KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๕๙๙. นัก KM ต้องอ่านบทความนี้



          บทความนี้ผมได้มาจากคุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ชื่อ Is it time to drop the ‘knowledge translation’ metaphore? A critical literature review  เป็นบทความที่ชี้ให้เห็นความซับซ้อนของคำว่าความรู้  และนักวิชาการยังไม่ค่อยรู้จัก ‘ความรู้ฝังลึก’  

          ผมชอบมาก ที่เขาอ้าง อริสโตเติ้ล ว่า ความรู้มี ๓ ส่วน คือ ความจริง (fact)  ทักษะ (skill)  และปัญญาญาณ (phronesis หรือ intuition)  และผมเองก็เชื่อเช่นนั้น  การเรียนรู้มีเป้าหมายให้บรรลุ ความรู้ทั้งสามส่วนนี้อย่างครบถ้วน จึงจะเรียกว่า รู้จริง

          ผมมีความเชื่อว่า KM เป็นกระบวนการที่ต้องนำความรู้ผ่านการปฏิบัติ จึงจะเรียกว่า  KM  คือ KM เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความรู้ทั้งสามส่วน  และต้องเกี่ยวข้องกับ “นักปฏิบัติ” หลายฝ่าย เชื่อมโยงกัน  รวมทั้ง “นักปฏิบัติ” ที่ปลายท่อ หรือปลายทาง ของความรู้

          แต่คิดเรื่องจัดการความรู้แบบเป็นเส้นตรง น่าจะผิด  การจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน  “นักปฏิบัติ” ที่ปลายท่อ ต้องเข้ามาร่วมแสดงบทบาทความต้องการใช้ความรู้ตั้งแต่ต้นทาง  จึงจะเป็น KM ที่เป็นธรรมชาติ และมีพลัง 

          “ผู้ใช้” ความรู้ ต้องไม่ใช่รอใช้เมื่อความรู้วิ่งมาหา  แต่ต้องไปบอกความต้องการตั้งแต่ต้น  แต่ไม่ใช่บอกว่าต้องการความรู้อะไร (เพราะไม่รู้)   สิ่งที่บอกได้คือ “แรงปรารถนา” หรือปณิธานความมุ่งมั่นที่ต้องการบรรลุ  ที่ชี้ช่องว่า น่าจะต้องการความรู้เพื่อบรรลุผลอะไร

          คำว่า Knowledge Translation จึงเป็นคำที่มีจุดอ่อน  นัก KM อ่านบทความนี้แล้ว จะเห็นช่องทางทำหน้าที่ให้เกิดประโยชน์ยิ่งขึ้น


วิจารณ์ พานิช

๒๔ มิ.ย. ๕๖



หมายเลขบันทึก: 542290เขียนเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กรกฎาคม 2013 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท