หลักเสรีภาพในการทำสัญญา


ในการที่บุคคลแต่ละคนนั้นจะได้เข้าทำสัญญากันนั้น ในทางกฎหมายก็ไม่ได้มีการห้ามที่จะไม่ให้บุคคลเข้าเป็นคู่สัญญากัน แต่กับเปิดทางให้โดยมีอิสระเสรีภาพที่บุคคลเหล่านั้นจะเข้ามาเป็นคู่สัญญากันหรือที่เราเรียกกันว่า "หลักเสรีภาพในการทำสัญญา"(Freedom of Contract)

ในหลักนี้นั้นก็เป็นหลักหนึ่งที่อยูภายใน "หลักอิสระในทางแพ่ง"(Private of Autonomy) ด้วยซึ่งเป็นหลักที่วางเอาไว้โดยเป็นตัวเคารพการแสดงเจตนาของคู่สัญญาที่จะเข้าทำสัญญาระหว่างกัน

ซึ่งในหลักเสรีภาพในการทำสัญญานี้มีความหมายไปในทางใด เป็นหลักที่กล่าวถึงการเริ่มต้น และดำเนินต่อไป หรือแม้แต่จะระงับเสียก่อนมีสัญญาก็ได้ ซึ่งเป็นในส่วนที่อยู่ในระหว่างที่ก่อนสัญญานั้นจะได้มีผลบังคับ(สัญญาเกิด) และในหลักนี้นั้นก็ได้ให้ความอิสระแก่บุคลที่จะเลือกตัวคู่สัญญา หรือมีอิสระเลือกในวัตถุประสงค์ในสัญญา หรือแม้แต่มีอิสระที่จะเลือกแบบของการทำสัญญา และแม้แต่วิธีการทำสัญญาเองก็มีอิสระว่าจะเลือกทำโดยลักษณะไหนก็ตาม

และในหลักเสรีภาพในการทำสัญญานี้นั้นเกิดขึ้นมาเพื่ออะไร หลักนี้เกิดขึ้นมาเพื่อที่จะเข้าไปคุ้มครองตัวเจตนาภายใน(True,full and free) หรืออาจะกล่าวได้ว่ากฎหมายมีเจตนาที่จะเข้าไปคุ้มครองเสรีภาพในการตัดสินใจซึ่งตรงจุดนั้นก็เป็นจุดที่อยู่ระหว่างก่อนการเกิดของสัญญา

ด้วยเหตุนี้เราจึงเห็นได้ว่าหลักเสรีภาพในการทำสัญญานี้นั้นจะกว้างมากและในหลักนี้เองรัฐก็ไม่สามารถที่จเข้ามาแทรกแซงได้เพราะถ้าหากเข้ามาแทรกแซงก็จะเป็นการขัดกับหลักเสรีภาพในการทำสัญญาได้

ดังนี้หลักนี้ถ้าหากกล่าวกันตามตรงแล้วนั้นก็จะเป็นหลักที่กว้างและอาจจะก่อให้เกิดปัญหาได้หากไม่มีการวางกรอบป้องกันการใช้เสรีภาพในการทำสัญญานี้

เมื่อเป็นเหตุเฉกเช่นนี้แล้วนั้นก็จะต้องมีหลักการที่จะมาจำกัดหลักเสรีภาพในการทำสัญญาให้อยู่ในกรอบด้วยซึ่งก็ได้แก่

๑. หลักความสุจริต ซึ่งหลักนี้จัป็นหลักที่ล้อมกรอบหลักเสรีภาพในการทำสัญญาไว้ชั้นหนึ่งโดยที่เป็นหลักที่มองถึงความให้ความเป็นจริงในข้อเท็จจริงที่คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งควรจะได้รู้ เช่นในการเจรจานั้นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้บอกข้อเท็จจริงในจุดประสงค์ของการที่เจรจากันโดยหวังว่าคู่สัญญานั้นจะเข้ามาทำสัญญาและรู้ว่าถ้าหากคู่สัญญาอีกฝ่ายนั้นได้รู้ถึงข้อเท็จจริงนี้ก็จะไม่เข้าทำสัญญาเป็นแน่แท้เลยจำเป็นที่จะต้องปกปิดเอาไว้ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการใช้หลักเสรีภาพในการทำสัญญาโดยขัดกับหลักสุจริตนั่นเอง

๒.หลักความไว้เนื้อเชื่อใจ ในหลักนี้นั้นเป็นหลักที่ไปวางครอบหลักเสรีภาพในการทำสัญญาเอาไว้ก็เพื่อเป็นหลักที่กำหนดไว้ว่าตัวผู้ที่จะมาเป็นคู่สัญญากันนั้นไม่กระทำการในเรื่องเสรีภาพในการทำสัญญาเป็นผลให้อีคู่เจรจาต้องได้รับผลเสียหายก่อนที่จะมีการทำสัญญากันเกิดขึ้น เช่น ในกรณีที่คู่เจรจาอีกฝ่ายนำเอาความลับของคู่เจรจาไปบอกกล่าวแก่บุคคลภายนอก หรือ เป็นการเจรจาเคียงคู่ เป็นต้น

๓.หลักความยุติธรรม ซึ่งเป็นหลักที่วางเอาไว้

หมายเลขบันทึก: 54786เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2006 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยังมีบทที่ต้องเขียนอีกเด๋ยวจะกลับมาแก้ไขบทความครับ เพราะตอนนี้ยังไม่เป็นบทความที่สมบูรณ์

กฎหมายแพ่งกับกฎหมายอาญาการต่างกานอย่างไรค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท