โครงการ DFC3 : ๓. ความท้าทายต่ออุดมศึกษาเยอรมัน



          วันที่ ๑๐ มิ.ย. ๕๖ ช่วงเช้าเราประชุมที่โรงแรม เพื่อเรียนรู้ความท้าทายต่อระบบอุดมศึกษาเยอรมัน จากวิทยากร ๒ ท่าน 

          ต่อไปนี้เป็นบันทึกใน iPadที่ผมบันทึกระหว่างวัน


          ตื่นตี ๔ ได้นอน ๖ ชั่วโมงฟ้าเริ่มสางพอ๔.๓๐ น.ก็สว่างเปิดหน้าต่างได้ยินเสียงนกร้องเซ็งแซ่เพราะโรงแรมStreignebergerอยู่ติดกับสวนสาธารณะเล็กๆอากาศเย็นไม่มาก

          พยายามจำชื่อและความสนใจของผู้ร่วมเดินทางและคิดวางแผนการทำ AAR ในช่วงการเดินทางบนรถเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ที่สุดจะเสนอให้สมาชิกอาสาสมัครทำหน้าที่"ดร.ลิขิต" ของ AAR ในแต่ละวันสรุปประเด็นจากการ AAR แต่ละวันเอามาสรุป ๒ - ๓ นาทีให้กลุ่มได้ใช้ต่อความรู้ในวันต่อๆไปและจะได้เป็นเอกสารของรุ่นด้วย

          ได้ความคิดว่าน่าจะทำความตกลงหมุนเวียนกันอาสาสมัครทำหน้าที่จดสรุปสาระสำคัญของแต่ละsession  สำหรับทำเป็นรวมบันทึกประจำรุ่น


          ช่วงเช้า

          ฟังบรรยายที่โรงแรมเพื่อทำความเข้าใจวิธีการที่รัฐบาลกลางเข้าไปสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบของอุดมศึกษา  ด้วย Excellence Initiative  ซึ่งประกอบด้วย ๓ ส่วนคือ  (๑)บัณฑิตศึกษา  (๒) กลุ่มวิจัย  (๓) การสร้างความเข้มแข็งในอนาคต


          ศ. ดร.ปิยะวัติบุญ-หลง

          - เบอร์ลิน เป็นเมืองหลวงที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด

          - Excellence Initiative, - for theFuture :เป็นเครื่องมือที่รัฐบาลกลางใช้induce การเปลี่ยนแปลงในระบบอุดมศึกษา

          ขอให้ฟังและทำความเข้าใจอะไร,ทำไม, บริบทคืออะไรมองลึกที่เบื้องหลัง, เอากลับไปใช้, หวังให้เกิดความร่วมมือกับเยอรมันที่เป็นรูปธรรม

          Ingo Rollwagen: Doing More with Less ซึ่งดู pptการนำเสนอซึ่งซ้ำกับการนำเสนอที่อื่นของเขาได้ที่ , และดู pptที่เขาใช้ประกอบการบรรยายในวันนั้นได้ ที่นี่ 

          ในยุค knowledge-based economy มหาฯต้องเข้าไปทำหน้าที่ร่วมพัฒนาประเทศและพื้นที่ร่วมมือแสวงหาโอกาสใหม่ๆออกจากข้อจำกัดโดยเฉพาะbureaucracy  ใช้พลังใหม่ๆเช่น ICT สาระที่สำคัญที่สุดของเขาคือ สถาบันอุดมศึกษาต้องหาทางทำประโยชน์ให้แก่สังคมมากขึ้นโดยที่ต่อไปจะได้รับเงินสนับสนุนโดยตรงจากรัฐน้อยลง

          Tim Flink : German University Paradox เสนอผลการวิจัยผลกระทบจากโครงการExcellenceInitiative เนื่องจากเขาเป็นนักสังคมศาสตร์ การศึกษาผลกระทบนี้จึงศึกษาทั้งโดยวิธีวิทยาแบบ quantitative และ qualitative

          มหาฯต้อง differentiate ทั้ง vertical และ horizontal  กลไกกลางกระตุ้นด้วย Excellence Initiative  ผลคือเกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างแต่วัฒนธรรมเน้น AcademicExcellence ของอจ. ไม่เปลี่ยนดู pptของ Tim Flinkได้ ที่นี่ 


          ช่วงบ่าย

          เยี่ยมเรียนรู้กิจการของ BSEL(Berlin School of Economics and Law) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐในกลุ่มUniversity of Applied Sciences and Artsคือเน้นการประยุกต์ใช้ความรู้โดยBSEL เน้นด้านสังคมศาสตร์นศ. ที่เข้าเรียนมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้เน้นเพื่อการมีงานทำเป็นหลักเป็นมหาวิทยาลัยประเภทที่มีจำนวนมากที่สุดคือมี๒๒๑ แห่งทั่วประเทศ BSEL มีนศ. ๑หมื่นคนศาสตราจารย์ ๒๐๐ เจ้าหน้าที่สนับสนุน ๗๐๐

          เน้นบริการนักศึกษาเพื่อให้มีงานทำสร้างคนให้หน่วยงานเอกชน-Cooperative Study Programmeแบบที่ นศ. เรียน ๓ เดือนทำงาน ๓ เดือนสลับกัน ได้รับเงินเดือนจากบริษัท  เรียน๓ ปี เมื่อจบปริญญาตรี ๘๐% บริษัทรับเข้าทำงานประจำ  โดยที่ตอนคัดเลือก บริษัทเป็นผู้คัดเลือก  เป็น “สหกิจศึกษา” ที่เข้มข้นกว่าของบ้านเรามาก

          ริเริ่มวิธีการพัฒนาสมรรถนะเพื่อการมีงานทำ หรือเป็นที่ต้องการของนายจ้าง  หรือเพื่อออกไปสร้างงานเอง หลากลายวิธี ได้แก่บริการให้คำแนะนำปรึกษา (studentcounseling), การจัดฝึกอบรมทักษะเพิ่มเติมด้าน soft skills, การให้คำแนะนำปรึกษาด้านการทำงาน, ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการ,หน่วยประสานงานกับนายจ้าง, เครือข่ายบริการการมีงานทำ, cross cultural mentoring

          รุกไปร่วมมือต่างประเทศหลากหลายประเทศโดยร่วมกันจัดการศึกษาแบบ๒ ปริญญา ทั้งระดับปริญญาตรี และโท

          สถานที่/campus ง่ายๆ

          ความริเริ่มสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยแบบนี้ เน้นที่การพัฒนานักศึกษา  เพื่อการมีอาชีพที่ดี  เราได้เห็นความภาคภูมิใจในตัวตนของมหาวิทยาลัยเพื่อการมีงานทำของนักศึกษา ความร่วมมือกับต่างประเทศก็เพื่อบรรลุผลการทำหน้าที่นี้


ช่วงเย็น

          ชมอาคารรัฐสภาเป็น guided tour เฉพาะกลุ่มเราเป็นทัวร์ประวัติศาสตร์มากกว่าทัวร์อาคารได้เห็นวิธีคิดสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ที่ใช้ประโยชน์หรือเกิดคุณค่าหลายด้านต่อสังคมเยอรมันรวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วย

          หลังจากนั้นเดินไปบริเวณBrandenberg Gate ที่เคยกั้นระหว่างเยอรมันตะวันออกกับตะวันตกบริเวณกว้างบรรยากาศคึกคักมีรถจักรยานคนถีบ๑๐ คนนั่งรอบเป็นวงกลมแต่มีกลไกให้ส่งแรงไปทางเดียวกัน

          หลังกินอาหารเย็นที่ภัตตาคารแถวนั้นชื่อTucher am TorเดินไปHolocaust Memorial ให้ความรู้สึกสังเวชกับการที่มนุษย์เกลียดชังเข่นฆ่าเพื่อนมนุษย์แล้วนั่งรถกลับโรงแรมโดยรถพาวนไปชมย่านสถานทูตด้วย


วิจารณ์ พานิช

๑๕ มิ.ย. ๕๖



                             ภายในห้องประชุมที่โรงแรม Streigenberger Berlin



                          Dr. Ingo Rollwagen นักวิเคราะห์แห่งธนาคาร Deutsch Bank




                 ด้านหน้าของ BSEL นศ. นั่งและยืนจับกลุ่มคุยกัน  ไม่ได้มีสถานที่โอ่อ่า



                                                     บรรยากาศในห้องประชุม BSEL



                                                       ถ่ายจากอีกมุมหนึ่ง



                                                            ภายในอาคารรัฐสภา



                                            ศิลปะการตกแต่งภายในอาคารรัฐสภา



                                ส่วนหนึ่งของอาคารรัฐสภาเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การเมือง 

                                                    โดยเฉพาะยุคมืดสมัยนาซี



                                   โดมสัญลักษณ์รัฐสภาที่สร้างใหม่ แทนของเดิมที่ถูกเผาสมัยฮิตเล่อร์ 

                                                  ที่ฮิตเล่อร์กล่าวหาว่าพวกคอมมิวนิสต์เผา



                                           ห้องประชุมรัฐสภา อยู่ใต้โดม



                                      โดมถ่ายจากห้องประชุมรัฐสภา



                                                 ชั้นบนสุดของโดม



                              แกนกลางของโดม



                                          ทางเดินสู่ชั้นบนของโดม



                                             ถ่ายรูปหมู่ที่ลานหน้าโดม



                                           ประตู แบรนเด็นเบิร์กยามเย็น



                                  สถานที่ระลึกถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ยิว



                                               จักรยานสี่ล้อ ๘ คนถีบ




หมายเลขบันทึก: 542088เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2017 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท