ชีวิตที่พอเพียง : ๑๙๙๓. อุตสาหกรรมสร้างสรรค์


 

ผมไม่คิดว่าอุตสาหกรรมน้ำผึ้งไทยจะมีมูลค่าถึงปีละ ๔๘,๐๐๐ ล้านบาท   ตามข่าวใน นสพ. เดอะเนชั่น วันที่ ๑๔ ส.ค. ๕๖ หน้า 5A เรื่อง Beekeepers sweeten the world market by raising standards of Thai honey   เสียดายที่ค้นข่าวนี้ใน อินเทอร์เน็ต ไม่พบ    ต่อพบข่าวคล้ายคลึงกัน ที่นี่ 

 

 

ผมมองว่า นี่คืออุตสาหกรรมสร้างสรรค์อย่างแท้จริง    เป็นอุตสาหกรรมที่ไม่สร้างมลภาวะ แต่กลับส่งเสริมให้มีการรักษาสภาพแวดล้อม    ลดการใช้ยาฆ่าแมลง   และอื่นๆ   คือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างสรรค์ระบบนิเวศ

 

ทำให้ผมคิดถึงโจทย์วิจัย ว่าการเลี้ยงผึ้ง หรืออุตสาหกรรมเลี้ยงผึ้ง ก่อผลต่อระบบนิเวศอย่างไรบ้าง    น่าจะเป็นโจทย์วิจัยด้านระบบนิเวศ หรือด้านสิ่งแวดล้อม ที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์

 

 

วิจารณ์ พานิช

๑๔ ส.ค. ๕๖

 

 

หมายเลขบันทึก: 548137เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 09:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเคยเห็นผู้ที่มีอาชีพครู ประกอบอาชีพเลี้ยงผึ้งที่บ้าน เป็นธุรกิจของตัวเอง (ส่วนปัจจุบันนี้จะยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือไม่ยังไม่แน่ใจ) เป็นล่ำเป็นสันในระดับเอกชนรายหนึ่ง มีการนำผึ้งจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขนใส่รถกระบะเต็มคัน ไปกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้ที่จังหวัดห่างไกล (เพชรบูรณ์) ชาวสวนส้มเพชรบูรณ์ก็เต็มใจให้เอารังผึ้งเทียม เหมือนกระบะ ไปวางไว้ในสวนส้มเขียวหวาน นับว่าประโยชน์สมกัน เห็นแล้วน่าชื่นใจ (ความรู้นี้เป็นงานวิจัยระดับปริญญาโท)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท