ขับเคลื่อน PLC ที่ สพป. กาฬสินธุ์ เขต 1_15 : โรงเรียนนาจำปา


ตอนบ่ายวันนี้ (28 สิงหาคม 2556) เราอยู่ที่โรงเรียนนาจำปา ต.นาจำปา อ.ดอนจาน  มีความเห็นนำมาบันทึกกันลืม ก่อนจะนำรูปมาประกอบเป็นบันทึกการทำงานต่อไปครับ

ข้อสังเกตต่อโรงเรียนนาจำปา

  • พรุ่งนี้โรงเรียนจะพาเด็ก ป.1-ป.4 ไปทัศนศึกษาที่ภูผาเทิบ  วันนี้ตอนบ่ายจึงไม่มีการเรียนการสอน นักเรียนกำลังเล่นกีฬาตระกร้อและวอลเล่บอลล์กันอย่างสนุกสนาน โดยมี อ.วันชัย นั่งเป็นสังเกตการอยู่ 
  • ครูผู้หญิงทั้งหมดกำลังเตรียมตัว คือเตรียมป้ายชื่อ และสิ่งต่างๆ สำหรับการเดินทางพรุ่งนี้ อยู่ในห้องพักครู 
  • ครูอาคม นักศึกษาฝึกสอน กำลังสอนเด็ก ป. 1 ที่กำลังเรียนอย่างขมักเขม้น เด็กๆ กำลังเขียนตัวอักษรภาษาไทย 44 ตัว และภาษาอังกฤษ 26 ตัว ลงในสมุด แล้วนำมาให้ครูอาคมตรวจ  ครูอาคมกำลังตรวจงานของเด็กทีละคนๆ  เด็กหลายคนนอนเขียนกับพื้น บางคนนั่งก้มเขียน 
  • ผมสังเกตว่า เด็กๆ เขียนตัวหนังสือไม่สวย ไม่อยู่ในบรรทัด ไม่ถูกต้องหลายตัว.... ไม่สอดคล้องกับที่ครูปนัดดาบอกว่าท่านสนใจตรวจการบ้านของเด็กทุกคนอย่างละเอียด....
  • ครูวันชัยกับครูจิรันธนิน กลับมาทำอย่างที่ท่านได้นำเสนอไว้คราวที่ได้อบรมที่มหาสารคาม คือ กลับมาคัดกรองเด็กออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ มีจำนวน 24 คน และกลุ่มที่อ่านไม่คล่องเขียนไม่คล่อง พอได้แต่ไม่พอใจจำนวน 44 คน แล้วจัดเวรครูเข้าสอนพิเศษทุกวันจันทร์และวันพุธ .... ครูจิรันธนินบอกว่า ได้ผลดี ท่านยกตัวอย่างเด็กชายคำวิสัย ที่เปลี่ยนแปลงพฤิตกรรม และผู้ปปครองก็พอใจ ....
  • ครูไม่มีการบันทึกการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมของเด็กรายบุคคล มีการตรวจเช็คว่าเด็กมาเข้าเรียนพิเศษหรือไม่ และมีการประเมินด้วยเครื่องมือเชิงปริมาณทั่วไป .....
  • มีศูนย์บริบาลเด็กเล็กอยู่ในพื้นที่บริเวณโรงเรียน 
  • เด็กๆ กล้าคุย เราเรียกว่า "ไม่กลัวคน" แต่ไม่ค่อยเป็นระเบียบนัก รวมทั้งห้องเรียน  "ครูที่พูดไม่ได้" สามารถพัฒนาได้อีก 

ข้อคอมเมนต์

  • ครูอาคมควรเน้นการสอนด้วยวิธีการทำให้เห็น "ตัวอย่างที่ดี" ด้วย เพราะเด็กๆ จะเรียนรู้ด้วยการสังเกตตัวอย่าง และซึมซับจากครู เช่น การคัดตัวบรรจงลงบนกระดาน สวยงาม อยู่ในกรอบ  และเวลาตรวจงานเด็กๆ ต้องสนใจในรายละเอียดเหล่านี้ด้วย .... เพื่อฝึกความเป็นระเบียบ สะอาด 
  • ควรเพิ่มกิจกรรมเตรียมเด็กให้ "นิ่ง" มากขึ้น หมายถึง การฝึกกิจกรรมที่จะทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น เพราะสังเกตจากงานของเด็ก ป. 1 (ชั้นอื่นๆ ไม่ได้นำมาพิจารณา) เด็กไม่กลัวคน กล้า แต่ดื้อ "ไม่นิ่ง" 
  • การทำ PLC ของครูวันชัยกับครูจรันธนินกับเพื่อนครู เพื่อแก้ปัญหาการอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีมาก ท่านอาจารย์บอกว่าสำเร็จผลบ้างแล้ว อยากให้ทำต่อไป ... มีวิธีหนึ่งที่สำคัญและได้ผลดีคือ ใช้เด็กกลุ่มที่ 3 คือเด็กเก่ง มาช่วยสอนเด็กอ่อนด้วย จะทำให้เด็กเก่งๆ ขึ้น เด็กอ่อนดีขึ้น เกิดระบบพี่สอนน้อง เพื่อนสอนเพื่อน 
  • ที่นี่ยังไม่มีการสอนโครงงานบูรณาการ .... จึงอยากเชียร์ให้มี ผมก็อธิบายไปเยอะเหมือนๆ กับที่อธิบายให้โรงเรียนด่านใต้วิทยาฟัง
  • ที่นี่เด่นเรื่องการสอนแบบ "ครอบครัว" ครูเป็นกันเองกับเด็กๆ น่าจะเป็นจุดสำคัญที่จะพัฒนาไปสู่ รูปแบบการพัฒนาทักษะอนาคตของบริบทตนเองได้ 

สู้ๆ ครับ 

หมายเลขบันทึก: 547449เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2013 03:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2013 03:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท