ถอดบทเรียนสกัดความรู้การพัฒนาภาษาอังกฤษ


                 คณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ 100 % สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจากในประเทศ ทำให้คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ รศ.ดร.สำราญ  มีแจ้ง มีนโยบายในการพัฒนาภาษาอังกฤษคณาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ โดยแบ่งขั้นตอนการพัฒนาภาษาอังกฤษของคณาจารย์เป็น ๓ ลำดับการพัฒนา คือ ๑ พัฒนาภายในประเทศ ๒ ไปพัฒนาในประเทศแถบอาเซี่ยน และ ๓ สถาบันภาษาในประเทศออสเตรเลีย โดยการดำเนินการต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก


                        การดำเนินการในรอบแรกทางคณะจัดให้คณาจารย์หลุดจากภาระงานไปอบรมภาษาอังกฤษ ณ สถาบัน IDP กรุงเทพฯ เป็นระยะเวลาประมาณเดือนครึ่ง โดยแบ่งคณาจารย์เป็นสามรุ่น ผมไปอบรมเป็นรุ่นแรก เนื่องจากต้องสลับกับ อ.อ้อย ในการดูแลลูก ส่วนในระยะที่สองที่ส่งไปอบรมภาษาอังกฤษ ณ เกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย เป็นระยะเวลาสามอาทิตย์ ผมไปเป็นรุ่นที่สาม โดยสลับ ให้อาจารย์อ้อยไปก่อนในรุ่นที่สอง


                      ในความคาดหวังของการเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาภาษาอังกฤษในครั้งนี้ ผมเองหวังไว้ว่าเมื่อกลับมาจะสามารถสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษของผม ในการสื่อสาร สนทนากับผู้เชี่ยวชาญในต่างประเทศที่เดินทางมาอยู่กับเราได้ดีขึ้น ซึ่งในปัจจุบันผมก็มีความสามารถในการสื่อสารได้ในระดับหนึ่ง และหวังว่าผมจะสามารถทำการสอน สนทนากับนิสิตเป็นภาษาอังกฤษได้ เขียนครอสเอาท์ไลน์ รวมทั้งทำสไลด์บรรยายเป็นภาษาอังกฤษได้ และที่สำคัญสามารถเขียนบทความวิจัยเป็นภาษาอังกฤษได้ดี นั่นคือสิ่งที่ผมคาดหวังในการพัฒนาตนเองด้านภาษาอังกฤษ


                            แล้วผมได้อะไรในการไปพัฒนาภาษาอังกฤษครั้งนี้ ต้องเล่าให้ฟังก่อนว่า ตั้งแต่เล็กๆ สมัยประถมและมัธยมภาษาอังกฤษเป็นไม้เบื่อไม้เมากับผม ด้วยความไม่ประทับใจครูผู้สอนภาษาอังกฤษเมื่อตอนยังเล็กๆ เป็นทุนเดิม และเนื่องจากผมจบมัธยมแล้วไปต่อทางช่างก่อน จงมาเรียนต่อปริญญาตรีต่อเนื่อง ทำให้ภาษาอังกฤษในระดับปริญญาตรีผมได้ใช้น้อยมาก เมื่อตอนไปเรียนปริญญาโท ซึ่งต้องใช้ทักษะทางภาษาอังกฤษอย่างมาก ทำให้ผมต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ในการไปนั่งเรียน AUA ทำให้ทัศนของผมด้านภาษาอังกฤษเปลี่ยนไปในทางที่ดี และพัฒนาตนเองมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นผมจึงไม่ลังเลเลยในการที่จะเข้าร่วมกิจกรรมนี้ จากที่ผมทำงานในมหาวิทยาลัยทำให้เป็นข้อได้เปรียบในการใช้ภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ในการอ่าน การฟัง การพูด ในการไปพัฒนาภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นทักษะที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนา ไม่สามารถที่จะเรียนรู้ได้ในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้ผมได้เรียนรู้หลายๆ อย่าง เช่น การอ่าน การเขียนเชิงวิชาการ สิ่งเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้ผมต้องพัฒนาภาษาอังกฤษอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง


                           ส่วนอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมนี้ได้อะไรจากการพัฒนาภาษาอังกฤษบ้าง ข้อเสนอแนะจากอาจารย์ อยากให้มีแลบทางภาษาที่คณะ และอยากให้คณะสนับสนุนค่าสอบ TOEFL ให้กับอาจารย์ คณะควรจะมีแผนในการพัฒนาอาจารย์ ให้อาจารย์สอบภาษาอังกฤษทุกๆ ๓ ปี คณะควรมีกลไกในการจัดบรรยากาศทางวิชาการในการเสวนาเป็นภาษาอังกฤษ คณะควรมีทิศทางในการพัฒนาภาษาอังกฤษ หรือจะมีการจัดหลักสูตรอินเตอร์ การสอนหรือการทำกิจกรรมการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งอาจารย์ที่เข้าร่วมเสวนาเสนอว่าคณะควรเซตเป้าหมายขององค์กรให้ชัดเจน 


หมายเลขบันทึก: 542446เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชื่นชมวิสัยทัศน์ผู้บริหารที่ทำให้มีการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพิ่ม

ดีใจกับอาจารย์ด้วยครับ

ขอชื่นชมผู้บริหารคณะด้วยคนที่ดูแลคณาจารย์ในเรื่องนี้ ข้อเสนอดี ๆ ที่คณาจารย์เสนอคณะก็น่าเป็นไปได้ แลบภาษาที่คณะถ้าสามารถตั้งได้ควรเป็นแลบที่นักศึกษาใช้ได้ด้วยจึงจะคุ้มค่า ค่าสอบโทเฟิลถ้าจะอนุมัติไม่ควรเกินคนละ 1 ครั้งอาจารย์ควรรับผิดชอบบ้าง บางคนสอบหลายครั้งกว่าจะได้ผลที่มหาวิทยาลัยที่ต้องการศึกษาต่อยอมรับ

ที่ปักกิ่ง (ไม่แน่ใจว่ารวมทั้งประเทศหรือเปล่า ) อาจารย์จากมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งที่มาสอนตามโครงการความร่วมมือ เล่าว่า ผู้ที่จะเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการได้ นอกจากจะต้องเสนอผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์ซึ่งเป็นสากลแล้ว จะต้องสอบภาษาอังกฤษผ่านเกณฑ์ด้วย นอกจากนี้ย้อนหลังไปไม่น้อยกว่า 10 ปีที่ผ่านมากว่าจะได้เป็น ศ. ต้องมีตำแหน่งว่างรองรับด้วย คนที่ครองอยู่ออกไปจึงมีที่ลง ไม่แน่ใจว่าเกณฑ์นี้ผ่อนคลายหรือยังในปัจจุบัน ดังนั้น ผศ. รศ. และ ศ ของเขาภาษาอังกฤษใช้ได้อย่างดีกันทั้งนั้น ยอมรับ บ้านเราเอาเกณฑ์นี้มาใช้บ้างน่าจะดีเพิ่มเงินประจำตำแหน่งให้อีก 500 บาทก็ได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท