ความแตกต่างของการโค้ชกับการให้คำปรึกษาแนะนำ (Coaching and Mentoring) โดย ศิริรัตน์ ศิริวรรณ


ความแตกต่างของการโค้ช (Coaching) กับการให้คำปรึกษาแนะนำ (Mentoring)

การโค้ช (Coaching)

สหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) ได้นิยามการโค้ชไว้ดังนี้

การโค้ชคือ การเป็นพันธมิตรกับลูกค้าในกระบวนการกระตุ้นและสรรค์สร้างความคิด ซึ่งช่วยผลักดันให้เกิดการใช้ศักยภาพสูงสุดทั้งในด้านส่วนตัว และวิชาชีพ ซึงถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและซับซ้อนในปัจจุบัน โค้ชจะให้เกียรติลูกค้าว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในชีวิตของตนเอง และเชื่อว่าลูกค้าทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์ รอบรู้ และสมบูรณ์ในตนเอง บนรากฐานดังกล่าวนี้ โค้ชจึงมีความรับผิดชอบในการ:

  • เปิดเผย สร้างความกระจ่างแจ้ง และปรับให้สอดคล้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการบรรลุ
  • กระตุ้นการค้นพบตนเองของลูกค้า
  • ช่วยให้ลูกค้าพัฒนาวิธีแก้ปัญหาและกลยุทธ์
  • ถือว่าความรับผิดชอบนั้นเป็นของลูกค้า

จากนิยามข้างต้นของสหพันธ์โค้ชนานาชาติ ผู้เขียนได้พัฒนาคำนิยามของการโค้ชเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนในการนำไปใช้ไว้ดังนี้

การโค้ชหมายถึง กระบวนการและทักษะการสื่อสารเพื่อพัฒนาวิธีคิดของผู้รับการโค้ช (โค้ชชี่) ให้เกิดความเข้าใจความเป็นจริงในปัจจุบัน (Understand Current Realities) และแสวงหาทางเลือก (Explore Alternatives) และกำหนดวิธีการดำเนินการ (Develop Actions) ในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความเป็นจริงด้วยตนเอง อันนำไปสู่การพัฒนา หรือสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในเชิงพฤติกรรม และผลลัพธ์ทั้งในส่วนของชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวของตนเอง

การให้คำแนะนำปรึกษา (Mentoring)

Mentor หรือ ผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ หมายถึง ผู้มีประสบการณ์ มีทักษะ หรือมีความชำนาญที่ได้รับความไว้วางใจ และมอบหมายจากองค์กรให้เป็นผู้ให้ความช่วยเหลือบุคคลอื่นผ่านรูปแบบของการให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้บุคคลเกิดความเข้าใจ สามารถก้าวข้ามผ่านปัญหาอุปสรรค และเอาชนะความท้าทายต่างๆในการทำงานได้

 Mentor อาจเป็นคนที่ทำงานอยู่ในองค์กรเดียวกันกับผู้รับคำปรึกษาแนะนำ หรืออาจเป็นบุคคลภายนอกที่องค์กรจ้างมา Mentor แตกต่างจากโค้ชตรงที่ Mentor สามารถแบ่งปันประสบการณ์ เทคนิค และให้คำแนะนำตามที่ได้รับการร้องขอ ขณะที่โค้ชจะหลีกเลี่ยงการให้คำแนะนำหรือให้คำแนะนำเท่าที่จำเป็น แต่จะมุ่งเน้นกระตุ้นให้โค้ชชี่คิด จนเกิดความเข้าใจด้วยตนเองเป็นหลัก โค้ชสามารถให้คำแนะนำได้ตามที่โค้ชชี่ร้องขอ หรือให้คำแนะนำเสริมในประเด็นปลีกย่อย ภายหลังจากโค้ชชี่ได้กำหนดวิธีดำเนินการ (Action) ที่ตนเองรู้สึกพึงพอใจ และสอดคล้องกับสถานการณ์แล้ว

(ตัวอย่างภาพบรรยากาศการสอน Coaching)

 

 

หมายเลขบันทึก: 547167เขียนเมื่อ 1 กันยายน 2013 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 กันยายน 2013 14:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมเสนอข้อแตกต่างระหว่าง -coaching, mentoring, และ counseling ไว้ที่นี่ครับ ผมคิดว่า แม้จะมีประโยชน์ที่จะพิจารณาถึงความแตกต่างของทั้ง 3 บทบาทนี้ แต่ตอนนำไปปฏิบัติจริง ไม่ควรแยกส่วนว่า ​ใครเป็นโค๊ช ใครเป็นพี่เลี้ยง 

 

...ถ้าพูดถึงการ "coaching."...ที่นี่จะคิดเป็นชั่วโมงและแพงมากๆนะคะ...มีทั้ง"coaching." ทางด้านการศึกษาและด้านอาชีพ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท