สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการทำโครงงานคอมพิวเตอร์ ม.6/2


สวัสดีค่ะ นักเรียนชั้น ม.6/2 โรงเรียนอุทัยวิทยาคม
     การเรียนการสอนวิชาโครงงานคอมพิวเตอร์ ชั้น ม.นักเรียนปฏิบัติโครงงาน ตามแนวคิด บันได 5 ขั้น ของการจัดการเรียนการสอนโรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งในขั้นที่ 5 นักเรียนต้องมีการบริการสังคมและจิตสาธารณะ (Public Service) ให้นักเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ได้รับจากการไปสัมภาษณ์ รวบรวมข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเขียนสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับจากภูมิปัญญาท้องถิ่นฯในเรื่องที่นักเรียนจัดทำโครงงาน พร้อมใส่ภาพประกอบให้สวยงาม เป็นการเผยแพร่แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ อันเป็นการช่วยกันอนุรักษ์และส่งเสริมให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นคงอยู่คู่เมืองอุทัยธานีต่อไป

 

 

ดังตัวอย่าง นักเรียนทำโครงงานเรื่อง "ยาหอมหมอวิรัติ" ให้นักเรียนบันทึกส่งดังนี้ค่ะ

1. เขียนสรุปองค์ความรู้เป็นความคิดรวบยอดบอกลักษณะสำคัญ/กระบวนการทำงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. ส่งภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นักเรียนจัดทำ 1 ภาพ
3. พิมพ์ชื่อกลุ่ม ชื่อ-สกุล เลขที่ ของสมาชิกทุกคน และที่อยู่เว็บไซต์ ที่ด้านล่างของภาพภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เช่น

การสรุปองค์ความรู้จากการศึกษาเรื่อง "ยาหอมหมอวิรัติ

           จากการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ยาหอมหมอวิรัติ พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าเป็นยาที่มีสรรพคุณมากมาย เช่น แก้อาเจียน หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ คนต่างจังหวัดนิยมมากถึงขนาดมาซื้อที่จังหวัดอุทัยธานีโดยเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์คนจะเยอะเป็นพิเศษ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของ ยาหอมหมอวิรัติมาเผยแผ่ลงในเว็บไซต์ เพื่อนเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ยาหอมหมอวิรัติ

สมาชิกผู้จัดทำ

        1. นายฐนกร มณฑป                 เลขที่ 2
        2. นายภัชรพงศ์ สวนศิลป์พงศ์  เลขที่ 14
        3. นายศรันณ์ อนุสรณ์                เลขที่ 17

         ที่อยู่เว็บไซต์ : 202.143.169.20/utw2556/5662group12

 

หมายเลขบันทึก: 547388เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2013 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กันยายน 2013 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เห็นยาหอมแล้วน่าสนใจ

พี่ครูหายไปนานมากๆๆๆ

ชนะศิกานต์ เทียมพิทักษ์

การสรุปองค์ความรู้เรื่อง"สปันจ์เบเกอรี่"

จากการศึกษาค้นคว้า"สปันจ์เบเกอรี่" พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการบริการ

ด้านอาหาร เครื่องดื่มและเบเกอรี่อีกทั้งยังเป็นร้านที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆของคนทั้งใน

และต่างจังหวัด มีทั้งผัดไทยสูตรดั้งเดิมที่สืบทอดมากจากคุณแม่ของเจ้าของร้าน และมีเบเกอรี่สูตรเฉพาะ

ที่เจ้าของร้านคิดค้นสูตรขึ้นมาเองเป็นระยะเวลานานที่เฝ้าดูสูตรขนมจนได้สูตรที่พอดีจึงมาเปิดร้านจนได้รับ

ความนิยมมาจนถึงปัจจุบัน

sponge

สมาชิก

1.ตระการ อัมรนันท์ เลขที่ 5

2.พิทวัส พัทนกุล  เลขที่ 12

3.ชนะศิกานต์ เทียมพิทักษ์  เลขที่ 27

4.ภูริชญา ทัศนางกูร เลขที่ 37

ที่อยู่เว็บไซต์ http://202.143.169.20/utw2556/5662group7/

นางสาวนภเกตน์ โห้สงวน เลขที่ 33

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานีเรื่อง ขนมใส่ไส้ป้าสาว

จากการศึกษาค้นคว้า เรื่อง ขนมใส่ไส้ พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันขนมใส่ไส้เป็นขนมไทยโบราณที่แยกออกเป็นสองส่วนโดยแยกออกเป็นส่วนตัวแป้งและตัวไส้ ซึ่งมีรสชาติที่แตกต่างกันมีความหวานของไส้และความมันและความเค็มของตัวแป้งที่ตัดกันอย่างลงตัว กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของ ขนมใส่ไส้ป้าสาวของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซ์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไป

ขนม

สมาชิก

นายนครัตน์ สั่งสอนอาตม์ เลขที่ 7

นางสาวนพวรรณ แย้มศักดิ์ เลขที่ 32

นางสาวนภเกตน์ โห้สงวน เลขที่ 33

ที่อยู่เว็บไซต์ http://202.143.169.20/utw2556/5662group10/

นางสาวพรรณพร งามสมกลิ่น ม. 6/2

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์ 
เรื่อง กล้วยทอดหน้าวัดพิชัย

กล้วยทอดหน้าวัดพิชัย พบว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เนื่องจากสมัยก่อนนั้นนิยมดัดแปลงอาหารกันอย่างแพร่หลายรวมถึงในยุคปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เด็กเล็ก ๆ จนถึงผู้ใหญ่กล้วยทอดหน้าวัดพิชัยก็ยังเป็นที่นิยมของลูกๆค้าในวัยต่างๆมากมาย และกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวต่างๆของกล้วยทอดหน้าวัดพิชัยมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของจังหวัดอุทัยธานีเพื่อที่จะเป็นการอนุรักษ์และเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านนี้ อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไปจากแบบการประเมินระดับความพึงพอใจบอกได้ว่ากล้วยทอดหน้าวัดพิชัย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีสมควรที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นเหมาะแก่การประกอบอาชีพเสริม เนื่องจากกล้วยทอด ทำมาจากแป้งที่ที่ผสมเอง จึงมีความความกรอบหอมอร่อย แต่ควรที่จะปรับปรุงรูปแบบให้แปลกใหม่ เพราะรูปแบบเป็นรูปแบบดั้งเดิม

 

กล้วยทอดหน้าวัดพิชัย

สมาชิก

1.นางสาวพรรณพร   งามสมกลิ่น    เลขที่ 34

2.นางสาววิไลวรรณ  ดีอ่ำ                เลขที่ 41 

3.นางสาวอภิชญา    อินทโลหิต      เลขที่ 42

3.นางสาวไอรดา      คงศรีแย้ม        เลขที่ 43

ที่อยู่เว็บ   http://202.143.169.20/utw2556/5662group9/

 

 

นางสาวศุภลักษ์ พุ่มพวง ม.6/2

การสรุปองค์ความรูปจากการศึกษาเรื่อง "ขนมกล้วยป้ายุ้ย"

   จากการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เรื่อง ขนมกล้วยป้ายุ้ย  พบว่าเป็นภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มีมาช้านานตั้งแต่อดีตและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เนื่องจากสมัยก่อนนั้นนิยมทำขมทานกันเองภายในบ้านหรือจะทำในโอกาสสำคัญตางๆกันอย่างแพร่หลายรวมถึงในยุคปัจจุบันนี้ ตั้งแต่เด็กเล็กๆจนถึงผู้ใหญ่ขนมกล้วยก็ยังเป็นที่นิยมของลูกๆค้าในวัยต่างๆมากมาย และกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวต่างๆของขนมกล้วย มาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี เพื่อที่จะเป็นการอนุรักษ์และเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ภูมิปัญญาของชาวบ้านนี้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไป จากแบบการประเมินระดับความพึงพอใจบอกได้ว่าขนมกล้วยป้ายุ้ยเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ดีสมควรที่จะนำไปเผยแพร่ให้กับผู้อื่นเหมาะแก่การประกอบอาชีพเสริมเนื่องจากขนมกล้วยมีความอร่อยและสามารถที่จะปรับปรุงรูปแบบให้แปลกใหม่เพราะรูปแบบเป็นรูปแบบดั้งเดิม

ขนมกล้วย

สมาชิกผู้จัดทำ

1.นายธนภัทร แกล้วเกษตรกรรม เลขที่ 6

2.นางสาวณัฐณิชา ชินชูศักดิ์ เลขที่ 30

3.นางสาววิภาวรรณ อบกลิ่น เลขที่ 40

4.นางสาวศุภลักษ์ พุ่มพวง เลขที่ 45

ที่อยู่เว็ปไซต์ : http://202.143.169.20/utw2556/5662group2

นายเกรียงไกร ทองโอภาส ม.6/2

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เรื่อง ขนมโตเกียว

                   จากการศึกษาค้นคว้า "ขนมโตเกียว" พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่ช้านานตั้งแต่ในอดีต

และได้สนืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าขนมโตเกียวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มผู้บริโภคในหลาก

หลายวัย

เนื่องจากขนมโตเกียวเป็นขนมที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ทั้งระยะเวลาในการทำที่เร็ว

จึงทำให้ผู้คนในสมัยนี้จึงได้เป็นที่นิยม และมีความสะดวกต่อการบริโภค

กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องของขนมโตเกียวของจังหวัดอุทัยธานีมาเผลแพร่ในเว็บไซต์

เพื่อการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญานี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

11

สมาชิก

1.นายเกรียงไกร    ทองโอภาส     เลขที่  1

2.นายปนัสชัย   สีไพสน      เลขที่  10

3.นายพงศิลฏ์   เดชอินทร์   เลขที่  11

4.นายรัฐนนท์   สุขสุวานนท์   เลขที่  21

ที่อยู่เวบไซต์ : 202.143.169.20/utw2556/5662group8

นางสาวขวัญเดือน ลิ้มอ่อง

          องค์ประกอบของ "ขนมครก" มีกะทิและแป้งเป็นส่วนประกอบหลัก ทั้งสามารถเป็นของทานเล่นหรือเป็นของที่ทานเพื่อให้อยู่ท้อง เนื่องจากสมัยก่อนขนมครกมีคนขายน้อยและเป็นขนมที่มีความนิยมของทุกเพศทุกวัย ทำให้การขายขนมครกดีมากเพราะขนมครกเป็นทั้ง ขนมและอาหาร ทั้งยังมีประโยชน์ตรงตามโภชนาการ มีทั้ง โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และวิตามิน อีกด้วย และขนมครกป้าสายยังมีความ สะอาด อร่อย และยังถูกหลักอนามัยกลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของขนมครกป้าสายของจังหวัดอุทัยธานีมาเผยแพร่ในเว็บไซต์ เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยูคู่กับจังหวัดอุทัยธานี อยู่คู่กับสังคมไทย และอยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ขนมครก ป้าสาย

สมาชิก  1. นายวรโชติ  วัฒนะเขตการณ์  เลขที่ 15

          2. นางสาวกัญญารัตน์  บุญพา   เลขที่ 26

          3. นางสาวขวัญเดือน  ลิ้มอ่อง   เลขที่ 28

          4. นางสาวมณีรัตน์     จุลขันธ์ เลขที่ 39

ที่อยู่เว็บไซต์  http://202.143.169.20/utw2556/5662group5/

นาย ศรัณย์ อนุสรณ์

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เรื่อง ยาหอมหมอวิรัติ

จากการศึกษาค้นคว้าเรื่อง ยาหอมหมอวิรัติ พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมานานตั้งแต่อดีต และสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน พบว่าเป็นยาที่มีสรรพคุณมากมาย เช่น แก้อาเจียน หน้ามืดตาลาย วิงเวียนศีรษะ คนต่างจังหวัดนิยมมากถึงขนาดมาซื้อที่จังหวัดอุทัยธานีโดยเฉพาะวันเสาร์ อาทิตย์คนจะเยอะเป็นพิเศษ กลุ่มของข้าพเจ้าจึงนำเรื่องราวความเป็นมาของ ยาหอมหมอวิรัติมาเผยแผ่ลงในเว็บไซต์ เพื่อนเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ให้อยู่คู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบไป

ยาหอม

 

สมาชิกผู้จัดทำ

        1. นายฐนกร มณฑป                 เลขที่ 2
        2. นายภัชรพงศ์ สวนศิลป์พงศ์  เลขที่ 14
        3. นายศรันณ์ อนุสรณ์                เลขที่ 17

         ที่อยู่เว็บไซต์ : 202.143.169.20/utw2556/5662group12

 

นาย ปฏิพล เกิดศิริ ม.6/2

การสรุปองค์ความรู้จากการศึกษาเรื่อง"ส้มตำเกาะเทโพ"

ส้มตำเกาะเทโพ เป็นภูมิปัญญาที่มีสืบต่อกันมาอย่างยาวนาน

เป็นการสืบทอดความรู้มาจากต้นตระกูลเป็นการทำส้มตำที่มีสูตรมาจากคน

ในครอบครัวเเล้วก็มาสืบทอดให้รุ่นลูก หลาน

เป็นภูมิปัญญาที่เป็นของดีของ จังหวัดอุทัยธานี ที่เกาะเทโพ

เป็นสิ่งที่ทุกคนรุ้จักเเล้วมีชื่อเสียงในจังหวัดอุทัยธานี คือ ส้มตำเกาะเทโพ

 

 

 

 

ส้มตำเกาะเทโพ

สมาชิก

1.นายเเดนตะวัน ปานมี เลขที่ 4

2.นายปฏิพล เกิดศิริ   เลขที่ 9

3.นายวัชรพงศ์ ปาลวัฒน์ เลขที่ 16

4.นายปราโมทย์ เเม่นศร เลขที่ 20

ที่อยู่เว็บไซต์ : http://202.143.169.20/utw2556/5662group1/

นายนนทกานต์ ศรีกุล

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เรื่อง ไก่หอมมลิวัลย์

ไก่หมุนมลิวัลย์เป็นร้านแรกของจังหวัดอุทัยธานี  มีไก่รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ของมัน

มีน้ำจิ้มที่มีรสชาติ

เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การที่มีลิงมาหมุนไก่ทำให้ผู้ที่ขับผ่านเกิดความสนใจและต้องแวะมาซื้อ

ถือว่าเป็นชื่อเสียงอย่างหนึ่งของจังหวัดอุทัยธานี

สมาชิก

1.นายนนทกานต์  ศรีกุล  ม.6/2 เลขที่ 8

2.นายกฤตธรรม  โตพิจิตร  ม.6/2  เลขที่ 18

3.นายฐานวัตน์  พูลเขตกิจ  ม.6/2  เลขที่ 19

4.นายวัชรพงศ์  อิ่มอาเทศ  ม.6/2  เลที่ 22

ที่อยู่เว็ปไซต์ : http://202.143.169.20/utw2556/5662group4

นางสาวณัฐริกา อ่องแช่ม

องค์ความรู้ทีได้รับจากการทำโครงงานเว็บไซต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดอุทัยธานี

เรื่อง กล้วยปิ้ง(หน้าศาลากลาง)

 

จากการศึกษาค้นคว้า"กล้วยปิ้งหน้าศาลากลาง" พบว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาช้านาน

 

ตั้งแต่อดีตสืบถึงปัจจุบัน โดยมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆโดยเฉพาะกระบวนกสรทำน้ำจิ้มกล้วยปิ้ง

 

ที่เป็นสูตรเด็ดของกล้วยปิ้งแต่ละร้าน ซิึ่งกล้วยปิ้งหน้าศาลากลาง มีการคิดค้นสูตรน้ำจิ้มที่มีรสชาติอร่อยถูกปาก

ถูกหลักอนามัยที่เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าที่ผ่านไปมาบริเวณหน้าศาลากลาง และมีการสืบทอดต่อกันมาเป็นเวลากว่า 20 ปีจนถึงปัจจุบัน

สมาชิกผู้จัดทำ

1.นายพีรณัฏฐ์  ใยแจ่ม  เลขที่ 13

2.นางสาวณัฐริกา  อ่องแช่ม เลขที่  31

3.นางสาวพรศิริ  ด้วงนิล  เลขที่  35

4.นางสาวแพรวนภา  สักลอ  เลขที่  36

ที่อยู่เว็บไซต์:http://202.143.169.20/utw2556/5662group6/

จากการศึกษา เรื่อง วัดจันทาราม (วัดท่าซุง) พบว่า วัดจันทารามหรือวัดท่าซุง ตั้งอยู่ที่หมู่ 2 ตำบลน้ำซึม อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี เป็นวัดที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านเคยเป็นเจ้าอาวาส อยู่ที่วัดนี้ ทีนี้ร้องกันได้ทันทีว่า รู้จักเพราะความดังของหลวงพ่อฤษีลิงดำ ซึ่งเวลานี้ท่านมรณภาพ ไปแล้ว ตั้งแต่ 30 ตุลาคม 2535 แต่สังขารของท่านยังอยู่ ไม่เน่า ไม่เปื่อย อยู่ให้กราบไหว้กัน
            วัดท่าซุงได้ชื่อเพราะว่าวัดอยู่ริมแม่น้ำสะแกกรัง ในสมัยก่อนยังมีการล่องซุงตามลำน้ำ แพซุงจะมาพักอาศัยที่ท่าน้ำหน้าวัด วัดนี้เลยเรียกกันว่าวัดท่าซุง ทั้งที่ชื่อดั้งเดิมกลับชื่อ วัดจันทาราม ซึ่งตั้งชื่อนี้ตามชื่อของอดีตเจ้าอาวาส จันทร์ เจ้าอาวาสที่มีความสำคัญอีก 4 องค์ คือหลวงปู่ใหญ่ หลวงพ่อเล่ง หลวงพ่อไล้ และหลวงปู่ขนมจีน สำหรับหลวงปู่ขนมจีนและหลวงปู่ใหญ่ มีรูปเหมือนของหลวงปู่ทั้งสองอยู่ในมณฑป
            หลวงพ่อฤษีลิงดำ หรือพระราชพรหมยาน เดิมท่านมิได้อยู่ที่วัดนี้ แต่พระครูสังฆรักษ์อรุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดท่าซุง เห็นว่าวัดท่าซุงทรุดโทรมมากต้องพัฒนา จึงได้นิมนต์หลวงพ่อฤษีลิงดำ มาจากวัดสะพานจังหวัดชัยนาท ตั้งแต่ พ.ศ. 2511 เพื่อช่วยบูรณะวัดท่าซุง 

วัดท่าซุง

สมาชิกกลุ่ม

1.นาย ศิกวัส สุตโสม เลขที่ 25

2.นาย ณัฐภูมิ แย้มทิพย์ เลขที่ 3

3.นาย ศราวุธ บุญแจ้ง เลขที่ 24

ม.6/2

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท