JJ2013V9_9 ชุดนักศึกษา ยุคสังคมก้มหน้า คุณค่า และ สถาบัน ต้องคิดใหม่


ภาษาที่ใช้เจรจากัน โดยเฉพาะ หญิง ใช้ กับ ชาย หรือ หญิง กับ หญิง เหมือนในทีวี หรือ talk show คือ คำไทยสมัย พ่อขุนราม แทบทั้งนั้น คือ ku กับ mung

ชุดนักศึกษายุคสังคมก้มหน้า คุณค่า และ สถาบัน

 วานก่อนได้ดูทีวี มีการเสวนา เรื่อง ชุดนักศึกษายุคสังคมก้มหน้า  กับ การสะท้อนไปถึง เจตนา ของการตั้งสถาบันแห่งหนึ่ง เพื่อการเรียนรู้


 ไปไปมามา กลายเป็นเรื่องของ การบังคับ หรือ เสรี ในการแต่งกาย เพื่อเข้าขั้นเรียน

 จากประสบการณ์หลายๆสิบปีที่ผ่านไปจนเลยวัยของการคนทำงานประจำในสถาบัน

 จำเหตุการณ์วันหนึ่งได้ เมื่อคราวไปประเมินคุณภาพประจำปี ที่สถาบันแห่งหนึ่ง แถวแถว อุบลราชธานี

 เห็นนักศึกษาแต่งกายเรียบร้อย ชนิดนุ่งกระโปรงยาวถึงข้อเท้าสองท่านนั่งรออาจารย์อยู่หน้าห้องพักเป็นนานสองนาน

 พอสอบถามกับอาจารย์ท่านอื่นๆ ท่านแจ้งว่า

 "นักศึกษาสองท่านนี้ เขามารอบพบอาจารย์ฝรั่ง ที่มาสอน จากมหาวิทยาลัยฮาวาย เพราะ ท่านอาจารย์ไม่ยอมให้เข้าชั้นเรียน"

 ประเด็นก็คือว่า 

 "ท่านอาจารย์ชาวต่างประเทศ ท่านให้นักศึกษาที่นุ่งกระโปรงยาวทั้งสองท่านไปแต่งกายให้สอดคล้องกับเพศที่เป็นจริง ครับ"

 ท่านไม่อนุญาตให้แต่งกายไม่ตรงกับเพศกำเนิดนั่นเอง

 สมัยที่เล่าให้ฟังก็ไม่กี่ปีนี้เองก่อนยุค "สั้น แหวก แหก หลุด ลึก ปลิ้น นะครับ"

 เดี๋ยวนี้นอกจากชุดนักศึกษาที่กล่าวมาแล้ว

 "ภาษาที่ใช้เจรจากันในสังคมก้มหน้า โดยเฉพาะ หญิง ใช้ กับ ชาย หรือ หญิง กับ หญิง เหมือนในทีวี หรือ talk show คือ คำไทยสมัย พ่อขุนราม แทบทั้งนั้น คือ ku กับ mung"

 เลิกใส่ชุดนักศึกษา ที่อาจจะสะท้อนไปถึงสถาบัน ก็อาจจะดีนะครับ

 กระทรวงที่เกี่ยวข้องคงต้องมา คิดกันอีกหลายตั้ง จะทำอย่างไรที่จะยกระดับคุณภาพและมาตรฐานอุดมศึกษา ที่จะส่งไปถึง

 "ลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ออกไปไปรับใชัสังคม ชุมชน ประเทศชาติ ที่พูดจาภาษา ฅน และ เปลี่ยนจากสังคมก้มหน้า เป็นสังคมที่ เชิดหน้า ชูตา สามารถ อยู่สังคม AEC ได้อย่างภาคภูมิใจ"

JJ2013

หมายเลขบันทึก: 548130เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 10:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

แฟชั่น. มา ปล้ว ก็ไป. อยู่ได้ไม่นานหรอกค่ะ. อีกเดี๋ยวก็วนเวียน ไป-มา. สั้น -ยาว สลับกันไป แต่วัยเรียน ชุด นักเรียน นักศึกษา ไม่รัดแน่น และ. ยาวพอดี ิพอดี. น่าจะ ดี และ ปลอดภัยที่สุดในยุคนี้ สมัยนี้ นะคะอาจารย์หมอ JJ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ อาจารย์หมอ ;)...

ภาพไม่ชัดเจนครับมีภาพเพิ่มเติมไหมครับ เอิ๊กๆๆๆ

ไม่ใช่แค่ชุดนักศึกษาค่ะ คำพูดที่ออกมาจากปากนักศึกษาหญิงส่วนใหญ่ที่ได้ยินมีแต่คำว่า มึง และ กู และ .... สารพัดสัตว์ค่ะ ไม่เหมือนกับสมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้วแล้วค่ะ 

ครูหยินคิดเสมอว่า..สถาบันน่าจะออกระเบียบ

แล้วร่วมมือกันรักษาชื่อเสียงของสาถาบันให้มีความเป็นเอกลักษณ์

วันก่อนเข้าไปนั่งใต้ตึกฟักของม.อ. จิตใจก็ห่อเหี่ยวเห็นน้องเขาสวมชุดแล้วเวทนา

แต่ หลังจากนั้นไปอบรมที่จุฬา ช่วงซัมดมอร์

นิสิตแต่งตัวดูดีหน่อย ค่อยโล่งอก

เลยอภิปราบกับเพื่อนว่าทำไมจุฬา ฯ เขาคุมได้

เพื่อนบอกว่าอาจจะเป็นช่วงที่มีนิสิตน้อยก้อได้

เราต่างวัย...มีใจคิดต่างมุม...แล้วปลงตก

ยังมี นศ.รักชุด นศ. อยู่บ้างนะคะ ลูกสาวดิฉันเรียนจบ มธ.โดยสวมชุด นศ.ไปเรียน มากกว่า 90% ของวันเรียน จนเป็นเอกลักษณ์ประจำตัว แม่ถามว่าไม่อยากแต่งชุดสวยๆ บ้างเหรอ เพราะชุด นศ.ที่เธอสวมไม่ได้น่าหวาดเสียวอะไร เธอตอบว่าแต่งชุด นศ.น่ะดีแล้ว ประหยัด เอาตังค์ไปซื้อขนมกินดีกว่า ไม่ต้องแต่งตัวแข่งกัน

ผมว่าอยู่ที่สำนึกแห่งความพอดีพองามของแต่ละคนของนักศึกษา

แล้วเมื่อไหร่จะเลิกใส่ชุดนักศึกษากัยเสียทีครับ...

ขอบพระคุณมากครับท่านอาจารย์ JJ ชอบหลายประโยคที่ตอกย้ำความเหมาะสมของคุณลักษณะนักศึกษาไทยและสถาบันการศึกษาไทย ผมเองก็เป็นลูกพ่อขุนรามคำแหง สมัยมัธยมสาธิตรามฯ ที่เน้นความเป็นระเบียบวินัยของการแต่งกาย การแสดงมารยาท และการมีวัฒนธรรมการสื่อสาร ซึ่งปลูกฝังคุณค่าของคนก่อนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา

เท่าที่สังเกต รร.มัธยมและมหาวิทยาลัยในประเทศอาเซียนก็มีเอกลักษณ์ของความเป็นระเบียบของการแต่งกาย ประเทศไทยก็มีความเป็นระเบียบลดลงในปัจจุบัน  

  • เวลาเห็นนักศึกษาแต่งตัวในแนวที่ "ท่าน JJ" นำภาพมาให้ดู ก็อยากถามพวกเธอเหมือนกันค่ะว่า พวกเธอเข้ามาที่สถาบันนี้เพื่อจุดประสงค์อะไร
  • นึกถึงบทกวีของ...ไม่แน่ใจว่า เป็นของท่าน "วิทยากร เชียงกูล" หรือเปล่านะคะ ที่ "ไอดิน-กลิ่นไม้" ได้อ่านเมื่อประมาณสี่สิบกว่าปีมาแล้ว ความว่า "ฉันเยาว์ฉันเขลาฉันทึ่ง   ฉันจึงมาหาความหมาย ฉันหวังเก็บอะไรไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว"
  • สัปดาห์ที่แล้ว "ไอดิน-กลิ่นไม้" ก็ได้แชร์ประเด็นนี้กับน้องชายใน "Facebook" ค่ะ

ทำไมน้อง ๆ นักศึกษาถึงได้ชอบแต่งแบบนั้น หรือเป็นเพราะเพื่อนแต่ งตัวเองต้องแต่งตาม หรือตามแฟชั่น หรืออยากโชว์ความเปล่งปลั่งของเนื้อหนัง  แล้วทำไมตอนปี 1 ยังแต่งตามระเบียบได้ พอเป็นชั้นปีสูงขึ้น จึงอยากแต่งตามอิสระ น่าคิด

ไม่ใช่แต่เพียงชุดนักศึกษาที่เปลี่ยนไป อุดมการณ์ของความเป็นปัญญาชน ก็กำลังหดหายไปเช่นกัน ดังจะเห็นได้ว่า นศ. เดี่๋ยวนี้เน้นประกวดประขันกันมากกว่าการสิ่งใดๆ ถ้านึกภาพไม่ออก ก็รอดูตอนสมัครประกวดร้องเพลงรอบคัดเลือกของค่ายต่างๆ ดูสิครับ แทบจะนอนรอกันเลยทีเดียว

คำถามก็คือ..."ค่านิยม" เหล่านี้เกิดจากเด็กหรือเกิดจากผู้ใหญ่ ที่มุ่งหวังจะสร้าง(กอบโกย)ผลกำไรจากกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นตลาดที่ไม่มีรายได้ แต่มีกำลังซื้ออย่างบ้าคลั่ง....กันแน่...!!! (ทั้งนี้มิได้หมายรวมไปถึงเยาวชนที่ดีๆ ซึ่งก็ยังพอหาได้นะครับ แม้จะหายากสักนิดก็ตาม)

      เห็นแต่งเครื่องแบบกันสมัยนี้แล้วคิดว่าเลิกไปเลยน่าจะอุจาดตาน้อยกว่า เขาสำรวจกันมาแล้วว่าเครื่องแบบนักศึกษาหญิงไทยเซ็กซี่ที่สุดในโลก แล้วเราจะเก็บไว้ทำไมให้อายเขา

      เด็กมักจะให้เหตุผลว่าเขาจะแต่งตัวอย่างไรไม่เกี่ยวกับสมอง ผู้ใหญ่ก็น่าจะทบทวนได้แล้ว ธรรมศาสตร์เขามีทางออกโดยไม่บังคับ เด็กส่วนใหญ่ก็ยังมีชุดนักศึกษาไว้ใส่บ้างไม่ใส่บ้างขึ้นอยู่กับวิจารณญานของเขา ก็เป็นการประนีประนอมดีเหมือนกัน มหาวิทยาลัยใส่ใจเรื่องให้เขาใช้สมอง เรื่องงานที่ต้องรับผิดชอบดีกว่า  

เคยมีงานวิจัยหนึ่งออกมาว่า การแต่งกายที่ล่อแหลม แปรผันตรง กับระดับการใช้สมอง/ปัญญา ;)...

แปรผันตรงหรือ แปรผกผัน คะอาจารย์ ?

ถ้าแปรผันตรงก็หมายความว่า  ยิ่งแต่งกายล่อแหลมมาก  ยิ่งมีการใช้สมองมาก หรือกลับกัน แต่งกายล่อแหลมน้อย ใช้สมองน้อย

ถ้าแปรผกผัน หมายความว่า    แต่งกายล่อแหลมยิ่งมาก ใช้สมองยิ่งน้อย

 

 

สังคมเปลี่ยนไปจนน่าตกใจกับแนวคิดของเด็กๆ สังคมยุคก้มหน้าค่ะ

ขออภัย อาจารย์ GD ครับ

ต้องเป็น "แปรผกผัน" ครับ ;)...

...ควรสร้างวินัยให้เกิดในตนเอง...จะช่วยให้เกิดความรับผิดชอบตนเองได้มากกว่าแต่งเครื่องแบบอิงสถาบัน...ฉันอยู่สถาบัน...นี้นะ...คุณอยู่สถาบันอะไร?...การใช้คำพูดที่หยาบคาย พูดเสียงดังเอะอะ จนถึงยกพวกตีกัน ก็เป็นพฤติกรรมหนึ่งที่มีสาเหตุ...ฉันมีพรรคพวกมาก...ฉันอยู่สถาบันนี้นะ...ใครอย่ามายุ่งเกี่ยว...

ไม่ได้คอมเมนท์บันทึกค่ะ...

แต่แวะนำข่าวดีมาบอก และมา กราบขอบพระคุณอาจารย์ ที่สนับสนุน ทำให้มีวันนี้ค่ะ

เป็นหนึ่งใน "บุคคลเกียรติยศแห่งปี 2556" คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ผมทำงานในลาวมาบ้างขอแลกเปลี่ยนครับ

สตรีลาวทุกชนชั้นต้องนุ่งซิ่น เป็นชุดประจำชาติ ยกเว้น ตำรวจ ทหาร

แต่สังคมลาวดูทีวีไทย หนังไทย ร้องเพลงไทย ฯลฯ อิทธิพลการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยลาวจึงรับไปเต็มๆ เช่นกัน อยู่ที่เขต ลาวบาวติดต่อเวียตนามยังเปิดทีวีดูละคอนไทยเฉยเลย เชื่อว่าในใจ สาว หนุ่ม ก็ไหลไปไม่น้อยที่จะเอาอย่างสาว หนุ่ม ไทย ลองดูแรงงานข้ามชาติที่อยู่ฝั่งไทยก็ ไม่เบาเหมือนกัน.... แต่เมื่อข้ามฝั่งกลับไปบ้าน ก็เข้าสู่รูปแบบเดิมๆของเขา ทั้งนี้เพราะ

    สังคมลาวมีการบังคับใช้กฏหมายที่เข้มงวด ตรงไปตรงมา  ตำรวจหนุ่มหน้าตาบ้านนอกที่ยืนกลางถนนสามารถจับนายพลที่ทำผิดกฏจราจรได้  แม้กระนั้นผมก็ยังเห็น ที่เขื่อนริมแม่น้ำโขงพระนครเวียงจันทร์ ตรงอนุสาวรีย์ใหญ่นั่นน่ะ เช้าๆ เย็นๆจะมีคนมาเดินเล่น ออกกำลังกาย ฝรั่งต่างชาติรวมทั้งพี่ไทยก็ไปถ่ายรูปกันเยอะ อิอิ รวมผมด้วย ก็แอบเห็นสาวๆลาวผมยาวสลวยนุ่งกางเกงขาสั้นเดินนวยนาดอยู่บ้าง แต่น้อยมากๆ สักพักเธอก็หายตัวไป..
   ในชนบทลาวนั้นเขามี "กฏบ้าน" ที่รัฐอนุญาติให้หมู่บ้านตั้งกติกาขึ้นมาเองตามความเหมาะสมเพื่อปกครองสังคมหมู่บ้าน เพื่อการใช้ชีวิตร่วมกัน ยกตัวอย่าง ห้ามขี่มอเตอร์ไซด์เสียงดัง เวลามีงานแต่งงาน หรือประเพณีอื่นๆห้ามเปิดเครื่องเสียงดัง อาจจะอนุญาตในเวลาที่จำกัด ห้ามนุ่งขาสั้น ห้าม  ห้าม ห้าม ห้าม อะไรที่ละเมิด "ฮีต คอง" ไม่ได้ และเขามีตำรวจบ้าน มีแนวโฮม มีสหพันธ์แม่หญิง มีทหารบ้าน มี.... คอยสอดส่องดูแล และรายงานสิ่งที่ผิดปกติประจำวันแก่สายจัดตั้งของพรรค

หากใครทำผิด ตักเตือนครั้งที่ 1 ตักเตือนครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ฟ้องศาล ติดคุกเลย

เข้มงวดมาก และมีประสิทธิภาพ เรื่องการบังคับใข้กฏหมายของเขา
จึงไม่มีนักศึกษานุ่งสั้นเหมือนสาวอะโกโก้มาเดินในสถาบันเหมือนประเทศไทย
จึงไม่มีสาวๆนุ่งสั้นเดินในตลาด ในเมือง ในห้าง ในสถานที่ราชการเหมือนฝั่งไทยที่ไหลไปตามกระแสแฟชั่น...

จิตใจอาจจะไหลไปตามกระแสเพราะระบบสื่อสารมีไปทั่ว แต่การประพฤติปฏิบัติ ถูกกติกาสังคมบังคับไว้  การบังคับที่เข้มงวดก็ได้ผล อีกส่วนหนึ่งการเคารพนับถือต่อ "ฮีต คอง" ยังเข้มแข็ง ในพระบรมมหาราชวังที่นครหลวงพระบาง ผนังพระราชวังมีภาพวาดเป็นเรื่องราวของ "ฮีต คอง" ของสังคมลาว ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือ ฮีต คอง อันเดียวกับสังคมอีสานของเรา

นึกถึงคำกล่าวถึง "Generation Me" ที่กำลังกล่าวขวัญกันในปัจจุบันนะครับอาจารย์ครับ

การเป็นปัจเจกนั้นจะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เมื่ออยู่คนเดียว แต่ในสังคม ความเป็นปัจเจกนั้นต้องมีกติการ่วมกัน มิเช่นนั้นยุ่งแน่ๆนะครับอาจารย์ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท