เมียนม่าร์...พัฒนาการที่กำลังก้าวเดินอย่างรุดหน้า


โครงการเขตเศรษฐกิจพิศษติละ(Southern Economic Corridor & Indian Ocean Gateway)

 

       ประเทศเมียนม่าร์ เป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดประเทสไทยมาก หากจะเปรียบเป็นเพื่อน ก็เป็นเพื่อนที่เคย "ชกต่อย" กันมาสมัยหนึ่ง น่าจะเป็นเพื่อนที่รักกันมากๆ เมื่อไปถึงเมียนม่าร์หรือพม่า ที่คนไทยรู้จัก  มักจะนึกถึงอดีตที่เมียนม่าร์เคยมาบุกถึงกรุงศรีอยุธยา แต่ในทัศนะของคนเมียนม่าร์ แทบไม่รู้เรื่องประวัติไทยกับเมียนม่าร์เลย เพราะนโยบายประเทศไม่ได้จัดให้เรียนในหลักสูตร ยกเว้นคนเมียน ม่าร์บางคนที่จะสนใจศึกษาเท่านั้น 

       หากจะกล่าวถึง กรุงย่างกุ้ง นั้นถือว่าเป็นประเทศที่มีค่าครองชีพสูงติดอันดับโลก (อันดับ ๓๗) แพงพอๆ หรือแพงกว่าค่าครองชีพในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เสียอีก  แต่ที่น่าสนใจ คือ เมื่อปี ค.ศ.๒๐๐๙ เมียนม่าร์ ส่งออกน้ำมันและแก๊ส ถึง ร้อยละ ๔๓ ขณะนี้โครงการที่เมียนม่าร์ดำเนินการมานานแล้ว และจะสำเร็จภายในปีนี้ คือ การวางท่อแก๊สไปยัง เมื่อง Kunming และ Nanning เพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศจีน

       โครงการเขตเศรษฐกิจพิศษติละวา (Southern Economic Corridor & Indian Ocean Gateway) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายเรียกว่าเป็น Myanmar in Transition ทีเดียว

        คนเมียนม่าร์ มีศักยภาพสูงมาก เก่งภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะในปี พ.ศ.๒๕๕๗ เมียนม่าร์ จะเป็นประธานอาเซียน และ ปี พ.ศ.๒๕๕๘ เมียนม่าร์ จะมีการเลือกตั้งทั่วไป นั่นสะท้อนความเป็นประชาธิปไตย อย่างเต็มที่ ดังนั้น ในอีก ๒ ปีข้างหน้า ประเทศไทยจำเป็นต้องหา "ที่ยืน" ในเมียนม่าร์ให้จงได้อย่างเหมาะสม 

       ระวังว่า เมียนม่าร์ ออกวิ่ง  เวียดนาม ก็ออกวิ่งไปแล้ว แล้ว ประเทศไทย จะทำอย่างไร โดยเฉพาะระบบการศึกษาไทย นโยบายขาดความต่อเนื่อง เปลี่ยนนโยบายทุก ๓ เดือน แพ้แน่นอน ไม่ใช่แพ้เพราะอะไร แต่แพ้เพราะนับ "หนึ่ง" ใหม่ทุกๆ ๓ เดือน สงสัยจะเป็นการทดสอบ การจัดการศึกษาโดยภาคประชาชนกระมัง อีกหน่อย "ที่นี่ (อาจจะ) ไม่มีโรงเรียน" จริงๆ - (Deschooling Society by Ivan Illich)

ติดตาม "พัฒนาการในเมียนม่าร์" ได้ที่ www.thaiembassy.org/yangon/

 

 

หมายเลขบันทึก: 546825เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 00:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 00:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

...มั่นใจประเทศไทยค่ะ...หากจะหยุดมองดูประเทศเพื่อนบ้านวิ่งก็ยังไหวนะคะ

ความเห็นผม อยากเห็นการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ที่เป็นของจริง คนที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ครอบครัว สังคม มีมาตรฐานการวัดที่จริงจังและเป็นรูปธรรม ครับ เพราะปัจจุบันชักจะไม่ค่อยมั่นใจระบบโรงเรียนสักเท่าไรแล้ว

ประเทศไทยเมื่อก่อน700กว่าปียังไม่มี อนาคตข้างหน้าอาจมีหรือไม่มีเราไม่รู้ แต่เห็นการปกครองที่พวกข้างมากลากไปจะตามเขาไม่ทันแน่ เราขาดความเสมอภาค อย่าหาทางแก้ให้มีความเสมอภาค พรรคการเมืองเรามีหลายพรรค แต่ละพรรคก็ต้องการเป็นรัฐบาล อยากเสนอว่าเมื่อพรรคหนึ่งมีเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล พรรคอื่น ๆ ควรเป็นฝ่ายค้าน หากทุกพรรคยอมเป็นรัฐบาลหมดเราจะเหลืออะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท