มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

Reflective Journal: การบ้านที่ชอบที่สุด


เขียนถึงวิธีการเรียนการสอนของที่นั่นให้ทราบบ้างก็ดีนะครับ เพื่อจะได้เอาสิ่งดีๆ มาปรับใช้ในไทย - ฉัตรชัย สร้อยสุวรรณ

มาตามคำขอค่ะ

วันนี้จะมาเขีนนถึงวิธีการเรียนาการสอนที่นี่ที่คิดว่า กลับไปเมืองไทยจะเอาไปใช้กับนักเรียนแน่ๆ

ตอนปี 2 ได้เรียนวิชา "Aging from an interdisciplinary perspective"    ซึ่งมีลักษณะการเรียนการสอนเป็น seminar มีนักเรียนประมาณ 20 กว่าคน ทั้ง grad และ undergrad ปี 4 มาจากทุกคณะในสาขา health science รวมทั้ง social work ยกเวัน นักศึกษาแพทย์ (ซึ่งทุกคนบ่นเสียดายมาก เพราะเพื่อนร่วมงานกลุ่มสำคัญขาดไป นศพ.ตารางเรียนแน่นมาก ทางคณะแพทย์บอกว่าไม่สามารถจัดตารางให้ว่างมาลงวิชานี้ได้เลย)  

ส่วนอาจารย์ที่สอนประจำมี professor 4 ท่าน คือ จิตแพทย์ 1 ท่าน (Psychaitrist ที่เชี่ยวชาญด้าน mental health และ fall prevention), พยาบาล 1 ท่าน (เชียวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย dementia), นักสังคมสงเคราะห์ 1 ท่าน (เชี่ยวชาญด้านการ ดูแลผู้ป่วยและญาติผู้ป่วย dementia เช่นกัน), แล้วก็ท่านสุดท้ายคือ ทันตแพทย(อ.ที่ปรึกษาเราเอง ท่านเชี่ยวชาญทางทันตกรรมผู้สูงอายุ และ Quality of life)

วันแรกที่มาเรียน มีวิทยากรมา  5 ท่าน เป็นผู้สูงอายุ ทั้งหญิงชายเกย์ คนขาว คนเอเชีย คนนึงเป็นศาสตราจารย์คณะนิติ อีกคนเป็นแม่บ้านจบ ป. 6 บางคนเดินได้ บ้างใช้ไม้เท้า บางคนนั่งรถเข็น หลากหลายมาก

Theme ของวันคือ ข้างในใจของท่านเหล่านี้ท่านรู้สึก "แก่" ตอนอายุเท่าไหร่ อะไรคือ aging ประสบการ์ส่วนตัวที่ผ่านช่วงอายุ 65 ขึ้นมาเป็นอย่างไรบ้าง

สนุกมากค่ะ วิทยากรเป็นกันเอง คุยกันสนุกสนานเป็นส่วนมาก ซึ้งบ้างเศร้าบ้างบางขณะ  เป็นอันว่า ชม.แรกจบลง นร.มีความรู้สึกกลับบ้านไปว่า คนแก่นี่มีหลายแบบนะ อย่างไปเหมารวม ว่าต้องเหมือนกันหมด แต่ละคนก็มีประวัติชีวิตต่างกัน                       แล้ว 65 นี่ไม่แก่เลย วิทยากรคนที่อายุมากที่สุดท่านอายุ 97   เดินไม่ค่อยไหวแล้ว แต่คุยรู้เรื่องไม่หลง เสียงดังฟังชัดเพราะ สอนหนังสือมาตลอด (ในสัมมนามีการคุยกันต่อว่า อายุเกษียณ 65 นี่อาจจะต้องเปลี่ยนแล้ว) และถึงแม้ร่างกายของท่านเหล่านี้ อาจไม่แข็งแรงมาก แต่ในใจท่านอาจไม่ได้รู้สึก "แก่"เสมอไป วิทยากรทุกคนพูดตรงกันว่า

"สิ่งที่ทำให้รู้สึกแก่คือ ความเจ็บปวดทางกาย และ ความเหงา"

นั่นคือชั่วโมงแรก

ที่นี่มาพูดเรื่อง การบ้านบ้าง (โยงเข้าหัวข้อซักที) 

การบ้านวิชานี้มีหลายชิ้น แต่ชิ้นที่แจกชิ้นแรกคือให้เขียนบันทึก เป็น refelctive journal ทุกอาทิตย์ อาทิตย์ละหน (weekly entry) แล้วส่งปลายเทอม ยอมรับว่าตัวเองขี้โกงบ้าง บางทีเก็บไว้ สองสามอาทิตย์เขียนที เขียนย้อนหลังเอา แต่โดยรวมแล้ว เป็นการบ้านชิ้นที่ทำแล้วสนุก และเห็นประโยชน์มากที่สุดเท่าที่ได้เรียนมาชิ้นหนึ่งเลยทีเดียว

สาระสำคัญๆคือ ในบันทึกนี้ นร. ต้องเขียน

  •  ว่าคิดอย่างไรกับหนังสือหรือบทความอ้างอิงที่ให้อ่านก่อนมาเข้า seminar แต่ละอาทิตย์ และ ได้เรียนรู้อะไรบ้าง เอาทฤษฎีไปประยุกต์ใช้กับชีวิตจริงได้อย่างไรบ้าง (พอเข้า seminar ก็คุยกันว่าที่อ่านคิดมามาเป็นไง เสริมกับกิจกรรมอื่นๆที่อ. หรือวิทยากรที่มาสอนเตรียมไว้ )
  • บันทึกว่าใน seminar อาทิตย์นั้นๆ มีกิจกรรมอะไร ใครพูดอะไรแล้วประทับใจหรือขัดใจ คิดสะท้อนว่าทำไมเราคิดอย่างนั้น มีมุมมองอื่นมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ไม๊
  • แล้วเอกสารอ้างอิงที่ให้อ่าน กับ กิจกรรมในห้องรวมๆแล้วเราเรียนรู้อะไรบ้าง ทำให้เราคิดถึงเหตุการณ์อะไรในชีวิตที่ผ่านมาไม๊ เอาไปใช้กับชีิวิตจริง หรือ ใช้ในวิชาชีพได้อย่างไร

บันทึกครั้งนึง (each entry) ก็ราวๆ 2-5 หน้า A4                     พอจบเทอม อ. เอาไปอ่าน ตอนแรกเราก็คิดว่าจะอ่านหมดเหรอ นร.ก็หลายคน ปรากฏอ่านละเอียดมาก มีเขียนกลับมาติชมและแนะนำเพิ่มเติ่ม  ได้คิดอะไรเพิ่มขึ้นไปอีก (กะอีแค่ตอนเขียนก็ได้คิดมากๆแล้ว ได้เข้าใจว่าตัวเองคิดอะไร ตัวเองมีความเชื่อลึกๆยังไง  มีจุดยืนตรงไหนในเรื่องต่างๆที่คนมักเถียงกัน)

สรุปงานนี้ ชอบมากๆ ได้ประโยชน์มากๆ                  ทั้งในกระบวนการทำการบ้าน แล้วก็ผลลัพธ์บั้นปลาย  

จำได้ว่าตอนที่เป็น PBL Tutor สอนวิชาชุมชน เมื่อสี่ห้าปีก่อน อ.คณะแพทย์ให้นร.ไปสำรวจหมู่บ้าน สัมภาษณ์ชาวบ้าน แล้วมาเขียน fieldnote แตตอนแรกนั้น่นร. ก็ไม่เข้าใจว่าให้เขียนอะไร และเขียนละเอียดแค่ไหน วันๆนึงทำอะไรตั้งหลายอย่าง เขียนไปแล้วจะได้อะไรนอกจากบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น

ตอนที่ อ. ที่นี่สั่งในห้องเรียนว่าให้เขียน reflective journal นั้น               ปฏิิิกริยานร.ที่นี่ก็ไม่ต่างกับ นร. แพทย์/ทันตแพทย์ที่เมืองไทยตอนนั้น

หลายคนยกมือว่า "เขียนยังไง?" 

ถ้ามีใครจะลองให้นร. เขียนบันทึกที่สะท้อนความคิดแบบนี้ เราขอแนะนำว่าให้เขียน guideline บอกวิธีเขียนไปด้วยจะช่วยนร.ได้มากค่ะ

ตัวอย่างโจทย์/คำสั่งที่จะให้นร.ก็คือ ข้อๆ point-form ข้างบนที่เราบรรยายไป วิธีเพิ่มเติมที่เราใช้ส่วนตัวคือ แบ่งแยก fact กับ opinion ให้ชัดเจน โดยเวลาพิมพ์บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้น หรือ เนื้อหาเอกสารอ้างอิงที่ย่อมาจะใช้ตัวอักษรปกติ                            ส่วนเวลา reflect วิเคราะห์ ใส่ความคิดเห็นตัวเองจะพิมพ์เป็นตัวเอียง 

โอเคค่ะ วันนี้แค่นี้ก่อน วันหลังจะมาเล่าเรื่องการเรียนการสอนวิชาอื่น หรือวิชานี้แต่ชม. อื่นๆ อีกค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 54544เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2006 05:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ดีใจที่ได้มาเจอ blog นี้ ....ทำให้ได้อะไรดีๆ มากเลยครับ ผมได้ลองเข้าไปใน web Presentation Zen ที่หมอมัทนา comment ไว้ใน http://beyondKM.gotoknow.org แล้ว ค่อนข้างเป็นประโยชน์มาก ....อยากทราบว่าที่ใน keywords ของหมอมีคำว่า "ระยอง" นั้นหมายถึงอะไร? ...ถามดูเผื่อว่าเป็นคนจังหวัดเดียวกัน ....จะติดตามอ่านต่อไปครับ ขอเอาใจช่วยให้เรียนจบ กลับมาเร็วๆ สังคมไทยคงจะได้ครูดีๆ อีกคนหนึ่ง !!

มาย้อนอ่านบันทึกครับ...

น่าสนใจมาก เพราะเวลาสอนสถาปัตยกรรมก็เคยให้นักเรียนเขียนคล้ายๆแบบนี้ เป็นประโยชน์แต่ยังไม่สำเร็จดี...คงต้องทำ format ให้ลองดู คิดและวิเคราะห์ให้เป็น...ส่วนใหญ่ก็ในวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมนะครับ...

โอชกร

โอ้ ไม่ได้เข้ามาเลยเพิ่งทราบว่ามี comment อ. ประพนธ์ มันไม่ขึ้นใน ศูนย์รวมข้อมูล  แต่ได้ทาง email ตอนที่อ. โจ โอชกร comment

ขอบคุณอ.ทั้งสองมากๆนะคะ

ไปลองใช้แล้วได้ผลอย่างไรมาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ : ) 

ตามมาอ่านบันทึกนี้ตาม link ที่ อ.มัท ให้ไว้ค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้ reflection ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

ส่วนตัวมีความเห็นว่า วิธีการนี้ อยู่บนพื้นฐานของวิธีคิดเรื่อง implicit และ expicit knowledge ที่เชื่อว่า ผู้เรียนทุกคนล้วนแล้วแต่มีความรู้ ที่อยู่ภายในตัวเองทั้งสิ้น ไม่มากก็น้อย การที่เราได้เรียนรู้จากภายนอก ความรู้นี้ก็จะเข้าไปผสมผสานกับความรู้ที่มีอยู่เดิม ลงตัวบ้าง ไม่ลงตัวบ้าง แต่สุดท้ายก็จะเป็นผลสะท้อนออกมา เกิดเป็นความรู้ใหม่ ที่สะสมอยู่ในตัวผู้เรียน.... KM เลยต้องให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไงคะ (ตามความเข้าใจนะคะ)

น่าแปลกและน่าเศร้าใจ ที่ในสถาบันการศึกษาที่เรา(อ.มัท และ ตัวเอง)คุ้นเคย ยังมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการประเมินผล ที่เชื่อว่า ดอกผลของการเรียนรู้ต้องมีหน้าตาออกมาเหมือนๆกัน แต่เพียงอย่างเดียว ทั้งๆที่อีกส่วน(ใหญ่) เป็นการผลิดอกออกผลการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนเองต่างหาก นักเรียนของเราเลยเป็นทุกข์

อ.มัท ได้พิสูจน์การเรียนแบบ reflection ด้วยตัวเองแล้ว...จริงไม๊คะ :)

สวัสดีครับอาจารย์มัทนา

โชคดีที่แวะเข้ามาเจอพอดีเป็นแนวในการเขียน การบ้าน reflective journal วันนี้พอดี

แต่.. ดึกป่านนี้ผมยังเขียนไปไม่ถึงไหนเลย --''

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท