กรอบแนวคิดการปกครองประเทศ สะท้อนสู่การกำกับ ควบคุมสื่อสังคมออนไลน์


 

โลกในยุคปัจจุบัน ทุกคนจะมีความรู้สึกว่า เป็นโลกออนไลน์ และเป็นภาพที่ชัดเจนมากที่พิสูจน์คำพังเพยที่ว่า "เข็มตกลงพื้น สะเทือนไปทั้งโลกได้" ในอดีต ฟังดูแล้วอาจจะไม่ค่อยชัดเจน แต่ปัจจุบันพิสูจน์ชัดเจนมาก  แต่ในความเป็นจริง ยังมีบางประเทศที่สื่อสังคมออนไลน์ อันถือว่าเป็นสื่อสารมวลชน (Mass media) ที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพอย่างมหาศาล ยังไม่สามารถเปิดใช้ได้อย่างเสรี ยกตัวอย่างกรณีประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพราะประเทศจีน ถือแนวคิดการใช้สื่อสารมวลชน ตามทฤษฎีโซเวียตโซเซียลลิสต์ คือ สื่อมวลชนจำเป็นต้องรับใช้พรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น ซึ่งแตกต่างจาก ทฤษฎีเสรีนิยม ที่ปล่อยให้มีการใช้สื่อสารมวลชนอย่างเสรี ถือว่าผู้รับมีวิจารณญาณในการเลือกรับข่าวสารตามความต้องการในการบริโภค  ทฤษฎีอำนาจนิยม ก็เป็นการใช้สื่อสารมวลชนตามความต้องการของรัฐที่มีอำนาจกำกับดูแล ทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็ใช้สื่อสารมวลชนโดยตั้งอยู่บนฐานคิดที่่ว่า สื่อต้องมีความคิดรับผิดชอบต่อสังคมมีการกำกับดูแลกันเอง กรณีประเทศจีน ถือว่า ชัดเจนมากที่เดินตามแนวคิดที่ว่า สื่อสังคมออนไลน์ต้องรับใช้พรรคคอมมิวนิสต์ เท่านั้น  จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า เมื่อไปประเทศจีน ใช้ Facebook ไม่ได้ ใช้ Yutube ไม่ได้ ใช้ mail.yahoo.com ไม่ได้ และอื่นๆ ที่เป็นการสื่อสารแบบควบคุมไม่ได้ แต่ทางการจีน จะพัฒนาสื่อของตนเองขึ้นมา โดยให้ลงท้ายด้วย .cn ซึ่งหมายถึง จีนควบคุมได้ทั้งหมด การกระทำเช่นนี้ มิได้หมายความว่า ประเทศจีน จะปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร หรือกลัวประชาชนจะรับรู้ข่าวสารมากเกินไป  แต่หากพิจารณาแล้ว ทุกวันนี้ ต้องยอมรับว่า ประเทศมหาอำนาจในโลกเสรีประชาธิปไตย ก็มียุทธศาสตร์การรบแบบ สงครามจิตวิทยา มีการโฆษณาชวนเชื่อแบบแยบยลระดับขั้นเทพ ค่อยๆ สร้างกระแสวัฒนธรรมของวิถีคิดแบบซึมลึกระยะยาว ค่อยๆ เปลี่ยนแนวคิดเชิงสังคม กำหนด "วาทกรรม" ใหม่ปล่อยผ่านสื่อ โดยสำนักสื่อที่โด่งดังทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น CNN  BBC  NHK อัลจาชีล่าร์ หรืออื่นๆ ล้วนแล้วแต่เป็น "ผู้เปิดประตู" ที่จะปล่อยข่าวสารหรือ "วาทกรรม" ออกมาเท่านั้นเอง ประเทศเล็ก ที่หวังจะใช้สื่อเพื่อสร้างกระแส สร้างอิทธิพลทางความคิดต่อสังคมโลก ยากมากที่จะกระทำได้ แต่ประเทศใหญ่ๆ ทำได้ ประเทศเล็กจะทำได้ก็ต่อเมื่อ มีเงินทุนมหาศาล หรือ ไปเอื้อประโยชน์กับประเทศมหาอำนาจเหล่านั้นเท่านั้นแหละ 

คำถามจึงมีอยู่ว่า แล้วจะทำอย่างไรกับการสร้าง "ความรู้เท่าทัน" ของประชาชนให้รู้เท่าทันกับการบริโภคข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างทั่วถึง ระบบการศึกษา จะหวังพึ่งได้บ้างไหมหนอ ??

 

หมายเลขบันทึก: 546583เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 01:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 สิงหาคม 2013 01:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

น่าสนใจมากครับ เราควรตามสื่ออย่างเท่าทันและไม่เป้นทาสของสื่อครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท