สื่อสารอย่างไร ให้ได้ใจ ได้ปัญญา


เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา ลูกสาวได้โทรศัพท์มาคุยรายงานผลเรื่องการเดินทางไปกรุงเทพฯ เธอบอกว่า นั่งรถนานมากกว่าจะถึงกรุงเทพฯ พอไปถึงกรุงเทพฯ จะต่อแท็กซี่ยกกระเป๋าขึ้นหลังรถแล้ว คนขับบอกค่ารถแบบเหมา ๒๕๐ บาท เลยไม่ตกลง
ยกกระเป๋าลง เลยเรียกวินมอเตอร์ไซค์ เรียก ๑๒๐ บาทก็เลยตกลงนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไป 

 

      ผมฟังเสร็จ ผมก็พูดออกไปว่า“ดีแล้วลูก เราจะได้ประสบการณ์” ลูกสาวผมตอบกลับมาด้วยน้ำเสียงขุ่นๆ ว่า
“พ่อไม่ได้ฟังเลยนะเนี่ย”

 

       บทเรียนตรงนี้ ทำให้ผมต้องกลับมาทบทวนตัวเอง แล้วก็ให้นึกถึง การวิเคราะห์การสื่อสารแบบ TA
( Transactional analysis) ลูกสาวผมสื่อสารด้วยสภาวะจิตแบบผู้ใหญ่ Adult ego state แต่ผมฟังและโต้ตอบด้วยสภาวะจิตแบบพ่อแม่ Parent ego state ลูกสาวผมฟังแล้วก็เกิดการขัดแย้งต่อต้าน เพราะเธอต้องการให้มองเธอเป็นผู้ใหญ่ แต่ผมมองเธอเป็นเด็ก

 

 

 

ตรงนี้ ในชีวิตจริง ในสังคมรอบๆ ตัวทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
ก็มีการสื่อสารทั้ง ๓ แบบ  

ถ้าจับความรู้สึกในการสื่อสารได้ว่า ผู้พูดในสภาวะจิตแบบใด
เราจะได้โต้ตอบได้ถูกต้อง ซึ่งรายละเอียด จะไม่ขอหยิบยกมา ณ
ที่นี้ เพราะมีรายละเอียดมากมาย แต่จะขอหยิบยกมาสภาวะจิตเดียวที่เป็นปัญหาในการสื่อสาร ที่นำไปสู่ความขัดแย้ง และ
เป็นการสื่อสารที่เป็นอุปสรรคในการพัฒนา ก็คือ
การสื่อสารในลักษณะเดียวกับกรณีตัวอย่างของผมเอง ที่ผมหยิบยกมานั่นคือ ผู้พูด พูดด้วยสภาวะจิตแบบผู้ใหญ่ แต่ผู้ฟังโต้ตอบด้วยสภาวะจิตแบบพ่อแม่

 


การสื่อสารดังกล่าว ผู้พูดไม่รู้ตัวว่าตัวเองสื่อสารผิดพลาด
คิดว่าตัวเองสื่อสารด้วยความปรารถนาดี แต่เป็นเป็นความปรารถนาดีที่ทำให้ผู้อื่นต่ำต้อย ไม่เห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของคนอื่น

 


มักเกิดขึ้นได้อย่างบ่อยๆ เช่น

 


พ่อแม่กับลูก

 
ครูกับนักเรียน

 
นายกับลูกน้อง


นักวิชาการกับผู้ปฏิบัติงาน

 
วิทยากรกระบวนการกับผู้ร่วมเวที

 

แม้กระทั่งเพื่อนกับเพื่อน

 


เมื่อผู้พูด พูดด้วยสภาวะจิตแบบผู้ใหญ่ แสดงว่าเขาเป็นตัวของตัวเอง เขาต้องการให้ยอมรับในศักยภาพของเขา ยอมรับในศักดิ์ศรีและคุณค่าของเขา

 


ถ้าคนฟัง ฟังและโต้ตอบด้วยสภาวะจิตแบบผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน ศักยภาพของเขาก็จะเบ่งบานและเติบโต จะได้ทั้งใจ และ ได้ทั้งความคิด จากการฟังแบบผู้ใหญ่ ที่ใส่ใจในศักดิ์ศรีและคุณค่าของเขา

 


เป็นการสื่อสารแบบ I am O.K.   You are O.K.

 


แต่ถ้าฟังและโต้ตอบกลับไปแบบสภาวะจิตแบบพ่อแม่ ก็จะไม่ได้ทั้งใจ ไม่ได้ทั้งความคิด และไม่ได้ทั้งงาน และต่อไป เขามีอะไร
เขาก็จะไม่พูดให้ฟัง เพราะรู้ว่าพูดไปก็ไม่มีใครฟัง หรือฟังแล้วก็มาสอนให้เขาต้อยต่ำลงไปอีก

 


เป็นการสื่อสารแบบ I am O.K.   You are not O.K.

 

และ  จากประสบการณ์ที่ผ่านมาพบว่า เรามักจะสือสารกันแบบ I am O.K. You are not O.K.  กันมากมาย  ทั้งเรื่องงาน  เรื่องอบรม  เรื่องพัฒนา

 

การพัฒนาจึงไม่ค่อยได้ใจ  ได้ปัญญา และ  ได้งาน

 

 

คำสำคัญ (Tags): #transactional analysis
หมายเลขบันทึก: 546214เขียนเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 10:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 สิงหาคม 2013 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

 

 

....เห็นด้วยอย่างมากค่ะท่าน ...การพัฒนา...ต้องทำด้วนใจ .... ด้วยปัญญา ....จึงจะได้งาน ... อย่างเต็มที่จริงๆๆ ค่ะ

 

 

ขอบคุณบันทึกดีดีนี้ค่ะ

กำลังหาชุดความคิด

เพื่อถอดโจทย์...ชีวิตตรงนี้พอดีค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

สวัสดีครับท่านรองฯวิชชา

   ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันครับ

ขอบคุณมากครับ Dr.Ple        ที่เข้ามาเยี่ยมชมและให้กำลังใจ

ขอบคุณมากครับ คุณ Tawandin เชิญมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันครับ มาหาชุดความคิดร่วมกันครับ

 

                 ขออภัยด้วยครับ ผม Cpoy ภาพ คุณ Tawandin ลงมาไม่ได้

 

ขอบคุณมากครับ  อ.คมสัน  เข้ามาทักทายเยี่ยมเยียน

ขอความรู้ค่ะ ช่วยยกตัวอย่างคำตอบที่ควรตอบกับลูกหน่อยได้ไหมค่ะ

หากเป็นคิดเอง หากเป็นตัวเองคงฟังเสร็จ ก็คงบอกลูกว่า "ลูกคงเหนื่อยมากเลยเนอะ " และอาจต่อด้วยการชื่นชมในความพยายามแก้ปัญหาโดยการเดินทางไปลำพังของเขา

แบบนี้พอได้ไหมค่ะ หลักการพูดแบบ I am o.k. You are o.k. คืออะไรคะ

คุณคุณแม่ดีดี ครับ ก่อนอื่นต้องจับความรู้สึกก่อนครับ ว่าลูกรู้สึกอย่างไร และ ลูกต่องการอะไร ที่สื่อสารมาก็ตรงเลยครับ ที่ว่า

ลูกคงเหนื่อยมากเลยเนอะ " และอาจต่อด้วยการชื่นชมในความพยายามแก้ปัญหาโดยการเดินทางไปลำพังของเขา

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท