เรื่องเล่าจากภาพ สู่ R2R ที่คลองท่อม


ชาวคลองท่อมต้องช่วยกันทำ ช่วยบอกว่า น้ำพุร้อนที่นี้ดี พิเศษแตก ต่างจากนำ้พุร้อนจากที่อื่นๆอย่างไร?

 

โรงพยาบาลคลองท่อม

 

     ผู้เขียนได้มีโอกาสมาร่วมสังเกตการณ์เวที โชว์แอนด์แชร์(Show and

Share) ที่โรงพยาบาลคลองท่อมได้จัดขึ้น เมื่อวันที่ 12 -13 ณ.

รพ.สต. เพหลา อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่

งานนี้เล็กแต่ใหญ่ในใจของผู้เข้าร่วมเวที เป็นการต่อยอดจากการจุด

ประกาย ในเวทีก่อนหน้านี้ ที่ อาจารย์เอก จตุพร วิศิษฎ์โชติอังกูร

ได้มา "คุย คิด คลำ" ชาวคลองท่อมได้ คลิก ในการเขียนเรื่องเล่าจาก

ภาพ ซึ่งเกิดผลงานเรื่องเล่าเป็นผลผลิตจากเวทีแรกมากมายหลายสิบ

เรื่อง  ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่าน 5 เรื่อง  ทุกเรื่องล้วนน่าสนใจ สอดรับกับ

ภาพที่นำมาประกอบ

 

 

 

 

บรรยากาศ สบายๆ สไตล์ อาจารย์เอก ที่เน้นความสุข ก่อนความรู้ 

 

 

      จากเรื่องเล่ามาสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือที่ผู้เขียนให้ความหมายใน

การเขียนไว้ว่า

"ผลัดกันเขียน  เวียนกันอ่าน  วานกันชม"

โชว์แอนด์แชร์(Show and Share) และเวทีครั้งนี้ก็เป็นการต่อยอด เรื่องเล่าจากภาพ ไปสู่งานวิจัยในงานประจำ R2R อาจารย์ เอก ชวนคุย ชวนคิด ชวนเล่า ชวนเขียน และชวนเหลาประเด็นเรื่องเล่าจากภาพมาสู่งานวิจัยที่เรียบง่าย ทุกคนทำได้ ด้วยบรรยากาศเวที  ที่ "เปิด เปลี่ยน"  คือเปิดความคิด เปลี่ยนความคิด ที่คิดว่า ไม่ทำ ไม่เป็น ไม่เอา ไม่ได้ มาสู่การค้นหาศักยภาพแห่งตัวตน ค้นหาคุณค่าในการทำงาน ที่พัฒนางานประจำให้ดียิ่งขึ้น จากความสงสัย "ไซรทีที่เป็นพันนี้" และอัยย่ะดีจ้าน"ไซรที  ที่เป็นพันนี้*"คือเริ่มจากปัญหามาสู่การวิจัย อัยย่ะดีจ้าน* คือการวิจัยในสิ่งที่เราทำดีแล้ว พัฒนาวิจัยให้เห็นดียิ่งๆขึ้น หากโรงพยาบาลคลองท่อมเป็นน้ำพุร้อน  ต้องทำให้เห็นว่า น้ำพุร้อนที่คลองท่อมดีกว่า น้ำพุสันกำแพง น้ำพุร้อนระนอง น้ำพุร้อนพัทลุงและน้ำพุร้อนอีกหลายๆแห่งในประเทศ

ชาวคลองท่อมต้องช่วยกันทำ ช่วยกัน

บอกว่า น้ำพุร้อนที่นี้ดี พิเศษแตก

ต่างจากนำ้พุร้อนจากที่อื่นๆอย่างไร?

 

*ไซรที  ที่เป็นพันนี้ = ทำไม่ถึงเป็นอย่างนี้

*อัยย่ะดีจ้าน         =โอโฮ ดีมากๆๆ

 

 

 

อาจารย์ เอก จตุพร  วิศิษฎ์โชติอังกูร

 

สถานที่จัดเวที  รพสต.เพหลา

 

หมายเลขบันทึก: 548126เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2013 07:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กันยายน 2013 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ขอบพระคุณ อาจารย์นเรศ

ที่นำมา มาให้ "เวียนกันอ่าน วานกันชม" 

- มาตั้งใจ ชม จริงๆ นะคะ

- และ สนใจ R2R มานานแล้ว  ( ที่ ม.มหิดล  พัฒนาไปมาก )  แต่ที่ จุฬาฯ.... ยังไม่ค่อย ให้ความสำคัญ ค่ะ อาจารย์

บันทึกนี้ ขอพูดว่า

"อัยยะดีจ้าน"......555 

-สวัสดีครับ..

-ผลัดกันเขียน เวียนกันอ่าน วานกันชม....

-ตามมาให้กำลังใจด้วยครับ..

-ขอบคุณครับ

เรียนอาจารย์ จีโอวาย งานวิจัย คำว่าวิจัย เราคิดว่าเป็นเรื่องของคนที่มีวุฒิ มีความรู้ ระดับปริญญา

แต่เมื่อมาได้ ฟัง อาจารย์เอก จำแนกแจกแจง ประเภทของการวิจัย  และการวิจัยในงานประจำ ไม่ยากอย่างที่คิด ลูกจ้างคนงานก็ทำวิจัยได้  เป็นการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา เปลี่ยนแปลงและปรับปรุง งานที่ทำอยู่ 

เรียนคุณเพชร  เรื่องเล่าจากภาพมาสู่โจทย์วิจัย เป็นการพัฒนาต่อยอดการเขียน มาสู่การแก้ปัญญหา

เขาทำดูง่ายๆแต่ได้คุณภาพเน้อะ

 

ขอบคุณแขกผู่้มาเยือนและสร้างสีสรรค์ คำคม ให้ชาวคลองท่อมค่ะ  วันน้ีได้เรียนรู้การถอดเรื่องเล่า มาสู่การทำงานวิจัย หลายคนเปิดมุมมองความคิดการทำงาน ของเพื่อนๆ ได้เห็นความงามที่ซ่อนอยู่ภายใต้เงื่อนไขต่างๆมากมายของระบบสา'สุขที่ลดทอนคุณค่าการทำงานของคนทำงาน หลากหลายเรื่องราวดีงามบ่งถึงความงดงามในใจของคนทำงานผ่านงานเขียนและภาพถ่าย 

ขอเป็นกำลังใจให้แขกผู้มาเยือน สำหรับสิ่งดีๆที่ตั้งใจตอบแทนแผ่นดินบ้านเกิดตามความตั้งใจค่ะ

 

น้องเต่า เคยได้ร่วมเวที กับ อ.เอกบ้างหรือยัง 

อ.เอก จัดการความสุข ก่อนจัดการความรู้ เมื่อสุขก็ตื่นรู้ พร้อมรับเรื่องราวที่เรียนรู้

เยี่ยมมากครับท่านผู้เฒ่า

ซุนวูกล่าวว่า.......

...."ภูมิประเทศก่อให้เกิดการวัด การวัดก่อให้เกิดปริมาณ ปริมาณก่อให้เกิดการหยั่งคาดการณ์ การหยั่งคาดกาณ์ก่อให้เกิดการเทียบเคียง การเทียบเคียงก่อให้เกิดชัยชนะ".......

นั่นคือตำราพิชัยสงครามที่มีวัตถุประสงค์คือชัยชนะ

อุดมกาณ์ของการทำงานคือมุ่งสูความเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องชนะใครเพราะต้องทำงานร่วมกัน แต่ชัยชนะหรือความเป็นเลิศใช้กระบวนเดียวกันได้คือการวิจัย การประเมินว่าผิดหรือถูกต้องเห็นความแตกต่างจากคำตอบ

 

 

 

เรียนน้องเต่า  อาจารย์ เอกคุยให้เห็น ความง่ายของการทำR2R จากโจทย์ เรื่องเล่าด้วยภาพ

ซึ่งเป็นการพัฒนาทางความคิดที่ทำให้ทุกคนอยากทำ และทำได้ ซึ่งอาจารย์เอก ให้กำลังใจตลอด

 

ขอบคุณ wjar และพี่น้องชาวคลองท่อมทุกท่าน ที่ให้ความกรุณา แก่ผู้เฒ่า ได้ร่วมแลกเปลี่ยนรู้ ด้วยความสุขสนุกสุขสรรค์ และได้มีโอกาสอ่านงานเขียนเรื่องเล่าจากภาพ  เสียดายเวลาน้อย ไม่ได้อ่านงานของทุกคน

โอกาสหน้ามีเวทีแบบนี้จะขอมาเรียนรู้อีก

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

ขอบคุณ อ.จำรัส เจริญเวช มากๆครับ

ชอบข้อคามที่โพส

ขอบคุณ น้องสิงห์ อ.เอก บล็กเกอร์ สุดคนึงรุ่นแรกเริ่มๆ GotoKnow จะจะจัดงาน ฟอรั่มอีก จะได้พบปะกัน

เรียนอาจารย์ จำรัส เรียนรู้ตำราซุนหวู่ จากอาจารย์ 

"ซุนวูกล่าวว่า.......

...."ภูมิประเทศก่อให้เกิดการวัด การวัดก่อให้เกิดปริมาณ ปริมาณก่อให้เกิดการหยั่งคาดการณ์ การหยั่งคาดกาณ์ก่อให้เกิดการเทียบเคียง การเทียบเคียงก่อให้เกิดชัยชนะ".......

นั่นคือตำราพิชัยสงครามที่มีวัตถุประสงค์คือชัยชนะ

อุดมกาณ์ของการทำงานคือมุ่งสูความเป็นเลิศ ไม่จำเป็นต้องชนะใครเพราะต้องทำงานร่วมกัน"

ขอนำขอความนี้ไปใช้ครับ

เช่นเดียวกับ นำคำพูดของ ขงเบ้งมาใช้

"คนที่ประสาทตาดี คือคนที่มองเหตุการณ์ในอนาคตออก

คนที่ประสาทหูดีคือคนที่ ได้ยินเสียงคนที่ไม่ได้พูด"....ตัดทอนแปลงข้อความมาใช้เป็นประจำ

ขอบคุณอาจารย์ ที่มาเติมเต็มความรู้ 

เรียน ท่านวอญ่า

ทุกคนมองเห็นว่า บันทึกของ ซุนวู และคำกล่าวของ ขงเบ้ง คือปรัชญา

แต่สิงที่ทุกคนเห็นแล้วและไม่บอกใคร

-บันทึกของ  ซุนวู เป็นแค่วัตถุดิบ ต้องเอาไปปรุง ประยุกต์ หรือรีไซเคิ้ล แล้วใช้เองตามอัธยาศัย

-แต่ของ ขงเบ้ง ปรุงเสร็จ บรรจุเสร็จ กินได้เลยไม่ต้องปรุงแต่ให้เสียอรรถรส

โพสน์นี้ประมาณว่าเป็นการเอามะพร้าวไปขายทับสะแก 

 

แวะมาทักทายลุงวอก่อนไปทำงานวันจันทร์ที่แสนจะหน่ายยยย...จ้ะ

เรียน อาจารย์ เอก  หากได้พบปะพูดคุยกับอาจารย์ จำรัส คงได้แลกเปลี่ยนการพูดคุยในหลายๆประเด็น  หากบุญพาวาสนาส่งคงเวียนมาพบกัน

เรียนอาจารย์ จำรัส 

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทำให้เกิดปัญญา การเกิดปัญญาทำให้เข้าใจ ในสิ่งที่ได้เรียนรู้

ขอบคุณที่ได้เรียนรู้

สวัสดีน้องมะเดื่อ 

วันจันทร์ ที่แสนจะหน่าย พอได้ไปเจอนักเรียนก็จะหนุก

สวัสดี ท่านเกษตร ยะลา  หายไปนาน น่ะครับ

ผมเองก็ว่างเว้นจากบันทึกประเด็นเกษตรนาเหมือนกัน

เพราะงานโรงพยาบาลมันเร่งมือ ทุกวัน

สบายน่ะท่าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท