แยกกาย ดูจิต คลายจิต พระธรรมเทศนา ของพระไพศาล วิสาโล และคณะ


อาทิตย์อัสดงฉบับที่ 16 ประจำเดือนเมษายน -มิถุนายน 2556 หน้า29-30 

ที่น่าสนใจคือ เมื่ออ่านบทความนี้ทำให้เห็นความงดงามของจิตใจผู้ทำหน้าที่ช่วยชีวิตคนให้หายจากโรคภัยต่างๆ

และสะท้อนให้เห็นความพยายามของการให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยทั้งด้านการรักษาโรคต่างๆ

และฉันไม่แน่ใจว่า ทางการแพทย์แผนโบราณเรียกว่าธาตุพิการหรือไม่

ความเจ็บป่วยทางกายของคนๆหนึ่งอาจมีผลกระทบมากมายทั้งด้านครอบครัว สังคม และนำมาซึ่งปัญหาเศรษฐกิจและอื่นๆได้

พระไพศาลวิสาโลได้เทศนาธรรมไว้ในบทความเรื่อง แยกการดูจิตคลายเจ็บไว้ในคอลัมภ์ ถาม-ตอบ ทุกมิติความตายกับชีวิต

ฉันขออนุญาตคัดลอกมาทั้งหมดดังต้อไปนี้ค่ะ

พระไพศาล : วิธีการดูจิต หรือเจริญสติเป็นเรื่องไม่ยาก ถ้าไม่ไ้ฝึกฝนมาก่อน จะทำได้ยาก อาตมาจึงพูดเป็นเรื่องท้ายๆ

ในเบื้องต้น สิ่งที่น่าทำก่อนก็คือ

- การให้กำลังใจเขา ทำให้เขารู้สึกดี เช่น ให้ความรักความเมตตาแก่เขา ความมีน้ำใจของเราเป็นสิ่งแรกที่ผู้ป่วย

สามารถสัมผัสได้ ถ้าเริ่มต้นตรงนี้ก่อนก็จะช่วยให้เขาคลายความกังวล

-แนะนำให้เขาลองสังเกตความเจ็บปวดดู แต่ไม่ต้องถึงกับแยกกายแยกจิตออกมา เพราะศัพท์นี้อาจทำให้ดูเป็นเรื่องยาก

แต่ให้สังเกตดูกาย ดูปฏิกริยาที่เกิดขึ้นกับกาย เช่นลมหายใจ การเต้นของหัวใจ รวมทั้งสังเกตอารมณ์ ความรู้สึกของตน 

ที่แรกเขาอาจทำได้ไม่ต่อเนื่องหรือทำไม่ค่อยได้ เช่น ทำไปสักพักก็ไปปักตรึงอยู่กับความเจ็บปวดนั้น

แต่หากทำบ่อยๆก็จะทำให้คล่องขึ้น อย่างไรก็ตามอาตมาคิดว่าต้องใช้หลายวิธี อย่างคนบางคน เขามีความโกรธกังวล

เขามีความทุกข์ใจ เราก็ต้องช่วยเขาหาด้วยว่าเขามีอะไรอยู่ในใจหรือเปล่า เพราะถ้ามีความกังวล

ความเครียดก็จะทุกข์มากขึ้น ปวดมากขึ้น

เดี๋ยวนี้คนมีความเครียดความกังวลมาก ทำให้เกิดอาการอย่างหนึ่ง คือใจสั่น หายใจไม่เต็มที่

หนึ่งในสี่ของคนที่ไปหาหมอ จะมีอาการพวกนี้มาก เกิดความกังวลเรื่องหนี้สิน เรื่องลูก เรื่องสามี ถ้าเราเข้าใจ

และพยายามคุยกับเขา คุยกับเขาไม่ใช่แค่เรื่องอาการทางกาย แต่คุยเรื่องอื่นด้วย เหมือนกับที่อาตมาเล่าถึงหมอ

ที่ขอให้คนไข้พูดเรื่องชีวิตของเขา แทนที่จะพูดแต่เรื่องอาการ

บางทีชีวิตเขาอาจมีปมบางอย่าง ซึ่งทำให้เจ็บปวดขึ้นมา

เป็นความเจ็บปวดเพราะปัจจัยที่เรียกว่าจิตสังคม (psychosocial)ไม่ใช่ทางกายภาพ (physical) เลยก็ได้

ตรงนี้ถ้าเราทำให้เขาคลายความรู้สึกดังกล่าวก็จะช่วยได้มาก คือมันมีหลายวิธีแต่อยากจะแนะนำการดูความเจ็บปวด

ก็ต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนไป อย่างที่คุณหมอวิธานแนะนำคนไข้ เริ่ีมจากการให้คะแนความกลัว วิธีนี้คอยสังเกตความกลัว

ไม่จมอยู่กับความกลัว แต่เราเป็นผู้ดูมัน แล้วก็ลองยอมรับมัน วิธีนี้ใช้กับความปวดได้ดีด้วย แต่ความปวดจะยากกว่า

การดูความกลัวกับการดูความปวดนั้นต่างกัน ดูความกลัวอาจจะง่ายกว่าดูความปวด เพราะความปวดมีแรงดึงดูดมากกว่า

วารสารธรรม(ะ)ชาติบำบัด

ปีที่ 4 ฉบับที่ 10 พศ. 2555

ขอบคุณจดหมายข่าวการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย : อาทิตย์อัสดง 

 

หมายเลขบันทึก: 546523เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 10:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ขอบคุณที่ให้ความรู้ดีๆสู่กัน..บุญรักษานะคะ

ขอบคุณเช่นกันค่ะ ที่แวะมาแลกเปลี่ยนนะคะ

ขอบคุณดอกไม้กำลังใจจากทุกๆท่านค่ะ

เป็นข้อเขียนที่ดีมากเลยครับพี่ครูต้อย

ขอบคุณที่แวะมาอ่านค่ะอ. ณัฏฐวัฒน์

ขอบคุณน้องอ.ดร.3ขจิตค่ะ

พระไพศาลท่านเขียนธรรมะอ่านเข้าใจง่าย

เป็นประโยชน์ต่อสาธุชนมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท