อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

การจัดการสวนยางพารา หลังสวนยางหัก-โค่น


การจัดการสวนยางพาราหลังสวนยางหัก-โค่น

ในระยะนี้จังหวัดบึงกาฬ เกิดลมพายุพัดกระหน่ำ ทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือนราษฏรและพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพะต้นยางพาราได้รับความเสียหายหักโค่น ไปในหลายพื้นที่

 

ต้นยางพาราที่หักโค่นมีทั้งที่ลำต้นหักแยกออก  จากต้นและที่โน้มเอียงโดยเนื้อไม้ฉีกขาดเสียหาย
แนวทางการการจัดการสวนยางพาราหลังสวนยางหัก-โค่น
๑. กรณีต้นยางพาราหัก-โค่น

๒. กรณีต้นยางพาราโน้มเอียงและเนื้อไม้ฉีกขาดเสียหาย

สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ ขอแนะนำวิธีการจัดการ ดังนี้
๑. ควรทำความสะอาดแปลงยางพาราโดยการตัดแต่งกิ่ง  ลำต้น และขนย้ายออกจากแปลง

๒. เพื่อป้องกันการทำลายของเชื้อรา ควรทาด้วยปูนขาว  โดยใช้ปูนขาวอัตรา ๑ กิโลกรัม ต่อ น้ำ ๒- ๕ ลิตร

ทาให้ทั่วบริเวณแผล หรือรอยตัดแต่ง

๓. ฉีดพ่นด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มา เพื่อฟื้นฟูให้เกิดความแข็งแรงและสามารถป้องกันการทำลายจาก  เชื้อราที่ก่อให้เกิดโรคได้ โดยการผสมน้ำฉีดพ่น  ใช้เชื้อราไตรโครเดอร์มาสด ๒๕๐ กรัม ( ๑ ถุง)  ผสมน้ำ ๒๐ ลิตร
แล้วกรองเอาเฉพาะน้ำ นำไปฉีดพ่น โดยสามารถฉีดพ่นให้ทั่วทั้งต้น หรือฉีดพ่น เฉพาะบริเวณแผลหรือรอยตัด ๑ ถัง ขนาดบรรจุ ๒๐ ลิตร สามารถฉีดพ่นได้ ประมาณ ๑ ไร่  โดยให้ฉีดพ่น ๒ -๓ ครั้งต่อปี (ผสมสารจับใบ หรือน้ำยาล้างจานเพื่อให้เชื้อราไตรโครเดอร์มาเกาะติดกับใบ และลำต้นยางพาราได้ดีขึ้น)



                                                                                                                   ภาพ : ธวัช /เรื่อง : เกษตรแอมมี่

หมายเลขบันทึก: 542444เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2013 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2013 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

.... ส่งกำลังใจไปช่วย นะคะ ... ต้องมีการจัดการที่ดี นะคะ .... ขอบคุณมากค่ะ .... สู้้ๆๆ นะคะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท