เหตุการณ์ที่สวนโมกข์


เหตุการณ์ที่สวนโมกข์

เรียนคณะกรรมการมูลนิธิ กรรมการบริหารหอจดหมายเหตุ ผู้มีส่วนร่วมสนับสนุน และ ธรรมภาคีพี่น้องผู้มีส่วนร่วมในธรรม

ตามที่มีรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนและสังคมออนไลน์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตั้งแต่เมื่อวานนี้เกี่ยวกับการปรับปรุงพระอุโบสถธรรมชาติบนเขาพุทธทองและอื่น ๆ นั้น หอจดหมายเหตุฯ ในฐานะองค์กรลูก กำลังติดตามและรอการวินิจฉัยของครูบาอาจารย์ โดยขออธิบายรายละเอียดเท่าที่รับทราบและพอสืบค้นได้จากฐานข้อมูลจดหมายเหตุฯ ตามที่แนบมานี้

ขอทุกท่านได้ร่วมกับหอจดหมายเหตุฯ ในการใช้ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ และ สมาธิ ที่ท่านอาจารย์พุทธทาสนำพระธรรมของพระพุทธองค์มาร้อยเรียงให้ไว้ในชื่อ "ธรรมะ ๔ เกลอ" เพื่อประกอบการติดตาม คิดอ่านและแสดงออกในการนี้

บัญชา พงษ์พานิช

กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ

๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖

 

กรณีที่สวนโมกข์

หลายปีมาแล้ว หลังรับภารกิจ “เจ้าอาวาส” วัดธารน้ำไหล สวนโมกขพลาราม มาตั้งแต่ท่านอาจารย์พุทธทาสยังอยู่ ท่านอาจารย์โพธิ์ จันทสโร (รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ปี พ.ศ. ๒๕๒๙) ได้ปรารภเนือง ๆ ว่าประสงค์จะวางมือจากบทบาทนี้เพื่อส่งต่อแก่หมู่คณะ และตั้งแต่วันที่ ๒๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ในวาระอายุครบ ๘๐ ปี ของท่านอาจารย์โพธิ์ จึงได้ลงตัวด้วยการมีท่านอาจารย์สุชาติ ปัญญาทีโป พระอาจารย์อาวุโสผู้ครองตําแหน่งรองเจ้าอาวาส รับอาราธนานิมนต์ขึ้น ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาส ทั้งที่ท่านเองก็มิได้ประสงค์ ทราบว่าท่านได้ปฏิเสธหลายครั้ง จนกระทั่งเนื่องในโอกาสวันล้ออายุ วันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๕ คุณนิคม เจตน์เจริญรักษ์ ศิษย์อาวุโสของสวนโมกข์ และ คุณเมตตา พานิช ประธานมูลนิธิธรรมทาน ได้ขอให้อาจารย์หมอประเวศ วะสี และ อาจารย์หมอเกษม วัฒนชัย ซึ่งไปร่วมอาจารยบูชา ณ สวนโมกขพลาราม เข้าอาราธนานิมนต์ และท่านอาจารย์สุชาติรับปากในวันนั้นโดยขอให้คอยช่วยเหลือสนับสนุนในกิจการของสวนโมกข์ด้วย.

สวนโมกขพลาราม ที่ก่อตั้งขึ้นที่ตําบลพุมเรียง อําเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี (พ.ศ. ๒๔๗๕) นั้น เริ่มต้นด้วย ทุนต้นตระกูลพานิช ภายใต้การนำของท่านอาจารย์พุทธทาส และ คุณธรรมทาส พานิช โดยมีกัล ยาณมิตรชาวไชยา สุราษฎร์ธานี ตลอดจนผู้คนจากถิ่นฐานอื่น ๆ เข้าร่วมอย่างต่อเนื่องและขยายวง ในนามของ คณะธรรมทาน โดยมีหน่วยจัดการที่ค่อยๆ ก่อตัวมาจากห้องหนังสือธรรมทาน เปิดหีบหนังสือธรรมะให้คนยืมอ่านที่ร้านไชยาพานิช (พ.ศ.๒๔๗๒) ก่อนที่จะย้ายออกมายังตลาดไชยา (พ.ศ.๒๔๗๘) แล้วจดทะเบียนเกิดเป็นหน่วยนิติบุคคลที่เป็นทางการว่า ธรรมทานมูลนิธิ หรือ มูลนิธิธรรมทาน (พ.ศ. ๒๔๙๖) เสมือนกองเลขานุการในการขับเคลื่อนงาน มีคุณธรรมทาส พานิช เป็นผู้จัดการ ในขณะที่หลังจากขยายย้ายสวนโมกขพลารามออกจากพุมเรียงมายังบริเวณเขาพุทธทอง (พ.ศ.๒๔๘๗) แล้วขึ้น ทะเบียนและรับพระราชทานวิสุงคามสีมาเป็นวัดธารน้ำไหล ตามกฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เมื่อ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๕ โดยมิได้มีผู้ใดครองตําแหน่งเจ้าอาวาสจนกระทั่ง ปี พ.ศ.๒๕๒๙ ที่ท่านอาจารย์โพธิ์ ถูกมอบหมายและแต่งตั้ง ตามการเสนอของท่านอาจารย์พุทธทาสและคณะ ส่วนธรรมทานมูลนิธิ ได้ย้ายมาก่อสร้างเป็นอาคารคณะธรรมทานที่หน้าสวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐

ด้วยประวัติความเป็นมาดังกล่าว และระบบงานที่สวนโมกข์ที่เป็นมาตั้งแต่ต้นตลอดหลายสิบปีแรกที่มีท่าน อาจารย์พุทธทาสและคุณธรรมทาสเป็นหลัก จึงมีภาพเสมือนว่าสวนโมกขพลารามนั้นเป็นองคาพยพ ร่มใหญ่ที่กว้างกว่าวัด ของเครือข่ายและขบวนงานธรรมที่เรียกว่าคณะธรรมทานแบบขยายตัว โดยมีหน่วยจัดการขับเคลื่อนหลัก คือ คณะสงฆ์แห่งวัดธารน้ำไหล และ คณะบุคคลแห่งธรรมทานมูลนิธิ แบ่งบทบาทหน้าที่กันทําตามที่เหมาะควรแก่วิสัยของสมณะและ ฆราวาสสืบมา กระทั่งเปลี่ยนผ่านมาสู่รุ่นที่สอง หลังท่านอาจารย์พุทธทาส และ คุณธรรมทาสละสังขาร (พ.ศ.๒๕๓๖ และ พ.ศ.๒๕๔๓ ตามลําดับ) โดยมีท่านอาจารย์โพธิ์ ดํารงสถานะ เจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหล (พ.ศ.๒๕๒๙) กับ คุณเมตตา ที่สืบ ต่อบทบาทประธานธรรมทานมูลนิธิ ควบคู่กับหน้าที่ไวยาวัจกรของวัดธารน้ำไหล ที่ได้รับแต่งตั้งตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๘ โดยมี การก่อตั้งมูลนิธิพุทธทาส (พ.ศ.๒๕๒๙) นําโดยท่านอาจารย์ปัญญานันทะ เพื่อการเผยแผ่งานธรรมสู่ต่างชาติ ในขณะที่ฝั่ง สวนโมกข์นานาชาติ ซึ่ง ประกอบด้วย ธรรมาศรมนานาชาติ ธรรมาศรมธรรมมาตา และ ธรรมาศรมธรรมทูต ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ภายใต้การดําเนินการร่วมกันในนามของสวนโมกขพลาราม ซึ่งมีวัดธารน้ำไหล และธรรมทานมูลนิธิเป็นหลัก

เมื่อท่านอาจารย์สุชาติเข้าบริหารวัดธารน้ำไหล ได้แต่งตั้งคณะที่ปรึกษาเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส โดยมี ไวยาวัจกรใหม่จํานวน ๕ คน ประกอบด้วย คุณนิคม เจตน์เจริญรักษ์, คุณณรงค์ เสมียนเพชร, อาจารย์โพธิพันธุ์ พานิช, คุณกิตติศักดิ์ รุ่งเรืองวัฒนชัย และ คุณธวัชชัย จันทร์แดง เข้าบริหารจัดการกิจการของวัดธารน้ำไหล โดยได้มีการประชุม ปรึกษาหารือร่วม ๑ ครั้ง เมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๖ ณ อาคารคณะธรรมทาน ธรรมทานมูลนิธิ โดยคุณเมตตา พานิช ประธานคณะกรรมการธรรมทานมูลนิธิ และ อดีตไวยาวัจกร ได้จัดทําสรุปรายงานการเงินและบัญชี ของวัดธารน้ำไหล ของธรรมทานมูลนิธิ และที่เกี่ยวข้อง รายงานต่อที่ประชุม พร้อมกับ ส่งมอบบัญชี และสมุดบัญชีในส่วนของวัดธารน้ำไหลแก่ท่านอาจารย์สุชาติและคณะไวยาวัจกรใหม่ในโอกาสถัดมา ทั้งนี้ในที่ประชุมได้นําบันทึกลายลิขิตของท่านอาจารย์ พุทธทาสเกี่ยวกับแนวทางการดําเนินการ ของสวนโมกข์ฯ ธรรมทาน วัดธารน้ำไหล และมูลนิธิ มาทบทวนทําความเข้าใจ จนมีความเห็นพ้องกันว่า ท่านอาจารย์พุทธทาสและคณะ ได้วางตําแหน่งให้สวนโมกขพลารามเป็นองค์กรอิสระ อยู่โดยคณะธรรมทาน โดยมีวัดธารน้ำไหล กับ ธรรมทานมูลนิธิเป็น ๒ องค์กรหลัก ที่เป็นนิติบุคคลรองรับ ที่ประชุมเห็นว่าควร รวมมูลนิธิพุทธทาส และ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ เข้าไว้ด้วย รวมเป็น ๔ องค์กร ซึ่งหลังจากนั้นมา มิได้มีการประชุมร่วมนอกจากครั้งจัดงานอาจารยบูชาประจําปีพ.ศ.๒๕๕๖ ที่เป็นการปรึกษาหารือทั่วๆไป ในขณะที่ในส่วนของวัดธารน้ำไหลนั้น มีการประชุมหลายครั้ง ล่าสุดมีการประชุมเมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ โดยคุณเมตตา ได้นําส่งรายงานการเงิน และสมุดบัญชีเงินสดต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับวัดแก่ท่านอาจารย์สุชาติเพิ่มเติม

สําหรับหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ในระยะหลังเมื่อมีการปรับปรุงระบบการดําเนินการใหม่ในวัด และ ได้รับการแจ้งว่ากิจการในวัดขอให้เป็นเรื่องของหมู่สงฆ์ จึงได้แต่เฝ้าดู และคอยรับใช้ ตามที่ท่านจะเรียกหาและมอบหมาย มุ่งทํางานสนองงานพระพุทธองค์ ตามปณิธานและแบบอย่างของ ท่านอาจารย์พุทธทาส คุณธรรมทาส ท่านอาจารย์โพธิ์ ครูบาอาจารย์และผู้อาวุโสทั้งหลาย รวมทั้งตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของมูลนิธิ ตลอดทั้งของกัลยาณมิตรและภาคี เครือข่าย โดยมีการอาราธนานิมนต์ครูบาอาจารย์จากสวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหลเป็นประจํา ล่าสุดได้รับทราบว่า กําลังมีการปรับปรุงพระอุโบสถธรรมชาติบนเขาพุทธทองโดยมิได้ติดตามลงไปดู ด้วยเคารพและเชื่อมั่น ในแบบอย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาสได้ทําไว้เป็นตัวแบบ โดยเฉพาะท่านอาจารย์สุชาติซึ่งเป็นเจ้าอาวาส และศิษย์อาวุโสของท่านอาจารย์ และท่านอาจารย์ทองสุข ธัมมวโร ศิษย์อาวุโสผู้ปั้นพระพุทธรูปองค์ขาว ประธานพระอุโบสถธรรมชาติที่เขาพุทธทอง ที่รับมอบหมายจากท่านอาจารย์สุชาติในการปรับปรุงครั้งนี้

หอจดหมายเหตุฯ ได้รับทราบข่าวอย่างคร่าว ๆ ว่ามีการทักท้วงและขอให้ชะลอเพื่อตรวจสอบต่างๆ เช่น ความ เหมาะสมของรูปแบบ ผลกระทบต่อต้นไม้และพืชพันธุ์บนเขาพุทธทอง ซึ่งเข้าใจว่าครูบาอาจารย์ และผู้เกี่ยวข้องน่าจะใช้ วิจารณญาณอย่างดีแล้ว จนได้รับการโทรศัพท์สอบถามจากหลากหลายฝ่ายเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖ ถึงการชัก ชวนขึ้นไปดูและขอทราบความเป็นมาเป็นไป ที่กลายเป็นการออกสาร บนสื่อสังคมออนไลน์ “จากเพื่อนสวนโมกข์ถึงเพื่อน สวนโมกข์” โดยผู้ที่ใช้ชื่อว่า “กลุ่มเพื่อนสวนโมกข์” อันมีความเห็นประกอบของครูบาอาจารย์และกัลยาณมิตรอาวุโส คือ พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล และ อาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ รวมทั้งคุณวิจักขณ์ พานิช พร้อมเชิญชวนให้ร่วมแสดงความคิด เห็นโดยวิงวอนให้คณะสงฆ์ได้ปรึกษาหารือกันก่อนที่จะดําเนินการใดๆ ต่อไป

a.pptxa.pptxในฐานะหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ จึงขอเรียนมาเพื่อโปรดทราบเท่าที่รับทราบ พร้อมกับขอโอกาสชี้ แจงถึงความเป็นมาโดยภาพรวมของสวนโมกขพลาราม คณะธรรมทาน วัดธารน้ำไหล และ ธรรมทานมูลนิธิ อันเป็น สดมภ์หลักในฐานะองค์กรพ่อและแม่ ที่คลี่คลายพัฒนาถึงปัจจุบัน กว่า ๘๐ ปีแล้ว โดยขอรอการพิจารณาของครูบาอาจารย์ โดยเฉพาะท่านอาจารย์สุชาติ เจ้าอาวาส และคณะสงฆ์ ด้วยความเคารพและนับถือเสมอมา ทั้งนี้จะเร่งค้นคว้า จากฐานข้อมูลจดหมายเหตุว่าด้วยแนวคิดของ ท่านอาจารย์พุทธทาสต่อพระอุโบสถแบบสวนโมกข์ที่เขาพุทธทอง และระบบการบริหารจัดการของสวนโมกข์ รวมทั้งติดตามความคืบหน้าต่าง ๆ จากไชยาต่อไป บัญชา พงษ์พานิช กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ๒๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ลายลิขิตของท่านอาจารย์พุทธทาส บนกระดาษ ใบแก้คําผิด เอกสารชุดมองด้านใน อันดับ ๒ เรื่อง ภัยของพุทธศาสนา พิมพ์โดย คณะเผยแพร่พุทธธรรม เมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๐ เอกสารจดหมายเหตพุทธทาส อินทปัญโญ. เกี่ยวกับระเบียบคณะสงฆ์ “เงินวัด”. (๒๕๑๐). BIA ๑๐/๑๔ หน้า ๑.

หมายเลขบันทึก: 546808เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

เรียนคุณหมอวิจารณ์ พานิช

ผมได้ติดตามบทความที่คุณหมอเขียนใน gotoknow และเห็นว่าเป็นบทความที่มีสาระและให้ความรู้อย่างมาก ควรจะนำเผยแพร่ให้คนไทยมีโอกาสได้อ่านกันมากที่สุด ผมได้ถือโอกาสคัดลอกและนำไปเผยแพร่ในเวปไซด์ของมูลนิธิศูนย์บูรณาการพัฒนามนุษย์ www.thaiihdc.org โดยระบุว่าบทความของคุณหมอคัดลอกมาจาก http://www.gotoknow.org/posts/546808 ใต้ชื่อของคุณหมอ แต่วันนี้ผมได้พบว่าคุณหมอมีการเพิ่มเติมข้อความ ว่าบันทึกนี้เขียนที่ gotoknow โดย Prof.Vicharn Panich ผมจึงได้คัดลอกข้อความทั้งหมดในบันทึกโดยไม่ต้องลงว่าคัดลอกมาจาก .....

จากการเพิ่มข้อความของคุณหมอทำให้ผมไม่แน่ใจว่าคุณหมอยินยอมให้ผมนำบทความที่คุณหมอบันทึกใน gotoknow ไปเผยแพร่ในเวปไซด์ของมูลนืธิศูนย์บูรณาการพัฒนา หรือไม่ จึงขอความกรุณาคุณหมอช่วยแจ้งผมทาง e-mail [email protected] ในกรณีที่คุณหมอไม่ต้องการให้ผมนำบทความของคุณหมอไปลงในเวปไวด์มูลนิธิฯ ผมจะได้ไม่ทำการคัดลอกบทความของคุณหมออีกต่อไป และจะพยายามลบบทความทั้งหมดของคุณหมอออกจากเวปไซด์ดังกล่าว แต่ถ้าผมไม่ได้รับการยืนยันไม่ให้ผมคัดลอกบทความของท่านเพื่อนำไปเผยแพร่ในที่อื่นโดยเฉพาะในเวปไซด์ที่ผมกล่าวถึง ผมจะถือว่าคุณหมอไม่ขัดข้อง ผมจะได้คัดลอกบทความของคุณหมอนำไปเผยแพร่ที่อื่นต่อไป

นับถือ

ม.ล.ชาญโชติ ชมพูนุท

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท