มวยพระยาครุฑ - พาหุยุทธ์ชาวสยาม กับ โพชฌงค์7....


การศึกษาพาหุยุทธ์ชาวสยาม มุ่งสู่สุขภาพ ตามแนวทางของโพชฌงค์7

ตอนที่ ๑ โพชฌงค์ 7 คือ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือ องค์ของผู้ตรัสรู้ (พุทธะ) มี 7 ขั้น คือ

1.สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ ใจอยู่กับเรื่อง
2.ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) การเฟ้นหาเพื่อให้เข้าใจการดำรงอยู่
3.วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) การประกอบความกล้าหาญเข้มแข็งเพื่อผลสำเร็จ
4.ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจเมื่อเกิด พุทธะ (รู้ ตื่น เบิกบาน)
5.ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจเพื่อให้พุทธญานดำเนินไป
6.สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความตั้งมั่นเข้มแข็งของพุทธะร่วมกับรูปและนาม
7.อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) การวางใจเข้าไปเห็นความจริงแท้และไม่ยึดติด
..โพชฌงค์ 7 เป็นหลักธรรมส่วนหนึ่งของ โพธิปักขิยธรรม 37 (ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้ ได้แก่ สติปัฏฐาน4 สัมมัปปธาน4 อิทธิบาท4 อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7 และมรรค8)...เมื่อสามารถก่อเกิด องค์แห่งพุทธะ ย่อมมีปัญญาและกำลังที่เข้าถึงปากประตูของการสู่นิพพาน....
...“ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน 4 แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ 7 แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ”……
— อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔---
(หมายเหตุ..อานาปานสติ คือ การหายใจพองยุบ)
พึงระวัง คู่ปรับ ของ โพชฌงค์7
1.สติ เป็นคู่ปรับกับ อวิชชา
2.ธัมมวิจยะ เป็นคู่ปรับกับ ทิฏฐิ(สักกายทิฏฐิและสีลัพพัตปรามาส)
3.วิริยะ เป็นคู่ปรับกับ วิจิกิจฉา
4.ปีติ เป็นคู่ปรับกับ ปฏิฆะ(ความขุ่นเคืองใจ)
5.ปัสสัทธิ เป็นคู่ปรับกับ กามราคะ
6.สมาธิ เป็นคู่ปรับกับ ภวราคะ(รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ)กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ(ภพที่ไม่สงบ))
7.อุเบกขา เป็็นคู่ปรับกับ มานะ

ตอนที่ ๒ พละ หรือ พละ 5 คือ กำลัง ห้า ประการ ได้แก่
1.ศรัทธาพละ ความเชื่อ กำลังการควบคุมความสงสัย
2.วิริยะพละ ความเพียร กำลังการควบคุมความเกียจคร้าน
3.สติพละ ความระลึกได้ กำลังการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอยไร้สติ
4.สมาธิพละ ความตั้งใจมั่น กำลังการควบคุมการวอกแวกเขว่ไขว่ ฟุ้งซ่าน
5.ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย
   พละ5 เป็นหลักธรรมที่คู่กับ อินทรีย์5 คือ ศรัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ โดยมีความเหมือน ความแตกต่าง และความเกี่ยวเนื่อง คือ พละ5เป็นธรรมที่กำจัดแก้ อกุศลนิวรณ์ อินทรีย์ เป็น ธรรมเสริมสร้างกุศลอิทธิบาท

ตอนที่ ๓ พละ5 กับ นิวรณ์5
     พละทั้งห้านี้ เป็นหลักธรรมที่ผู้เจริญวิปัสสนาพึงรู้ ศรัทธาต้องปรับให้สมดุลกับปัญญา วิริยะต้องปรับให้สมดุลกับสมาธิ ส่วนสติพึงเจริญให้มากเนื่องเป็นหลักที่มีสภาวะปรับสมดุลของจิตภายในตัวเองอยู่แล้ว ถ้าพละห้า ไม่สมดุล ท่านว่าจะเกิดนิวรณ์ทั้งห้า
-ศรัทธาพละ มากกว่า ปัญญาพละ จะทำให้มีโมหะได้ง่าย จนเกิดราคะ โทสะได้ง่าย ทำให้อาจเกิดกามฉันทะนิวรณ์ หรือพยาบาทนิวรณ์
-ปัญญาพละ มากกว่า ศรัทธาพละ จะเกิดวิจิกิจฉานิวรณ์ ความลังเลสงสัย
-วิริยะพละ มากกว่า สมาธิพละ จะเกิดอุทธัจจะกุกกุจจะนิวรณ์ ฟุ้งซ่าน รำคาญใจ
-สมาธิพละ มากกว่า วิริยะพละ จะเกิดถีนมิทธะนิวรณ์ ความง่วง ท้อแท้ เกียจคร้าน

ตอนที่ ๔ พละ5 กับ สติปัฏฐาน
ตามหลักปฏิบัติสติปัฏฐาน ท่านว่า เป็นเหตุให้เกิด พละ5 ตามอารมณ์ ของ สติปัฏฐานที่ได้เจริญ
-ศรัทธาพละ เกิดจากการกำหนดสัมปชัญญะหรืออิริยาบถย่อย เช่น กิน ดื่ม ชำระ ระหว่างปลี่ยนอิริยาบถ
-ปัญญาพละ เกิดจากการกำหนดขณิกสมาธิหรืออารมณ์แทรก เช่น อาการ สุข ทุกข์ เฉย นึก คิด เห็น ยิน คัน ปวด ร้อน เย็น
-วิริยะพละ เกิดจากการกำหนดการเดินจงกรม
-สมาธิพละ เกิดจากการกำหนดในอานาปานสติ

 

 

หมายเลขบันทึก: 546824เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2013 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2013 19:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จุดมุ่งหมายของการฝึกปฏิบัติตามแนวโพชฌงค์7 เพื่อสร้างสุขภาพ(จิต-กาย)ที่เข้มแข็งเหมาะสมแก่อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใฝ่ศึกษาพาหุยุทธ์ เท่านั้น..การอื่นนั้นเป็นเรื่องกรรมและบุญกุศลที่แต่ละท่านได้บำเพ็ญมา..ข้าพเจ้ากราบขออโหสิกรรม ต่อ บรมครูทั้งหลาย ด้วย..ผู้ใดสนใจอ่านเรื่องนี้ โปรดระมัดระวัง ในการพิจารณา อย่าเชื่อโดยงมงายไร้เหตุผล เนื้อหาต่างๆที่บันทึกนี้มีทั้งคุณและโทษ..จงอย่าได้ประมาท เทอญ..และความรู้เหล่านี้จะเป็นแค่เรื่องไร้สาระ..ถ้าไม่นำมาปฏิบัติให้เกิดโพชฌงค์..เหมือนการที่เราบอกว่าเป็นชาวพุทธ แต่ไม่ปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา..ยังมีอีก การนิมนต์พระมาสวดโพชฌงคปริตร แก่คนป่วย..โดยนึกเปรียบเทียบกับ สมัยพุทธกาล..ได้บุญน้อยมากสำหรับผู้ฟัง ครับ..แต่ก็ยังดี เผื่อฟังแล้วระลึกได้ว่า วิธีปฏิบัติให้เกิด พุทธะ ทำอย่างไร? แล้วพยายามทำมันทันทีในแต่ละส่วน..เพราะคนเจ็บป่วย อาจหลงลืมและพละ+อินทรีย์ อ่อนแรงจน เข้าไม่ถึง ครับผม..เปรียบเหมือนกับ คนเรารู้ว่าถ้ามีตังค์ก็ดีนะ..แต่ต้องมีตังค์ถึงจะใช้ตังค์ได้..สติรู้ว่าดี แต่ต้องมีสติ..ทีนี้รู้รึเปล่าว่า จะเกิดสติแล้วตั้งสติยังงัย?..แค่ความรู้สึกนึกคิด นั่นเป็นแค่สติฉาบฉวย..นะครับ..หากจะพิจรณาใคร่ครวญให้ถ่องแท้พร้อมกับการฝึกปฏิบัติจริง จะสามารถเข้าใจกระบวนวิธีของการเข้าถึง พุทธะ โดยยึดแนวโพชฌงค์7..และที่สำคัญที่ต้องสร้างขึ้นก่อน คือ ศรัทธาพละ และ วิริยะพละ..ที่เหลือ..สติ - สมาธิ - ปัญญา..นั้น..กำลังแห่ง พุทธะ จะดำเนินไปเอง..ครับผม..

ขอชื่นชมองค์ความรู้...ที่เสริมสร้างสุขภาพกาย ใจ และธรรมะ ให้เข็มแข็งนะคะ

ขอบพระคุณท่าน อ.ดร.พจนา แย้มนัยนา มากครับ..ขอเรียนว่า เรื่อง มวย กับ พาหุยุทธ์ เป็นเรื่องเดียวกันที่คนไทยในยุคนี้น้อยคนนักที่จะทราบและเข้าใจ..แต่ ขณะนี้มีชาวตะวันตก หลายคนสนใจต้องการศึกษาเพื่อนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตในยุคที่โลกมีแต่ความวิกฤต..สิ่งที่ผมพยายามศึกษามาโดยใช้การค้นคว้ารวบรวมนับเป็น10ปี ทำให้ทราบว่า ชาวตะวันออกมีสิ่งดีๆหลายอย่าง แต่ถูกละเลย ทอดทิ้ง ทำลาย ด้วยระบบการศึกษา..ทำให้รู้สึกเสียใจมาก ในฐานะที่เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในวงการศึกษามานานนับ40ปี ครับ...ขอเพิ่มเติมข้อมูล นะครับ..

..บรมครูหลวงปู่พระฤาษีสุกกทันตะสำนักธัมมิกการามเขาสมอคอนเมืองลวปุระ....พระฤาษีฟันขาว..ผู้เป็นบุรพาจารย์แห่งมวยไทย..หลวงปู่ท่านเป็นพระในพุทธศาสนานิกายตันตระวัชรญานเช่นเดียวกับปรมาจารย์โพธิเถระ(ตั๊กม้อ)..หลวงปู่ท่านเข้ามาสู่สุวรรณภูมิเมื่อ1000กว่าปีมาแล้ว..วิชารำหมัดรำมวย คือ การฝึกจิตให้เข้มแข็งร่างกายแข็งแรง..โดยใช้หลักโพชฌงค์7..ครับ..บรมครูที่เราเรียกพระฤาษีหรือพ่อแก่..เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาต่างๆโดยเรียกว่าวิชามัยยะศาสตร์หรือมายาศาสตร์(วิชาสำเร็จ)..ครับ..ที่น่าประหลาดใจคือร่องรอยของวิชานี้กลับไปเหลืออยู่ที่นาฏศิลป์และดนตรีมากกว่าในมวยไทย.. ผมขอเรียกว่า มวยพระยาครุฑ..พาหุยุทธ์ชาวสยาม....เป็นสุดยอดมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนที่กำลังรอคนที่จะมาศึกษาและสืบสานต่อไปมิให้สูญหาย..ครับ..เวลายิ่งกำลังเหลือน้อยลงไปทุกทีๆๆ.. น่าประหลาดที่เมื่อยิ่งศึกษาทดสอบจึงพบว่าวิชามวยพาหุยุทธ์ของชาวสยามเดินตามหลักของโพชฌงค์7..ในหนังสือ โพชฌงค์..พุทธวิธีเสริมสุขภาพ..โดยพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)..โพชฌงค์มาจากพุทธ+องค์..แปลว่าการสร้างองค์ของพุทธะหรือโพธิ..ขึ้นตามลำดับขั้นทั้ง7..เริ่มแต่1.สติ 2.ธัมมวิจยะ 3.วิริยะ 4.ปีติ 5.ปัสสิทธิ 6.สมาธิ 7.อุเบกขา..ท่านใดที่ศึกษาบาลีและบทสวดมนต์..อาจจะเคยได้ยินบทสวดโพชฌงคปริตร..ซึ่งถือว่าเป็นบทสวดอันเกี่ยวเนื่องกับการบำบัดความเจ็บป่วย..

น่าประหลาดที่โพชฌงค์7..วางลำดับคล้ายกับขั้นตอนของพาหุยุทธ์..แต่มิได้บอกว่าทำอย่างไร?ในแต่ละองค์ทั้ง7องค์..มิหนำซ้ำ พระภิกษุสงฆ์ ที่เล่าขานบอกต่อกันมา(เถรวาท) ก็ไม่เคยเฉลียวใจต่อการนำมาศึกษาวิเคราะห์..อันนี้ไม่ทราบว่าเป็นเพราะเหตุใด?..ทั้งนักวิชาการด้านสาธารณสุขและสุขศึกษา ด้วย ครับผม..ดีที่มีการตกทอดรูปแบบในนาฏยศิลป์ เช่น ละคอนชาตรี มโนราห์ชาตรี รำซัดชาตรี และ มวยโบราณ อยู่บ้าง..สำหรับในไหว้ครูของมวยไทย ครูพลศึกษา ก็ตีความอธิบายผิดเพี้ยนไปจนน่าเสียดาย..ครับ..

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท