เสวนา"AEC กับนัยต่อการพัฒนาประเทศ" หลักสูตร AEC เพื่อผู้บริหารกระทรวงการคลัง 2556


สวัสดีครับชาว Blog ทุกท่าน 

วันอังคารที่27 สิงหาคม 2556 ผมได้รับเกียรติจากมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ให้มาเป็นวิทยากรร่วมเสวนา"AEC กับนัยต่อการพัฒนาประเทศ" ต่อผู้บริหารกระทรวงการคลังประมาณ 30 ท่าน ณ FPRI ตึกทิปโก้ 

ผมจึงเปิด blog นี้เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับชาว blog ทุกท่านครับ 

 

หมายเลขบันทึก: 546767เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 สิงหาคม 2013 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สรุปการอบรมหลักสูตร AEC เพื่อผู้บริหารกระทรวงการคลัง
โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
27 สิงหาคม 2556
คุณสุมิตรา พูลทอง: การรวมตัวเป็นโอกาสของประเทศไทย เพื่อเป็นการพัฒนาและให้ความสำคัญ
ยุทธศาสตร์ประเทศขับเคลื่อนพัฒนาเป็น issue based
ประเทศไทยมองเรื่องการรวมตัว เพิ่มการขยายตลาดแต่ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน แต่เป็นการวมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ประเทศ ให้ความสำคัญทั้ง 4 เรื่อง ยุทธศาสตร์ประเทศในส่วนของ AEC คือ มองว่าการพัฒนาของประเทศไทย มองเรื่องขีดความสามารถเรื่องการแข่งขัน การบริการการค้า การลงทุน ใช้โอกาสการรวมตัวเป็น single market
การพัฒนาคุณภาพชีวิต การคุ้มครองทางสังคม ให้มีสภาพแวดล้อมปลอดภัย
การมีโครงสร้างพื้นฐาน มี logistics ที่ดี เพื่อรองรับการพัฒนาและกิจการต่างๆในอนาคตได้ดีขึ้น
มีกฎระเบียบเพื่อเพิ่มการลงทุนได้ดีขึ้น
การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพดีขึ้น
ทักษะด้านฝีมือและภาษา
พัฒนาศักยภาพของเมือง
ทั้งหมดนี้เป็นแผนเพื่อสอดรับแผนการพัฒนาประเทศ
ดร.อภิชาติ การรวมเป็น AEC มีผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างไร
ศ.ดร.จีระ: ครั้งนี้เน้นเรื่องอาเซียน บางครั้งคนไทยเน้นการคลั่งสัมมนาเกินไป อาเซียนต้องเป็น reality แต่ process การเข้าอาเซียน เริ่มมาจาก AFTA หลังจาก 2015 ต้องมีการปรับอีกมาก ข้อดีของอาเซียน คือ โลกในอนาคตต้องจัดตัวเองเป็นblog ไม่สามารถอยู่คนเดียวได้ ข้อแรกที่สำคัญคือ เกิดเป็นพลัง ไม่อยู่ใน comfort zone ต้องมีการปรับปรุงเรื่องการศึกษาไทย จุดอ่อนของคนไทย คือ คิดไม่เป็น วิเคราะห์ไม่เป็น
การเข้าสู่อาเซียนเป็นโอกาสที่ดีทำให้คนตื่นตัว คนไทยมีคุณภาพอยู่อันดับท้ายๆในอาเซียน เด็กรุ่นใหม่ไม่สนใจเรื่องความรู้
สิ่งที่สำคัญคือ มีแรงกดดัน (driving force)เพื่อให้ค้นหาตนเอง ให้ตัวเองได้เปรียบเทียบเรื่องภาษา จริยธรรม ไม่ได้วัดเฉพาะ GDP
เรื่องการลงทุนในการพัฒนาคน เหมือนสุภาษิตจีนที่ว่าปลุกมนุษย์ใช้เวลาทั้งชีวิต ต้องค้นหาตัวเองว่ามีคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ที่อ่อนแอกว่าคนอื่น แต่ไทยก็มีจุดแข็งด้านอื่นๆ คือ กระทรวงการคลังต้องเน้นว่าถ้าจะ1. ลงทุนพัฒนา mindset /attitude ว่าพร้อมไหมที่จะเปลี่ยนแปลง 2. พัฒนาจริยธรรม 3. พัฒนาเรื่องความเป็นมืออาชีพ 4. ความเป็นสากล มีมาตรฐาน มี benchmark มีคุณภาพ
GDP เรื่องการศึกษาในการพัฒนาคนแค่ 4%
หลักสูตรนี้ต้องจัดอย่างต่อเนื่อง และต้องมีการพัฒนาอย่างจริงจัง เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม
ดร.วิมลกานต์: ทำอย่างไร SME จึงจะมีนวัตกรรมใหม่ๆ ในการเข้าสู่ AEC
สินค้าของประเทศไทยส่งออกไปประเทศ ASEAN+6 ได้มาก ความแตกต่างระหว่าง AEC กับ EU คือ มีการประสานธุรกิจไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ เพราะมีการบริหารจัดการเชิงนโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
AEC ยังไม่ใช้ custom union
การเข้าแหล่งเงินทุนของไทยอยู่อันดับที่ 70
ดร.อภิชาติ: การพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและทุนมนุษย์
ดร.จีระ: เรื่องการแข่งขันและcollaboration สำคัญทั้ง 2 ด้าน ถึงแม้เรื่องภาษรสูงแต่ก็มีการป้องกัน เพราะเรื่อง non- tariff barrier ที่สูง เพราะฉะนั้นเรื่องการศึกษาต่างๆก็สำคัญ ในทั้ง 3 เสา ก็เกี่ยวกับการคลัง ต้องคิดให้เป็นระบบบูรณาการ
ต้องเน้นการทำวิจัย เพื่อให้เป็น context ของกระทรวงการคลังเอง ขอให้ทุกทานอย่าหยุดการเรียนรู้เรื่องอาเซียน เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมาก
เรื่องทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ คือเรื่องการขาดแคลนแรงงาน และมีแนวโน้มว่าจะขาดอีกนาน จำนวนnew entrance to labor force น้อยลง พอลดจำนวนลงก็ขาดแคลน แต่พอดูโครงสร้างของอินโด กัมพูชา เวียดนาม ก็มีเยอะกว่าเรา ตอนนี้ตกลงเรื่อง skill labor แต่ระดับต่ำกว่า skill labor มี3-4 ล้านคน
ต้องมีการทำวิจัยว่าการเคลื่อนย้ายของคนที่เป็น professional ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จริงหรือเปล่า
คำถาม
อ.จีระ: ในเวลา ชั่วโมงครึ่ง ได้อะไร 2 เรื่องเกี่ยวกับอาเซียน แล้วสามารถนำไปใช้กับกระทรวงคลังได้
คนที่ 1
1. ผลักดันบุคลากรที่กรม
2. ส่งเสริม SME
อ.จีระ: เน้นให้คนทำงานที่ไม่ใช่routine
คนที่ 2
1. เรื่องสหภาพศุลกากร เตรียมความพร้อมให้ไป co กับประเทศอาเซียทั้ง10 ประเทศ สิ่งที่เป็นปัญหา คือ การไหลของสินค้า ปัญหา logistic มีปัญหากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องปัญหาสุขภาพประชาชน BOI สำหรับประเทศไทยมีปัญหากับการเตรียมความพร้อม จะผลักดันให้รัฐบาลเป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อได้อย่างไร
ดร.วิมลกานต์: ปัญหานี้ก็เป็นปัญหานอก สสว.เช่นกัน สิ่งที่ต้องการการบูรณาการคือ เรื่องกฎหมาย ศุลกากร เรื่อง single window
เรื่อง Business registration ไทยเป็นอันดับ 80 ของโลก นอกจากนี้ในการที่จะไปติดต่อภาครัฐแต่ละแห่งต้องกรอกใบสมัครใหม่หมด ต่างจากต่างประเทศที่กรอกครั้งเดียวแล้วจะไปอยู่ในระบบ
ดร.จีระ: ไม่ได้มองแค่เรื่องอาเซียน แต่มองไปถึงโลกาภิวัตน์ ต้องทำงานบูรณาการทำงานหลายหน่วยงาน ปัญหาในประเทศไทยคือ มีคนอยากทำเยอะ แต่มักจะไม่สำเร็จ ต้องเอาหลายๆฝ่าย ต้องมีคนกลาง ต้องมี dialogue และต้องต่อเนื่องด้วย
การทำแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ก็จะทำให้ชีวิตเราไม่มีความหมาย ต้องมีการใฝ่รู้
ดร.อภิชาติ: เรื่องการเปลี่ยนแปลงต้องเปลี่ยนที่ mindset คนรู้แล้วว่ามีความจำเป็นมีปัญหา แต่ไม่ทำอะไรเลย ก็ไม่มีประโยชน์ หน้าที่ในการแก้ไขปัญหาก็เป็นหน้าที่ของทุกคน
ดร.วิมลกานต์: ปัญหาของ SME ในอาเซียน เรื่องการเงินถูกระบุว่าประเทศไทยเป็นการปล่อยกู้ให้ SME ยึดเรื่องที่ดินเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันยังไม่ได้
สรุป
คุณวิมลกานต์: การเป็น AEC เป็นโอกาสของเรา ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีทั้งทางบวกและลบ ไม่ได้ทำให้โครงสร้างประเทศไทยเปลี่ยนไปมาก ชื่นชมเรื่อง mindset ของดร.จีระ เรื่องสังคม วัฒนธรรม เป็นเรื่องที่ต้องเน้นด้วยเพื่อให้เป็นรูปธรรม เรื่องเพื่อนบ้านเราเลือกไม่ได้ ควรเลือกที่เป็นมิตรดีกว่าไม่เป็นมิตรกับเรา
อ.จีระ: เป็นโอกาสที่ดี ได้เรียนรู้ learn share and care
การทำงานในอาเซียนต้องเรียนรู้ แบ่งปัน ร่วมมือกันแทนที่จะแข่งขันกัน เรื่องความรู้ไม่มีปัญหา แต่ขาดความใฝ่รู่ ว่าหลังจากวันนี้แล้วจะหาความรู้เพิ่มเติมอย่างไร การเอาชนะอุปสรรคเป็นเรื่องสำคัญในชีวิต ความรู้ในยุคต่อไปเป็นยุคของ diversity
ดร.วิมลกานต์: ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ส่วนใหญ่ก็คือ SME เรื่องภาษี การเข้าสู่แหล่งเงินทุน จะทำให้ SME ต่อสู้ได้ในเวที AEC
SME มีหน้าที่ผลิตบุคคลให้มีมาตรฐานสากล
SME ต้องเข้าสู่กระบวนการ international standard

 

 

  เรียท่าน อ.จ. ที่เคารพ .... ท่านอาจารย์ สุขภาพดีม๊ากๆ นะคะ ...ยังหนุมเหมือนเดิม นะคะ

 

         

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท