การสอนอ่านและเขียน: พัฒนาทักษะกระบวนการ


การสอนอ่านและเขียน: พัฒนาทักษะกระบวนการ


เฉลิมลาภ ทองอาจ

โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ฝ่ายมัธยม

คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


                  นักเขียนการ์ตูนชื่อก้องคนหนึ่งเคยกล่าวว่า  “แม้เราจะทราบความหมายตามตัวอักษรของคำที่เราอ่านทุกคำ  แต่บางครั้งประโยคเหล่านี้ ก็หาได้ทำให้เกิดความรู้สึก หรือมีความหมายใด ๆ ต่อเราไม่”  (I know all those words, but that sentence makes no sense to me-Matt Groening)  ข้อความนี้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงของภาษาว่า  ภาษามีมิติที่ทับซ้อนกัน ระหว่างภาษาที่ปรากฏในโลกแห่ง  ความจริง อันได้แก่ ภาษาพูดหรือภาษาเขียน  กับภาษาที่บรรจุอยู่ในระบบความคิด ด้วยเหตุนี้  ผู้อ่านจะเข้าใจความหมายของสิ่งที่อ่านก็ต่อเมื่อเชื่อมโยงภาษาทั้งสองมิติได้  การพัฒนาความสามารถทางภาษาของผู้เรียน  จึงต้องดำเนินการทั้งในสองส่วนนั้นควบคู่กันไป 

                   ทักษะหรือความสามารถที่มุ่งพัฒนาในการสอนภาษาไทยที่สำคัญ ได้แก่ การอ่านและการเขียน  ทั้งสองประการนี้ เป็นรูปแบบหนึ่งของการคิด เพราะฉะนั้น ขณะที่ผู้เรียนอ่านหรือเขียนงานใด ๆ   ระบบความคิดของผู้เขียนก็จะทำงานไปด้วย  อย่างไรก็ตาม เพื่อส่งเสริมให้เกิดการคิดมากยิ่งขึ้น  จึงจะขอเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนอ่านและเขียน ทั้งในด้านแนวคิดและเทคนิคการสอน   เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการคิดไปด้วย ดังนี้ 

1.  การสอนอ่าน

แนวคิด

                 การอ่านเป็นกระบวนการรับสาร  ที่ผู้อ่านจะต้องจัดการข้อมูลที่อ่านเข้าไปอย่างเป็นระบบ  และสร้างความหมาย  (making meaning)  ต่อสิ่งที่อ่าน การสร้างความหมายดังกล่าว คือการที่ผู้อ่านบอกได้ว่า เรื่องที่อ่านนั้นเกี่ยวข้องกับอะไร (ความเข้าใจ)  มีประเด็นใดเป็นประเด็นหลัก หรือมีประเด็นใดเป็นข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็น  (การวิเคราะห์) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้การอ่าน ครูจึงควรเน้นกิจกรรม  การอ่านที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบทอ่านให้ได้มากที่สุด  (active reading) ทั้งในช่วงก่อนการอ่าน ระหว่างการอ่านและหลังการอ่าน

ฃ 

เทคนิคการสอน

                  1. ก่อนการอ่าน  ใช้เทคนิคการขยายความคิด (elaboration) ให้ผู้เรียนทบทวนประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่จะต้องอ่าน  เช่น  หากจะให้ผู้เรียนอ่านบทกวี “รักเมืองไทย”  ครูควรสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับ  “เมืองไทยที่ฉันอยากให้เป็น” หรือ “ฉันรักเมืองไทยหรือไม่” จากนั้น เขียนคำตอบของผู้เรียนบนกระดาน แล้วสนทนาเพื่อให้นักเรียนทั้งชั้นร่วมแสดงความคิดเห็น

                  2. ระหว่างการอ่าน  ใช้เทคนิคการตั้งคำถาม (questioning) เพื่อให้ผู้เรียนสังเกตคำ ข้อความหรือประเด็นที่น่าสนใจ  สำหรับคำถามเพื่อพัฒนาความเข้าใจในระดับสูง เช่น

                                1)  ถามความหมายหรือมโนทัศน์  (definition/concept)

                                 2)  ถามวัตถุประสงค์  (purpose)

                                3)  ถามสรุป  (summarize)

                                4)  ถามอ้างอิง (inference) หรือถามเชื่อมโยง (connection)

                3. หลังการอ่าน  ใช้เทคนิค graphic organizer  ให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความคิดในประเด็นต่างๆ  จากการอ่านย่างสร้างสรรค์อมโยงความคิดในประเด็นต่างๆ เป็นแผนภาพที่มีความหมายในลักษณะต่างๆ  วามคิดเห็นาป่ากับลูอดความและขยายความ โดยครูเป็นผเป็นแผนภาพ  หรือแผนภูมิที่มีความหมายอย่างสร้างสรรค์

2.  การสอนเขียน

แนวคิด

               การเขียน คือ การเปลี่ยนความคิดให้เป็นสัญลักษณ์หรือตัวอักษรที่สื่อความหมายได้ ดังนั้น ในการประกอบข้อความใดๆ ผู้เขียนจำเป็นจะต้องมีข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับ 1) รูปแบบของสิ่งที่จะเขียนและวิธีการเขียน  2) สิ่งที่จะเขียน  3) วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเขียน  ความรู้ทั้ง 3 ประการถือว่ามีความสำคัญมากต่อการเขียน ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาผู้เรียนให้เขียนได้ต้องถือหลักการว่า 





            

                1. ผู้เรียนจะต้องรู้เสียก่อนว่า สิ่งที่จะเขียนนั้นคืออะไร มีรูปแบบอย่างไร มีข้อบังคับหรือข้อกำหนดอย่างไรบ้าง 

               2. ผู้เรียนที่จะต้องมีข้อมูลสำหรับที่จะใช้เขียนอย่างเพียงพอ และรู้ว่าหากข้อมูลไม่พอจะค้นคว้าได้จากแหล่งใด

               3. ผู้เรียนจะต้องรู้วิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการเขียนในขั้นตอนต่างๆ และรู้ว่าหากวิธีการที่ใช้อยู่ไม่มีประสิทธิภาพจะเปลี่ยนไปใช้วิธีการใดแทน 

เทคนิคการสอน

                  1.  เรียนรู้รูปแบบงานเขียน   ใช้เทคนิคจิ๊กซอว์  ให้ผู้เรียนพิจารณาองค์ประกอบของงานเขียนส่วนต่างๆ ที่แยกส่วนกัน แล้วจัดเรียงให้ถูกต้อง  เช่น  องค์ประกอบของจดหมาย  องค์ประกอบของเรียงความ องค์ประกอบของความเรียงเชิงบรรยาย  องค์ประกอบของนิทาน ฯลฯ 

                 2.  เรียนรู้ที่จะหาข้อมูลสำหรับเขียน  ใช้เทคนิคระดมสมองประกอบกับเทคนิคแผนภาพความคิด (mind map) ให้ผู้เรียนคิดถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะเขียน  และสนทนากับผู้เรียนถึงแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม

                 3.  เรียนรู้การแก้ปัญหาการเขียน  ใช้เทคนิคการวางโครงเรื่อง (outline) เพื่อให้ผู้เรียนทราบประเด็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อยที่เรียงลดหลั่นลงมาเป็นลำดับ ป้องกันมิให้เขียนวกวนหรือสับสน





                 ครูภาษาไทยจำเป็นจะต้องเข้าใจว่า การสอนอ่านและเขียน และการพัฒนาทักษะการคิดจะต้องทำควบคู่กัน  การอ่านและการเขียนที่มีประสิทธิภาพ จะต้องเริ่มจากการพัฒนาภาษาไทยภายใน หรือระบบความคิดเป็นเบื้องต้นเสียก่อน คือ เตรียมพร้อมผู้เขียนให้มีความรู้พื้นฐานมากเพียงพอ  จากนั้นจึงใช้การฝึกหัดด้วยการอ่านหรือเขียนสื่อหลากหลายประเภท อันเป็นภาษาภายนอก เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว จนเรียกว่ามีความชำนาญ สิ่งเหล่านี้จึงจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การสอนทักษะภาษาทั้งสองด้านประสบความสำเร็จ

__________________________




ความเห็น (2)

ดีจังเลยครับ

ฝึกทั้งการวาดและการเขียน

ผลงานของนักเรียนเป็นชิ้นงานสร้างสรรค์ในวิชาศิลปะ แต่ผมเห็นว่า เด็กจะต้องเขียนบรรยายด้วย เลยได้ไอเดียว่า บางครั้ง การเขียนก็สอดแทรกไปในทุก ๆ วิชา เป็นฐานของการสื่อความครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท