โครงการค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์


จากสภาพปัญหาในปัจจุบันเยาวชนไทยไม่เห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ ทั้งที่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำ

วันโดยตรง ทั้งยังขาดทักษะการเรียนรู้  ความใฝ่รู้ และใฝ่เรียน  และยังมองวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องยาก จึงทำให้มีผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ทำให้ผู้เรียนไม่ชอบการเรียนวิทยาศาสตร์  ทางผู้สอนจึงพยายามปรับปรุงวิธีการเรียนรู้อยาก

หลากหลาย เพื่อสร้างแรงจูงใจใฝ่รู้ให้ผู้เรียน มีความรักและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์เป็นระยะเวลานานจึง  

พบว่า  การจัดค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ทำให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นอย่างดียิ่ง

  กิจกรรมค่ายเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้จัดขึ้นในวันหยุดเพื่อความอิสระ และไม่มีผลกระทบต่อวิชาอื่น ๆ ซึ่งการจัด มี  2

  ลักษณะคือ จัดในโรงเรียน  และในแหล่งเรียนรู้จริงในธรรมชาติและชุมชนตามความเหมาะสมของเนื้อหา  ระยะ

เวลา และจำนวนผู้เรียน สำหรับค่ายวิทยาศาสตร์ประการแรกที่จัดขึ้นในโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นค่ายเชิงวิชาการ โดยวิธี

การแบ่งเนื้อหาออกเป็นหน่วยย่อย จัดเป็นฐานการเรียนรู้ เช่น  การเรียนรู้เรื่องอาณาจักรพืชได้แบ่งหน่วยฐานความรู้

เป็นดิวิชัน ความรู้เรื่องอาณาจักสัตว์แบ่งหน่วยฐานความรู้เป็นไฟลัม เป็นต้น  โดยมีรุ่นพี่อาสาสมัครเป็นวิทยากร

ถ่ายทอดความรู้  ซึ่งผู้เรียนจะเข้าเรียนหมุนเวียนเปลี่ยนไปตามหน่วยฐานตามเวลาที่กำหนดไว้ แต่ละหน่วยฐานมี

กิจกรรมหลากหลายไม่ซ้ำกัน  ใช้เวลาในการจัดค่ายเรียนรู้แต่ละครั้ง 2-3  วัน ถ้าเป็นเนื้อหาสั้น ๆ  เช่น เรื่อง 

วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน เซลล์ การลำเลียงสารภายในเซลล์  สารเคมีภายในเซลล์ เป็นต้น จะจัด

ค่ายเรียนรู้เพียงระยะเวลา  1  วัน ซึ่งกิจกรรมหลักภายในค่ายประกอบด้วย กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์  เพื่อสร้างความรัก 

สามัคคี  ความตระหนักในการเรียน  แบ่งกลุ่มย่อยระดมความคิด ตามหัวข้อเนื้อหา และลงมือปฏิบัติในรูปแบบต่าง 

เช่น การใช้ทักษะการแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ การทดลอง  การวาดภาพ การสร้างสถานการณ์จำลอง  การนำเนื้อหามา

เป็นท่าทางประกอบ  เกม และเพลง  หลังจากนั้นนำเสนอ เนื้อหาในกลุ่มใหญ่  ร่วมกันสรุป และวิจารณ์เชื่อมโยง

วิชาการเข้าสู่ชีวิตประจำวัน ส่วนการเรียนรู้ค่ายวิทยาศาสตร์ ประการที่สองคือ คือการจัดค่ายเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ใน

ธรรมชาติและชุมชน เป็นการจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับธรรมชาติโดยแท้จริง เน้นการปฏิบัติภาคสนามเพื่อให้ผู้

เรียนได้เรียนรู้ฝึกฝนการปฏิบัติจริง  เห็นคุณค่าของการนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติจริงในชีวิตประจำวัน  ตัวอย่างจาก

การจัดค่ายชีววิทยาศึกษาเนื้อหาเรื่องพฤติกรรม เน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติจริงพร้อมกับการวิจัยในชั้นเรียนทำให้ ค้นพบว่า 

การจัดการจัดค่ายเรียนรู้สามารถพัฒนาผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มอ่อนได้เท่ากับนักเรียนกลุ่มเก่ง 

นอกจากนี้การจัดค่ายเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา เช่นการจัดค่ายศึกษาป่าชายเลน  ค่ายศึกษา

แม่น้ำปะเหลียน และค่ายศึกษาป่าต้นน้ำเป็นต้น ได้นำเอาความรู้ในวิชาต่าง ๆ มาบูรณาการ กล่าวคือ วิชาฟิสิกส์ มีการ

ศึกษาการวัดอัตราการไหลของน้ำ ขนาดก้อนหินใต้พื้นน้ำ ความขุ่นใส ของน้ำ วิชาเคมีมีการศึกษาการวัดคุณภาพของ

น้ำด้วยการหาค่า DO  และ pH  สำหรับวิชาชีววิทยานั้นได้เน้นศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ในด้าน  ชนิด/

จำนวนของ พืช และสัตว์ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต แหล่งที่อยู่ การล่า การหมุนเวียนสาร ในระบบนิเวศ ตลอดจน

การใช้ประโยชน์จากแหล่งธรรมชาติในท้องถิ่น นอกจากนั้นยังใช้วิชาการสาขาอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์มาร่วมบูรณา

การด้วย เช่น วิชาสังคม ศึกษาสัมภาษณ์วิถีชีวิต  ความเชื่อของชุมชน  วิชาศิลปศึกษาใช้ในการวาดภาพสิ่งที่พบเห็นเพื่อบันทึก และนำเสนอ และสุดท้ายของกิจกรรมค่ายเรียนรู้นำผลการเรียนรู้ที่ได้รับจากแต่ละวิชามาสรุปผล และนำ

เสนอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ซึ่งกิจกรรมหลักภายในค่ายเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในธรรมชาติและชุมชน

ใช้วิธีการเดียวกับค่ายเรียนรู้ในโรงเรียน แต่มีการเสริมการเรียนรู้โดยการใช้วิทยากรในท้องถิ่นเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้

เพื่อเชื่อมโยงความรู้วิทยาศาสตร์กับภูมิปัญญาชาวบ้าน

    การจัดค่ายเรียนรู้ดังกล่าวยึดหลักการ การใช้ธรรมชาติเป็นครู เรียนรู้จากชุมชน และฝึกฝนปฏิบัติจริง โดยประสาน

กับวิธีการ การสร้างที่ใจให้มีความรัก และตระหนักถึงคุณค่าของวิทยาศาสตร์  และนำความรักที่ก่อเกิดเป็นสิ่งเร้า

กระตุ้นให้เกิดความคิดอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นแรงผลักดัน ยั่วยุ ท้าทายให้เกิดความอยากรู้อยากเห็น ความต้องการ

พิสูจน์นำไปสู่การปฏิบัติด้วยหัวใจที่ใฝ่รู้ จนเกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดียิ่งต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า การจัดค่ายเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ นี้เป็นการสร้างความเชื่อมั่น และการคนพบศักยภาพในตัวเอง ของผู้เรียน ทำให้ครูสามารถส่งเสริมผู้

เรียนได้อย่างถูกทาง ที่สำคัญที่สุด คือ สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการ

ศึกษา พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการปฏิรูปการศึกษา กล่าวคือ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึง

ประสงค์ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและพัฒนาตัวเอง

อย่างต่อเนื่องทั้งยังมีทักษะในการทำงาน รักการทำงาน และสามารถอยู่ร่วมในสังคมอย่างมีความสุข  และยังส่งผล

ให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างครูกับผู้เรียน,  ผู้เรียนด้วยกัน , รุ่นพี่รุ่นน้อง, ครู ผู้เรียน และโรงเรียนกับชุมชน  ในส่วน

ตัวครูได้มีการพัฒนาการเรียนการสอน ได้เทคนิคใหม่ ๆ ได้รับความรู้จากการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ ได้พัฒนาสื่อการสอน

อย่างหลากหลาย  ได้หลักและขบวนการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์นำสิ่งที่ได้ค้นพบมาประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนอย่าง

สนุกสนาน  สร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนทำให้โรงเรียนไม่แปลกแยกจากชุมชน จากใช้แหล่งเรียนรู้

จากชุมชน ทำให้ชุมชนเห็นคุณค่าของตนเองและท้องถิ่น  นักเรียนมีความรักและภาคภูมิใจในถิ่นฐานบ้านเกิด  

นอกจากนั้นยังเกิดผลพลอยได้  เช่น ช่วยป้องกันการติดยาเสพติด  และลดการทะเลาะวิวาทที่จะเกิดขึ้นในโรงเรียน.

หมายเลขบันทึก: 543441เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2013 08:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท