beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

สร้างสุขจากวิธีคิด <๓> : วาทะบีแมน "เงินเดือนน้อยเงินเดือนมาก, เงินเดือนมากเงินเดือนน้อย"


การมีเงินเดือนน้อย ถ้ารู้จักใช้ การมีเงินเดือนน้อยก็เหมือนกับการมีเงินเดือนมากได้เหมือนกัน

    บีแมนมีอาเขยอยู่คนหนึ่ง อาเขยคนนี้ได้แต่งงานกับน้องสาวของแม่คนที่สอง และเป็นผู้ให้กำเนิดบุคคลสำคัญในวงการสาธารณสุขคือ นายแพทย์วิชัย โชควิวัฒน

    อาเขยคนนี้ เคยค้าขายอยู่ที่ตลาดบ้านนา มีคติการค้าขายว่า "กำไรน้อย กำไรมาก, กำไรมาก กำไรน้อย" ซึ่งมีความหมายในเชิงการค้าการขาย ว่า

  1. "กำไรน้อย กำไรมาก" : ถ้าขายของเอากำไรจากของแต่ละชิ้นน้อยๆ ก็จะขายได้มากชิ้น เมื่อขายได้มากชิ้น ก็จะำได้กำไรมากไปเอง
  2. "กำไรมาก กำไรน้อย" : ถ้าขายของเอากำไรจากของแต่ละชิ้นมากๆ ก็จะขายได้น้อยชิ้น เมื่อขายได้น้อยชิ้น ก็จะได้กำไรน้อยไปเอง

   บีแมนเลยขอยืมคำนี้มาแปลงใหม่ว่า "เงินเดือนน้อยเงินเดือนมาก เงินเดือนมากเงินเดือนน้อย"

   ความหมายก็เป็นเรื่อง เงินๆ ทองๆ เหมือนกัน

   ตามความคิดเห็นของบีแมน "ไม่มีถูกไม่มีผิด"

  1. การมีเงินเดือนน้อย ถ้ารู้จักใช้ การมีเงินเดือนน้อยก็เหมือนกับการมีเงินเดือนมากได้เหมือนกัน
  2. การมีเงินเดือนมาก ถ้าไม่รู้จักใช้ การมีเงินเดือนมากก็เหมือนกับการมีเงินเดือนน้อยได้เหมือนกัน

    บีแมนคิดมาหลายปีแล้วว่า การที่เรามีเงินเดือนน้อย (เมื่อเทียบกับคนรุ่นราวคราวเดียวกัน-ที่เขามีเงินเดือนมากกว่าเรา ไม่ไปเปรียบเทียบกับคนที่เงินเดือนน้อยกว่าเรา) เป็นการสร้างสถานการณ์อย่างหนึ่ง ทำให้เราถูกกดดันจากสิ่งรอบข้าง ดังนั้นเราต้องเอาชนะใจของตัวเองในเรื่องเหล่านี้ และทำให้เราค้นคิด สารพัดวิธีสร้างความประหยัดขึ้นมาได้ ซึ่งได้ซ่อนไว้ในหลายบันทึก โดยเฉพาะบันทึกที่มี Keyword/tag ว่า "ครอบครัวตึ๋งหนืด"

   สรุปว่า ก่อนจะคิด วาทะนี้ บีแมนได้ลองปฏิบัติดูแล้ว ได้ผลดีเป็นที่น่าพอใจ และชีวิตของบีแมนก็จะตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ในการบริหารการเงิน...มีหลายคนเชียร์ให้บีแมน "ทำผลงาน" เพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน แต่บีแมนก็ไม่ยอมทำ เพราะมีวิธีคิดที่แตกต่าง ไปจากคนอื่นๆ นั่นเอง

หมายเลขบันทึก: 544993เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2013 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 สิงหาคม 2013 23:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจวิธีคิดที่อาจารย์พูดถึงจังค่ะ เพราะคิดว่าตัวเองอาจจะมีแนวคิดเดียวกับอาจารย์ แต่ไม่อยากคิดออกมาดังๆเพราะความคิดเราเมื่อเทียบกับคนอื่นแล้วออกจะประหลาดเอาการอยู่ค่ะ

  • ยินดีครับที่มีเพื่อนที่คิดคล้ายๆ กัน
  • ความคิดแบบ "ประหลาด" แบบนี้ ยากที่จะอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ
  • แต่เราก็สบายใจดีครับ
  • บางทีผมเห็นความแตกต่าง ระหว่างข้าราชการที่เป็นสายการสอนกับสายสนับสนุน (ที่มีอายุงานพอๆ กัน)
  • ถ้าเราคิดหารายได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ (เพราะค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพเพิ่มขึ้น) ก็คงไม่พ้นเรื่องของ "ขอรับท่าน" ครับ..อิอิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท