ดนตรีสิ่งที่เราควรใฝ่หา


เสียงที่ผ่านการกล่อมเกลา

ดนตรีคือ "เสียงที่ผ่านการกล่อมเกลา" ประกอบไปด้วยเสียงสูงต่ำ (note) ที่เอามา เรียงต่อกันเป็น ทำนอง (melody) หรือ เรียงทับกันเป็นเสียงประสาน (harmony) ส่วนเรื่องเสียงไหนจะนานเท่าไรนั้น เป็นหน้าที่ของจังหวะ (rhythm) แต่ดนตรีมิใช่เรื่องของเสียงสูงต่ำเพียงอยางเดียว หูเรายังสามารถที่จะ แยกแยะ ความหนักเบา (dynamics) และ "สีสัน" (colour) ของเสียง --- ว่าเสียงนั้นมาจาก เครื่องดนตรีชนิดไหนหรือจากใคร --- อย่างหลังนี้สำคัญทีเดียวเพราะทำนองเดียวกันเล่นผ่านเครื่องดนตรี ต่างชนิดกันจะให้อารมณ์ต่างกันมาก --- เช่น ผ่าน trumpet อาจจะดุดัน ผ่าน piano อาจจะชวนฝัน ในขณะที่ผ่าน saxophone อาจจะหวานซึ้ง.

โครงสร้างของงานแต่ละชิ้นนั้นสามารถที่จะถูกแยกย่อยไปเป็นหน่วยเล็กๆ ได้ 2 ประเภท ได้แก่ phrase ซึ่งประกอบไปด้วย note 6-7 ตัว หรือ motif ซึ่งประกอบไปด้วย note เพียง 2-3 ตัว (ต่างกันเพียง จำนวนนี่แหละครับ) หน่วยหลักสองประเภทนี้จะถูกใช้ซำ้แล้วซ้ำเล่าในงานแต่ละชิ้น จนกระทั่งผู้ฟังจำได้ และ สามารถใช้ในส่วนอื่นๆของงานเพื่อให้รู้สึกว่างานนั้นๆเป็นหนึ่งเดียว (unity) หรือสื่อความหมาย อย่างเช่น note 4 ตัวแรกของ symphony no. 5 ของ Beethoven ที่หลายคนตีความว่าหมายถึง "fate knocking on the door" หรือ note 2 ตัวที่เรียนเสียงนก cuckoo ใน symphony no. 1 ของ Mahler.

แต่พระเอกตัวจริงในดนตรี Classic เห็นจะไม่พ้น theme ไปเสียได้ เพราะถ้าเปรียบงานแต่ละชิ้น เป็นละครเรื่องหนึ่ง theme แต่ละตัวก็เสมือนพระเอก นางเอก ตัวโกง ฯลฯ มันคืออะไรหรือครับ theme ที่ว่า --- ก็ note หลายๆตัวนี่แหละ (อาจจะเป็นสิบๆ) แต่จะเด่นมากจนจำได้ง่ายๆ (ลอง คิดถึงเพลง pop สุดโปรดของคุณสิครับ เนื้อร้องวรรคนึงนั่นแหละประมาณ theme ตัวนึง).

คำสำคัญ (Tags): #ดนตรี
หมายเลขบันทึก: 54420เขียนเมื่อ 13 ตุลาคม 2006 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท