บทบาทของฝ่ายบริหารกับการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของอาจารย์



          ในการประชุมสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิท่านหนึ่งแนะนำว่า  เรื่องการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของอาจารย์ ฝ่ายบริหารควรมีการจัดการแบบ proactive / supportive  ไม่ใช่ดูอยู่เฉยๆ


          ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง  ว่านี่คือระบบ Human Resources Development อย่างหนึ่ง  และเป็นเรื่องที่ฝ่ายบริหารของทุกมหาวิทยาลัยควรถือเป็นหน้าที่  ที่จะจัดระบบที่เอื้อให้อาจารย์ขยัน และมีไฟในการทำงานตามหน้าที่  และเมื่อทำงานแล้ว ก็มีผลต่อความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการของตน  ซึ่งก็จะมีผลต่อความเจริญรุ่งเรืองของสถาบันด้วย 


          กฎเกณฑ์กติกาในการนับเวลาการทำงาน ในการประเมินคุณภาพของผลงานวิชาการ เป็นเรื่องที่ควรมีการทบทวนครั้งใหญ่  เพราะการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ ๒๑ ไม่เหมือนในศตวรรษที่ ๒๐  บทบาทที่ต้องเปลี่ยนไปในลักษณะจากหน้ามือเป็นหลังมือคือหน้าที่สอน  ต้องเปลี่ยนไปเป็น “สอนแบบไม่สอน”  คือเปลี่ยนไปทำหน้าที่ “คุณอำนวย” (facilitator) ของการเรียนรู้ ของ นศ.   และอาจารย์ต้องจับกลุ่มกันฝึกฝนตนเอง เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ ในการทำหน้าที่ออกแบบการเรียนรู้ และเอื้ออำนวยหรือเป็นโค้ช ให้แก่การเรียนรู้ของศิษย์  จากกิจกรรมจับกลุ่มฝึกฝนกันเอง ที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า PLC (Professional Learning Community)  ควรมีผลงานวิจัยการเรียนรู้ออกมาเผยแพร่ และเป็นผลงานวิชาการประเภท “วิชาการด้านการเรียนรู้”  และผู้บริหารพึงจัดกฎเกณฑ์กติกาให้มีวิธีประเมินคุณภาพ และเกณฑ์การยอมรับผลงานวิชาการประเภทนี้


          นอกจากนั้น พึงจัดระบบการยอมรับ/ยกย่อง ผลงานวิชาการรับใช้สังคมด้วย


วิจารณ์ พานิช

๒๒ มิ.ย. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 543371เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กรกฎาคม 2013 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ศาสตราจารย์ ด้านการเรียนรู้ ด้านการเรียนการสอน ดูจะไม่ค่อยได้รับการใส่ใจเท่าที่ควรนะครับ 
  • เราเน้นแต่ "วิจัย เพื่อ ความ ฉลาดลึกๆ เท่านั้น"

      กฎเกณฑ์กติกาในการนับเวลาการทำงาน ในการประเมินคุณภาพของผลงานวิชาการ เป็นเรื่องที่ควรมีการทบทวนครั้งใหญ่  เพราะการปฏิบัติหน้าที่อาจารย์มหาวิทยาลัยในศตวรรษที่ ๒๑

      คงจำเป็นที่จะต้องทบทวนการประเมินผลงานทางวิชาการกันอย่างจริงจัง และต้องมีเกณฑ์ที่เป็นที่ยอมรับ รวมทั้งการหาผู้ประเมินที่ไม่มีอคติและมีความเหมาะสม อย่างน้อยต้องมาจากศาสตร์เดียวกันหรือใกล้เคียง  ซึ่งเป็นเรื่องที่มีปัญหามาตลอด ในปัจจุบันตามกฏเกณฑ์ให้มีการประเมินการสอนของผู้เสนอผลงานเพื่อตำแหบ่งทางวิชาการ เท่าที่ทราบ บางแห่งให้ผ่านตลอด บางแห่งเอา รศ. สายครุศาสตร์คนหนึ่งประเมินแทบทุกคนไม่ว่าจะมาจากสาขาใดแล้วมักมีปัญหาให้คะแนนประเมินต่ำกว่าคนอื่นโดยทั่วไป บางครั้งก็ไม่ผ่าน แน่นอนที่เจ้าตัวบอกว่ามีหลักเกณฑ์ แต่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนมาก บางแห่งก็ตั้งกรรมการที่เป็น รศ. หรือ ศ. เพื่อประเมิน กรณีให่ผ่านก็ไม่เกิดปัญหานักแม้จะมีผู้สงสัยในความเหมาะสม แต่ถ้าไม่ผ่านขึ้นมาจะเป็นปัญหาอย่างมาก   เช่นมีอาจารย์ท่านหนึ่งเสนอผลงานเพื่อขอ ศ. ด้านประวัติศาสตร์มีผลงานมากมาย เจ้าตัวก็โดดเด่นพอควรเป็นที่รู้จักของนักวิชาการด้านนี้พอควร เป็นภาคีราชบัณฑิต แต่ถูกประเมินการสอนไม่ผ่าน ไม่น่าเกิดขึ้นเลย เขาสอนมาตลอดชีวิต ผู้ประเมินเป็นอาจารย์ในสาขาอื่น ๆ เช่นภาษาไทย หลักสูตร ฟิสิกส์ เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ไปประเมินการสอนทางด้านประวัติศาสตร์ คำถามคือกรรมการสอนเก่งสอนดีกว่าเขาหรือ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท