ว่าด้วยเรื่องของการตั้งหลัก(คิด)


ในมุมของของ การถกกัน เถียงกัน อภิปรายกัน ค่อนข้างนำมาซึ่งทางออกที่ดีของทุกปัญหา

การเปิดใจ พูดคุยโดยใช้หลักการ อธิบายถึงเหตุและผลของแต่ละฝ่ายจึงน่าจะนำมาซึ่งความเข้าใจกันของทุกฝ่าย

ก่อนอื่น ผมมองว่าต้องมีหลักคิดในมุมมองเดียวกันก่อน ไม่ว่าเราจะพูดคุยหรือถกอะไรกัน ทุกฝ่ายต้องมีหลักคิดเดียวกันซะก่อน

ไม่งั้นหากแต่ละฝ่ายคิดไปกันคนละหลัก จะถกกันยังไงแบบไหนก็จะได้ความเข้าใจกันในคนละแบบ

ผมมองว่าปัญหาของบ้านเราทุกวันนี้ เกิดจากการที่แต่ละฝ่ายมีหลักคิดที่แตกต่างกัน (อย่างสิ้นเชิง)

ฝั่งหนึ่งมองไปซ้าย อีกฝั่งหนึ่งมองไปทางขวา ... พูดคุยแบบไหนก็ไม่มีทางบรรจบพบเจอกัน

ที่จริงเราต้องตั้งหลัก(คิด)ก่อน ว่าประเทศเราเป็นแบบไหน เราเป็นประชาธิปไตยจ๋าเลยหรือเปล่า?

รับฟังเสียงสัมคมน้อยไปหรือไม่? หรือต้องการให้สังคมเข้าใจระบอบการปกครองของเราให้ถ่องแท้หรือไม่?

เราเข้าใจและเคารพกฏหมายของเราเท่าเทียมกันหรือไม่?

ในเมื่อฝั่งหนึ่งมองว่าประชาธิปไตย คือ เสียงข้างมาก แต่อีกฝั่งมองว่าประชาธิปไตยต้องรับฟังเสียงข้างน้อย

เรากำลังมีปัญหาในเรื่องของตรรกะอย่างสุดโต่ง มันถึงต้องทำความเข้าใจกับสังคมให้ชัดเจน

ว่าตีความประชาธิปไตยว่ามันคืออะไร? การที่เราไม่ตั้งหลัก(คิด)แล้วทำความเข้าใจกันก่อน ถึงถกกันไปมันก็ไร้ผล

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน box
คำสำคัญ (Tags): #หลักคิืด
หมายเลขบันทึก: 546521เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 10:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 สิงหาคม 2013 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท