คาใจ..คั่นบันทึกจาก อาทิยต์อัสดงการสร้างสังฆะแห่งการดูแลผู้ป่วย


เมื่ออ่านหนังสืออาทิตย์อัสดงจบลงแล้ว ให้ย้อนกลับมาหาอ่านให้ดีมีรางวัล

ก็อยากทำความเข้าใจกับคำว่าสังฆะก่อน

ในความหมายสังฆะหมายถึงอะไร ทำไมต้องเป็นสังฆะแห่งการดูแลผู้ป่วย

ซึ่งเมื่ออ่านประโยคนี้แล้วทำให้เห็นเส้นจำนวนมาก วนๆ ขยักๆและค่อยๆคลายเป็นลำดับ การคลายตัวของเส้นนั้นช่างงดงามและอ่อนช้อย  มีกระบวนการคลายปมเกิดขึ้นเป็นความรู้สึกเห็นตามความคิดของตนเองโดยที่ยังไม่ทราบความหมายที่แท้จริง ที่เห็นนั้นจึงอยากเรียกว่าคาดเดาเอาเองจากความรู้สึกในตนเอง ซึ่งอาจนำมาซึ่งความหลงผิดได้หากไม่ได้สืบค้นทำความเข้าใจ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ได้ให้ความหมายของคำว่า "สังฆะ"ไว้ดังนี้ 

สังฆ

ความหมาย

[สังคะ] น. สงฆ์, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส.(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน)

คำแปล(พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร)

(มค. สงฺฆ) น. หมู่, ประชุม, ฝูง, คณะภิกษุในพระพุทธศาสนา ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป, ปรกติใช้ สงฆ์, มักใช้ในรูปคำสมาส.

http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m6/web/l_toom/p1.php ได้ให้ความหมายของสังฆะดังนี้

"ความหมายของสังฆะ คำว่า “สังฆะ” ก็คือ สงฆ์ แปลว่า หมู่ หรือชุมชน ดังนั้น คำว่า “พระสงฆ์” คือชุมชนอันประเสริฐ ซึ่งเกิดจากท่านผู้รู้ผู้ดำเนินตามอย่างพระพุทธเจ้า มาอยู่ร่วมกัน เป็นแหล่งที่ดำรงรักษาธรรม และเป็นแหล่งแห่งกัลยาณมิตร ที่จะช่วยเกื้อหนุนให้ผู้ศึกษาเจริญงอกงามขึ้นไปในชีวิตอันประเสริฐ จนสามารถเข้าถึงธรรม ตามอย่างพระพุทธเจ้า"

สังฆะในความหมายของบทความที่นี่หมู่บ้านพลัมไม่สนใจของขลัง (คมชัดลึกออนไลน์,กรกฏาคม.( 2556: )หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้  "สังฆะ" ในความหมายใหม่ว่าหมายถึง 'การอยู่ร่วมกันของผู้ปฏิบัติธรรม' โดยไม่จำกัดว่าต้องหมายถึง "คณะสงฆ์" อย่างที่ชาวพุทธทั่วไปเข้าใจกัน อาจเป็นกลุ่มฆราวาสด้วยกันก็ได้


ความคิดของท่านพุทธทาสเกี่ยวกับสังฆะ ท่านพุทธทาสได้เทศนากี่ยวกับสังฆะว่า  ซึ่งหมายถึงหมู่ กลุ่ม ชุมชน อาจจำแนกได้เป็น ๓ ระดับ อ่านเพิ่มเติมที่นี่ 

นอกจากนี้ในบทความยังได้กล่าวถึงการทำงานอย่างเป็นระบบ แบบแผน และการจัดการที่ยั่งยืน การเผยแพร่ และความสอดคล้อง ดังข้อความต่อไปนี้" 

สังฆะ ในความหมายถึง "การคณะสงฆ์ไทย" ซึ่งมีแบบแผนการปกครองการจัดการศึกษา การเผยแพร่ และสาธารณูปการ ที่ต้องจัดให้ได้ผลดี มีประสิทธิภาพคุ้มค่าและยั่งยืนนาน ทั้งเหมาะสมกับยุคสมัย สอดคล้องกับพระธรรมวินัยนั้น"


เมื่อฉันได้พิจารณาทั้งความหมาย และจากบทความดังกล่าวแล้วก็ให้นึกทบทวนพิจารณาการทำงานของตัวเองจึงพบข้อด้อยหลายประการ แต่จะนำไปสู่แนวทางที่ดีขึ้นหากพวกเราได้มองกรอบเป็นเพียงแนวทางให้ปฏิบัติมากกว่าการปิดกั้นโอกาส

สังฆะคือการอยู่ร่วมกันของผู้ปฏิบัติธรรม ข้อนี้เป็นความเห็นที่เห็นจะจริง เพราะการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขก็เห็นจะมีเพียงการอยู่ร่วมกันของผู้มีธรรมเท่านั้น ที่จะสามารถนำทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมาใคร่ครวญ และก่อให้เกิดความสงบร่มเย็น เป็นระเบียบ มีแบบแผน และสอดคล้องกับการไปของโลกในยุคปัจจุบัน

หากสังฆะคือการอยู่ร่วมกันของผู้ปฏิบัติธรรมคือมีธรรมเป็นเครื่องนำทางให้มีสติก็ไม่เป็นการยากที่เหล่าจิตอาสาจะได้เข้าถึงการทำงานร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง

แนวคิดนี้จึงนำไปู่การร่วมกันวางแผนการสร้างกรรมดีนับเป็นช่วงเวลาของการแบ่งปันเวลาชีวิต

ของเพื่อนๆผู้ป่วยโรคเรื้อรังเช่นกันที่จะยืนมือออกมาและนำพาสิ่งดีงามมาแบ่งปันและให้ความช่วยเหลือกัน ชาวบ้านเรียกว่าคนละไม้คนละมือ อันนี้ทำให้นึกไปถึงการลงแขกของชาวนา

รู้ไหมว่ามันหาไม่ได้ง่ายๆตรงไหนในภาคปฏิบัติของการทำงานด้านนี้ร่วมกัน

"คือการก้าวเดินออกมาจากใจตนเองโดยไม่มีการชักจูงชักนำ หรือหว่านล้อมทางจิตใจ 

และลงมือทำโดยปราศจากเงื่อนไขใดๆ" นั่นเอง

ช่วงเวลาดังกล่าวของการก้าวออกมานั้นจึงเป็นช่วงเวลาแห่งบุญที่ได้เจริญสติที่ได้พิจารณา และอุเบกขา

สำหรับเรื่องแบบแผนการดูแลผู้ป่วย เท่าที่เรียนรู้มาและได้มีโอกาสปฏิบัติกันมานั้นยังอยู่ในขั้นที่เรียกว่าตามสภาพ

ในมุมมองของคำว่าตามสภาพก็คงไม่ต่างอะไรกับ "ความเป็นจริง" ทีมงานจิตอาสาเองยังเข้าไม่ถึงระบบที่จะเอื้อให้

เราได้ทำงานตามแบบแผนที่ตั้งใจวาดหวังกันไว้ ซึ่งจะว่ายากก็ยากนะ จะว่าง่ายก็ง่าย ที่ว่าง่ายคือง่ายตามแบบฉบับ

ตามสภาพของเรากันเอง ที่ว่ายากก็ยากที่โอกาสและความคิดที่ยังติดกรอบ ก็ได้แต่นึกภาวนาว่าถ้ากรอบสีเหลี่ยมสามารถผันรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างอื่นบ้างก็คงคล่องตัวในการทำงาน เพื่อนช่วยเพื่อนมิตรภาพบำบัดข้างเตียงมากขึ้น

ขอบคุณค่ะ


ขอบคุณข้อมูล 

http://www.buddhadasa.in.th/html/articles/1_bdb/sangha.html

http://www.komchadluek.net/detail/20130503/157520/%E0%B8%97%

http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m6/web/l_toom/p1.php

หมายเลขบันทึก: 543575เขียนเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กรกฎาคม 2013 12:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 

.....คาใจ....ทำให้ผู้อ่าน...หายคาใจด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

...คือ การก้าวเดินออกมาจากใจตนเอง...โดยไม่มีการชักจูงชักนำ หรือ หว่านล้อมทางจิตใจ

ขอบคุณค่ะน้องDr.Pleมากนะคะ พี่คิดว่าถ้าสามารถผนวกความคิดทั้งของท่านพุทธทาส ท่านหลวงปู่ติช นัท ฮันห์และพี่ไม่ทราบชื่ออีกท่านจากเว็บนี้ http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m6/web/l_toom/p1.php

ความหมายของสังฆะของการทำงานด้านการดูแลผู้ป่วยมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นมันช่วยให้เห็นอะไรบางอย่างที่คนธรรมดาๆสามารถเข้าร่วมกิจกรรมบุญแบบนี้ได้ง่ายขึ้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท