Definitions and Perspectives of Learning


สวัสดีครับท่านผู้อ่านทุกท่าน จุดประสงค์ของสมุดเล่มนี้ (พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้) จัดทำขึ้น เพื่อสรุปทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาการเรียนรู้ให้เข้าใจได้ง่ายๆ เพื่อให้เพื่อนๆที่เรียนหลักสูตร ค.ม. วิชาชีพครู ที่ไม่เคยเรียนทฤษฎีทางจิตวิทยาการเรียนรู้มาก่อน ได้มีความรู้หรือแนวความคิดเบื้องต้น อันจะนำไปใช้ประกอบการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไปได้ ทั้งนี้ เนื้อหาที่นำมาลงจะเป็นการจด Lecture ของผมในสมัยที่ยังเรียนวิชา พื้นฐานจิตวิทยาการเรียนรู้ (Fundamental Psychology of Learning) กับ รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดประการใด ต้องขออภัยล่วงหน้ามา ณ ที่นี้

สำหรับเรื่องแรกที่ผมจะนำมาลงก็คือเรื่อง ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ (Definitions and Perspectives of Learning) ซึ่งมีสาระดังต่อไปนี้

Ø ความสำคัญของการเรียนรู้ (Importance of Learning)

-  มนุษย์ต่างจากสัตว์คือมีการเรียนรู้และส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น

-  ใช้ในการถ่ายทอดองค์ความรู้และต่อยอดองค์ความรู้

หมายเหตุ! สัตว์บางพวกมีการเรียนรู้ เช่น ลิงพันธุ์ของญี่ปุ่น เมื่อมันหาหัวมัน (Cassava Roots) มาได้ มันจะเอาไปล้างก่อนกิน

Ø ความหมายของการเรียนรู้ (Defining Learning)

-  Behaviorism: การเรียนรู้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ เช่น ห้อยจตุคามเพราะเขาห้อยกัน

-  Cognitivism: การเรียนรู้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบความคิดที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งเป็นผลมาจากประสบการณ์ เช่น ห้อยจตุคามเพราะเชื่อว่าจะรวยและโชคดี

หมายเหตุ!  1. Concept ของการเรียนรู้คือ ทุกคนเรียนรู้ไม่ว่าจะเด็กหรือแก่ จะโง่หรือฉลาด เพียงแต่เรียนรู้ช้า-เร็ว ต่างกัน

2. ถ้าไม่ได้เกิดจากประสบการณ์ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสภาวะร่างกายจากไม่ง่วงเป็นง่วง ไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ NO EXP NO LEARNING

3.  คุณเปลี่ยนพฤติกรรมทุกวินาทีที่มีประสบการณ์

Ø เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้นแล้ว

1. มีการแสดงพฤติกรรมใหม่

2. มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วในการทำพฤติกรรม

3. มีการเปลี่ยนแปลงความถี่ในการทำพฤติกรรม

4. มีการเปลี่ยนแปลงความเข้ม, ความรุนแรง, ความตั้งใจ ในการทำพฤติกรรม

5. มีการเปลี่ยนแปลงความซับซ้อนในการทำพฤติกรรม

  1. มีการเปลี่ยนแปลงการตอบสนองต่อสิ่งเร้าเดิม

Principles and Theories of Learning

Ø หลักการ (Principles) บอกว่ามีปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเรียนรู้ และมีผลอย่างไร

Ø ทฤษฎี (Theories) บอกว่าทำไมปัจจัยเหล่านั้นถึงมีผล อธิบายกลไกที่ทำให้เกิดการเรียนรู้

  ประโยชน์ของทฤษฎี

  1. ทำให้เราสรุปผลจากงานวิจัย และรวบรวมแต่ละหลักการเข้าด้วยกัน
  2. ทำให้เกิดงานวิจัยใหม่ๆ
  3. ทำให้เราตอบคำถามงานวิจัยได้ว่า ทำไมงานวิจัยถึงเป็นเช่นนั้น
  4. ทำให้เรานำความคิดเกี่ยวกับกลไกที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ ไปใช้ในการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด

ผลเสียของทฤษฎี

  1. ไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งที่อธิบายเกี่ยวกับการเรียนรู้ได้ครอบคลุมทั้งหมด
  2. ทฤษฎีทำให้เราเกิดอคติความรู้ เพราะว่าเรายึดติดกับทฤษฎี

สรุป

  1. ทฤษฎีไม่ใช่ Fact คืออธิบายได้แค่บางปรากฏการณ์
  2. ทฤษฎีช่วยในเรื่องการเรียนการสอน
  3. เราสามารถใช้ทฤษฎีช่วยเหลือคนทุกวัยให้เรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Learning and the Brain

Ø Behavioral Neuroscience เป็นศาสตร์ทางจิตวิทยาที่เชื่อมระหว่างพฤติกรรมกับระบบประสาท

Ø Human Nervous System ประกอบไปด้วย

1.  Central Nervous System (Brain & Spinal cord)

2.  Peripheral Nervous System (Messenger system) เช่น เจอเพื่อน " Spinal cord " Brain (ทักดีไหม) " ดี " ทัก

หมายเหตุ! บางพฤติกรรมไม่ผ่านสมอง ผ่านแค่ Spinal cord แล้วตอบสนองเลย คือพวก Reflex action เช่น โดนของร้อน

Ø Nerve cell or Neuron

1.  หน้าที่ของเซลล์ประสาท

1.1.  Sensory Neuron นำกระแสประสาทจาก Receptor " Interneuron

1.2.  Interneuron เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Sensory Neuron กับ Motor Neuron

1.3.  Motor Neuron นำกระแสประสาทไปยังอวัยวะตอบสนอง และกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนอง

2.  ส่วนประกอบของเซลล์ประสาท

2.1.  Soma (Cell Body) มี Nucleus และควบคุมการทำงานของเซลล์

2.2.  Dendrite มีขนาดสั้น ทำหน้าที่รับกระแสประสาท

2.3.  Axon มีขนาดยาว ทำหน้าที่ส่งกระแสประสาท

2.4.  Myelin sheath สารจำพวกไขมันซึ่งห่อหุ้มอยู่รอบๆ Axon เป็นฉนวนไฟฟ้า

2.5. Terminal Buttons บรรจุสารเคมีคือ Neurotransmitter

Ø Synapses

-  เกิดที่ Tiny gaps ระหว่าง Neurons ทำงานตามหลัก All-or-none คือต้องถูกกระตุ้นให้ถึงระดับ Threshold จึงจะส่งกระแสประสาท

-  มีการส่งสัญญาณไปที่ Terminal buttons ให้ปล่อยสารสื่อประสาท (Neurotransmitter)

-  สารสื่อประสาท ประกอบไปด้วย Dopamine , Epinephrine , Serotonin, Amino acids or Peptides

-  Dopamine เป็นสารสื่อประสาทที่สำคัญใน Frontal Cortex ซึ่งเกี่ยวข้องกับการรู้ตัว การวางแผน การยับยั้งพฤติกรรมและความคิด ถ้าสารสื่อประสาทเหล่านี้หายไปก็จะทำให้การสื่อสารแย่ลง ส่งผลให้เป็นอัลไซเมอร์

-  Schizophrenia (Lost reality) : ระดับที่ไม่ปกติของ Dopamine

ØGlial Cell

-  ในระบบประสาทมี Glial Cell ถึง 90% มี Neuron 10%

-  Glial Cell ไม่ได้ทำหน้าที่รับส่งข้อมูล แต่ทำหน้าที่ Support เช่น สร้าง Myelin Sheath เก็บกวาด Neuron ที่ตาย

Brain Structures and Functions

Ø สมองมี 100 พันล้าน Neurons (แต่ไม่มี Sensory Neuron) และ Connect กันตลอด

Ø วิธีการวิจัยทางสมอง

1.  ศึกษากับสัตว์ (เช่น การศึกษาว่าสัตว์ที่เรียนรู้จะมีน้ำหนักสมองมากกว่าสัตว์ที่ไม่เรียนรู้)

2.  ศึกษา Case Study ที่มีปัญหาทางสมองหลังจากที่ตายแล้ว

3.  วัดคลื่นสมองจาก EEG (Electroencephalograph) ใช้ร่วมกับ ERPs (Event-related Potentials) เนื่องจาก เช่น เครียดกับดีใจคลื่นสมองเหมือนกัน ดังนั้นจึงต้องดูที่เหตุการณ์

4.  Neuroimaging

(PET/CAT/MRI)

Ø Parts of the Brain

1.  Hindbrain

หน้าที่ : Keep us alive (เช่น การหายใจ การกลืน การหลับ อัตราการเต้าของหัวใจ) ในส่วนนี้ประกอบไปด้วย

1.1.  Cerebellum : เกี่ยวกับการทรงตัว กล้ามเนื้อหลัก

1.2.  Pons

1.3.  Medulla Oblongata

2.  Midbrain

หน้าที่ : Vision and hearing ส่วนที่สำคัญที่สุดในส่วนนี้คือ Reticular Formation : กระตุ้นความสนใจและรู้สึกตัวเมื่อเจอสิ่งเร้า

หมายเหตุ!Pons + Medulla Oblongata + Reticular Formation รวมเรียกว่า ก้านสมอง (Brainstem) ถ้าไม่ทำงานถือว่า ตาย

3.  Forebrain

ประกอบไปด้วย

3.1.  Cerebral Cortex

สมองส่วนนี้ แบ่งเป็น 2 ซีก (Hemispheres)

-  Left Hemisphere : ทักษะด้านภาษา การอ่าน และการคำนวณ (สังเคราะห์ภาพรวม)

-  Right Hemisphere : การรับรู้รูปร่าง ศิลปะ การวาดรูป (รายละเอียด)

นอกจากนี้ยังแบ่งได้อีกเป็น 4 Lobes

-  Frontal Lobe : ความคิด ภาษา ความใส่ใจ เหตุผล การวางแผน การตัดสินใจ ยับยั้งความคิดและการกระทำที่ไม่เกี่ยวข้อง

-  Parietal Lobe : ตีความข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ ความดัน ความเจ็บปวด การใส่ใจ ประมวลเสียงคำ มิติต่างๆ

-  Occipital Lobe : ตีความและจำข้อมูลที่ได้จากการมองเห็น

-  Temporal Lobe : ตีความและจำข้อมูลจากการได้ยิน เช่น Speech หรือ Music นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับ Long-term Memory

3.2.  Limbic System: เป็นวงล้อมรอบก้านสมอง ทำหน้าที่เกี่ยวกับ Learning / Memory / Emotion / Motivation

3.3.  Hippocampus : Seahorse-shaped structure ทำหน้าที่เกี่ยวกับ Attention and Learning

3.4.  Amygdala : Emotion / Negative emotion and Automatic emotional reactions

3.5.  Thalamus : เป็นตัวแจกจ่ายงาน

3.6.  Hypothalamus : Survival

หมายเลขบันทึก: 543924เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท