้ยงต่อ ต้องใช้ "ชุดพิเศษ" เท่านั้นนะครับ....  ไม่งั้นตายลูกเดียวครับ

เป็นความสามารถเเฉพาะบุคคลนะคะ...

อร่อยแต่อันตรายด้วยนะ....แถว ๆ บ้านคุณมะเดื่อไม่มีใครเลี้ยงต่อ  แต่มักหาเอาตาม

ธรรมชาติ ราคาก็แพงเหมือนที่คุณอักขณิศว่านี่แหละจ้ะ  ชาวบ้านจะนิยมกินกันมา เขาเอาไป

ผัดเผ็ด  หรือไม่ก็คั่วเกลือ เป็นเมนูอาหารป่า ที่หากินได้ยากด้วยจ้ะ

-สวัสดีครับ

-ตวยมาผ่อต่ัวเสือ..

-สมัยก่อนผมถูกต่อต่อยด้วยล่ะครับ..

-ดีที่รอดมาได้...ฮ่าๆๆๆ

-เอา"ต๋ำส้มบะขาม"มาแลกน้ำพริกต่อครับ...

-ขอบคุณครับ

ต่อนี้มันดุมากใช่ไหมครับ

น้ำพริกน่าจะอร่อย มันๆๆ 

ผมเองก็พึ่งรู้นะครับเนี่ยว่า...เขาเลี้ยงต่อขายกันด้วย  ขนาดคนเมืองแท้ ๆ ยังไม่รู้เรืองเลย

ได้ความรู้ในการเลี้ยงต่อเพิ่มอีกด้วย ขอชื่นชมมากครับ

สวัสดีครับ  อาจารย์ ดร. พจนา แย้มนัยนา

 

เป็นอย่างที่อาจารย์กล่าวมาจริงๆ แหละนะครับ

สวัสดีครับ  คุณมะเดื่อ

 

แสดงว่าที่ประจวบฯ ก็กินต่อเหมือนกันนะครับ  เพียงแต่ไม่มีใครเลี้ยงไว้ตามบ้านเหมือนที่บ้านแม่ตาดเท่านั้นเอง

สวัสดีครับ  คุณเพชรน้ำหนึ่ง

 

เห็นรูปตำบะขามแล้ว  รู้สึกเปรี้ยวปากขึ้นมาทันทีเลยนะครับ  555

สวัสดีครับ  พี่ยง

 

ต่อดุมากครับ  พิษร้ายถึงตายเลยนะครับ

แต่น้ำพริกต่ออร่อยมากๆ ครับ  

หากมีโอกาสก็ลองหาชิมดูนะครับ

สวัสดีครับ  "พี่หนาน"

 

ที่บ้านแม่ตาดบ้านผมมีเลี้ยงต่อขายหลายเจ้านะครับ  จนกลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว  เนื่องจากเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้านอย่างดีเลยละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท