การประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.อุบลราชธานี)


สวัสดีครับ ชาว blog

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2556 ผมเเละทีมงานมาจัดประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (จ.อุบลราชธานี)

 เพื่อเป็นการเผยแพร่แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ เป็นการให้ความรู้ในรูปเเบบการเสวนา เเลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการเรียนรู้สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสัมมนาและสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่าย ด้านการท่องเที่ยวเเละกีฬามาสร้างมูลค่าเพื่อให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จาก AEC ได้เต็มที่

ภาคเหนือจัดที่จังหวัดลำปาง ประกอบด้วย  ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ พะเยา น่าน แม่ฮ่องสอน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดที่จังหวัดอุบลราชธานี ประกอบด้วย อุบลราชธานี  ยโสธร สุรินทร์ กาฬสินธุ์ มหาสารคาม อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์  มุกดาหาร

ภาคใต้จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย สุราษฎร์ธานี สงขลา ชุมพร พัทลุง นครศรีธรรมราช

ภาคตะวันออกจัดที่จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ปราจีนบุรี สระแก้ว

ภาคกลางที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยกรุงเทพฯ และจังหวัดในเขตภาคกลาง

ผมจึงเก็บภาพบรรยากาศเเละแนวคิดของการประชุมในวันนี้มาฝากครับเเละผมจะรายงานบรรยากาศในการจัด Deepening Workshop ในครั้งต่อๆไปมาฝากทุกครั้งครับ

                                                                                                       จีระ หงส์ลดารมภ์









หมายเลขบันทึก: 542077เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 11:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กรกฎาคม 2013 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

..... ดูท่าน ศ. ดร. จีระ สดชื่น สดใส มากนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

ทีมงานวิชาการ Chira Academy

สรุปประเด็นย่อที่น่าสนใจจากการประชุมปฏิบัติการเชิงลึก (Deepening Workshop)

กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


กล่าวรายงาน

โดย นายนเร เหล่าวิชยา

ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงการท่องเที่ยวกีฬา

สืบเนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงโอกาสจากการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อเตรียมความพร้อมด้านการท่องเที่ยวและกีฬาสู่การเปิดเสรีประชาคมอาเซียน พ.ศ.2555-2559 ขึ้น และพบว่าประเด็นสำคัญที่จะเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬา คือ การพัฒนาทุนมนุษย์ในกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการท่องเที่ยวและกีฬาทุกภาคส่วน ให้มีความพร้อมและความตระหนักในการเตรียมความพร้อมในด้านการบริหารจัดการแบบองค์รวมในทุกมิติ จึงได้ดำเนินการโครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และได้เชิญมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา โดย ศาสตราจารย์ ดร. จีระหงส์ลดารมภ์ เลขาธิการสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เป็นที่ปรึกษาโครงการ และได้มีจัดการประชุมปฏิบัติกเชิงลึกขึ้น โดยเน้นคลัสเตอร์กลุ่มท่องเที่ยวนำร่อง ใน 4 ภาค โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการ ให้กับภาคีทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้มีความพร้อม รู้เท่าทันในโอกาสและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียน และเป็นการพัฒนาบทบาทของเครือข่ายทั้งภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น ชุมชนตลอดจนสถาบันการศึกษา เพื่อให้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวและกีฬาอย่างมีส่วนร่วมในทุกระดับการประชุม

กล่าวเปิด

โดย ดร.เสกสรร นาควงศ์

รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งเป็นภาคอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ สร้างงาน สร้างอาชีพและกระจายรายได้ ให้แก่ประชาชน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาซึ่งได้รับการมอบนโยบายจากรัฐบาลในการจัดทำยุทธศาสตร์บูรณาการการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวสองล้านล้านบาทในปี 2558 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงการปรับตัวเพื่อรองรับสภาพการเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยวและกีฬาไทยในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน จึงได้มีการจัดการประชุมปฏิบัติการในวันนี้ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เป็นกระบวนการหนึ่งในการส่งเสริมองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับ การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ปาฐกถาพิเศษ

เรื่อง “โอกาสและความท้าทายของท่องเที่ยวและกีฬาไทยในเวทีอาเซียน”

โดย ดร.เสกสรร นาควงศ์

รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

การที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพเศรษฐกิจและสังคมไทยให้พัฒนาก้าวไกล การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนทำให้ขนาดของเศรษฐกิจไทยเปลี่ยนแปลงไปจากการรองรับประชากรขนาด 66 ล้านคน เพิ่มเป็น 600 ล้านคน และเราคงต้องมองถึงโอกาสการเติบโตของการเดินทางท่องเที่ยว และธุรกิจที่ขยายไปถึงจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิก ตลาดการบริโภคจะใหญ่มากขึ้นไปอีก ประเทศไทยนับว่าได้เปรียบในเรื่องของการท่องเที่ยว เนื่องจากมีความแข็งแกร่งในเรื่องของความหลากหลายและงดงามของแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม อัธยาศัยไมตรี สิ่งอำนวยความสะดวก

ในขณะเดียวกันการรวมตัวของประชาคมก็มีข้อตกลงในการเป็นตลาดการผลิตตลาดเดียว โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การลงทุน แรงงานฝีมือและเงินทุน อย่างมีเสรีมากขึ้น ซึ่งสิ่งที่จะกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวโดยตรงผมมองว่ามี 3 เรื่องใหญ่ๆ คือประการแรก เกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน การแย่งชิงแรงงานฝีมือในภาคบริการจะมากขึ้น ผู้ที่ชำนาญภาษาต่างประเทศ และมีความชำนาญงานจะมีโอกาสในการทำงานมากกว่าประการที่สอง การเคลื่อนย้ายทุน ประเทศที่มีทุนมากจะเข้ามาแข่งขันกับธุรกิจภายในประเทศมากขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการไทยก็จะมีโอกาสในการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น ในปัจจุบันสมาชิกอาเซียนสามารถถือครองหุ้นได้ 70% ได้แก่ ธุรกิจบริการ ไอที ท่องเที่ยว การบิน การบริการสุขภาพ หากไทยไม่มีการพัฒนาเพื่อรับมือกับการไหลเข้ามาของทุนต่างชาติ จะทำให้ภาคบริการของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ และมีฐานะเป็นเพียงแหล่งลงทุนที่ได้ประโยชน์จากการจ้างงานเท่านั้น ประการที่สาม เรื่องของการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกันเอง เราจึงต้องเตรียมความพร้อมในการแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดท่องเที่ยวไว้ให้ได้ ทั้งหมดนี้คือความท้าทายที่เกิดขึ้น ณ ปัจจุบัน

ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง โครงการจัดทำแนวทางส่งเสริมองค์ความรู้
ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาเชิงบูรณาการรองรับการเปิดเสรีประชาคม-เศรษฐกิจอาเซียน

(ความเป็นมา และประเด็นสำคัญด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์)

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

อยากให้ท่องเที่ยวกีฬาสร้าง 3 V คือ

1. เพิ่มมูลค่าทางการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ต่อยอดจากโครงการเดิม ปรึกษาหารือร่วมกัน

2. พัฒนาโครงการใหม่ ๆ ใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์ คิดโครงการใหม่ ๆการท่องเที่ยวในอนาคตในลักษณะช่วยเหลือกันให้มากที่สุด

3. ความหลากหลาย คือการมี Diversity มีผู้นำท้องถิ่น นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน มาร่วมพลังกัน

- เน้นความต่อเนื่องโดยใช้ระบบ ดิจิตอล เฟซบุ๊กส์เชื่อมโยงกัน

- การคิดโครงการร่วมกัน สู่การพัฒนาองค์ความรู้ ในการสร้างเครือข่ายต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น

Key Words

1. สร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวและกีฬา

2. การบูรณาการท่องเที่ยวและกีฬา เช่น การแข่งขันฟอร์มูล่า การแข่งขันวิมเบอร์ดั้น

สิ่งสำคัญคือ

- ความคิดสร้างสรรค์ต้องอยู่ในความคิดของทุกคน

- การท่องเที่ยวเน้น Asean แต่บางครั้งอาจเน้น Buddhism ก็ได้

- องค์ความรู้ที่อยู่ในห้องนี้เป็นองค์ความรู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และนำสู่การค้นพบองค์ความรู้ในภาคอีสาน

- ศึกษาเรื่องมาตรฐานอาชีพ 32 ตำแหน่งงาน

- เน้นทฤษฎี 2 R คือ Reality , Relevance ต้องไม่ดาวกระจาย

3. ในอนาคตข้างหน้าจะกระจายไปทุกจุดของประเทศไทย เช่น นักท่องเที่ยวฝรั่งเศส ไม่ได้ไปที่ปารีส หรือที่อื่น ๆ อย่างเดียว แต่มาที่ชุมชนด้วยเราจะสร้างการท่องเที่ยวชุมชนให้เกิดขึ้นได้อย่างไรการท่องเที่ยวชุมชนต้องมีมาตรฐาน สร้าง Forever Thailand Tourism ต้องรู้มาตรฐานของโลก

กรอบแนวคิดในการศึกษา

1. Where are we?

2. Where do we want to go ?

3. How to do it ?

4. How to do it Successfully?

- จุดสำคัญคือ การสร้าง Network และสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีความรู้แล้ว มีความคิดแล้วต้องปฏิบัติให้เกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นมา

- อยากให้ทุกคนเป็นเหมือนแนวร่วม ให้มีการร่วมมือกัน

- เน้นอะไรที่เป็นรูปธรรม อาจมีการทำ Business Planning

สรุป คือ ขอให้ทุกท่านรวมพลังมากที่สุด เอาพื้นฐาน Pre-Planning ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก

แสวงหาองค์ความรู้ การบริหารจัดการ รู้เขา-รู้เรา, เป็น Supply -Demand

การอภิปราย เรื่อง “องค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและกีฬาไทยรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”

ศักยภาพอาเซียน กับการท่องเที่ยวและกีฬาไทย

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

-ถ้าเราจะทำงานท่องเที่ยวและกีฬาไปสู่อาเซียนให้สำเร็จได้ ต้องมีองค์ความรู้และปัจจัยหลาย ๆ อย่าง

-แต่ละท่านไม่ได้ฟังเพื่อรู้อย่างเดียว แต่ต้องคิดด้วย

4L’s

Learning Methodology คิดวิเคราะห์แลกเปลี่ยนกัน

Learning Environment มีบรรยากาศในการเรียน มี Feeling

Learning Opportunities มีการปะทะกันทางปัญญา ให้ทุกท่านแสดงความคิดเห็นสร้างโอกาสแบ่งปันความรู้กัน

Learning Communitiesเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ต่อไปหรือไม่

2R’s

Reality – รู้ความจริงเอาความจริงในภาคอีสานออกมามีอะไรบ้าง

Relevance – ตรงประเด็น จะทำอะไร และทำอย่างไร

2I’s

Inspiration

Imagination

จากทฤษฎี 8K’s สิ่งที่อยากนึกถึงคือ

สิ่งแรก ต้องทำงานด้วยความถูกต้องโปร่งใส มีธรรมาภิบาล

สิ่งที่สอง ต้องมีปัญญา มีความเข้าใจเรื่องท่องเที่ยวและกีฬาอย่างถ่องแท้ คิดเป็น วิเคราะห์เป็น

สิ่งที่สาม ต้องมี Networkingและ Academic

สิ่งที่สี่ ต้องมี Knowledge

สุดท้าย ต้องมี ทุนทางวัฒนธรรม

สรุปคือ ถ้าเราพัฒนาทุนมนุษย์ เราต้องมี Standard ,Quality, Excellence, Benchmarking , Best Practice

ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวไทย วิถีการท่องเที่ยวชุมชน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน

โดย คุณภราเดช พยัฆวิเชียร

ประธานสถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน

- การท่องเที่ยวในเชิงนโยบายไม่ต้องห่วงเรื่องปริมาณตลาด คนต่างชาติมาเที่ยว 20 ล้านคน ต่อปี คนไทยเที่ยวกันเอง 80 ล้านคนต่อปี

- สิ่งที่ต้องการคือ ต้องการคนมาเที่ยวที่พอเหมาะ พอดี และเหมาะกับความยั่งยืน แต่พบว่าที่ผ่านมานักท่องเที่ยวมาเที่ยวเกิน 1 ล้านคน มี 7 จังหวัด พบว่ามีพื้นที่รับนักท่องเที่ยวที่กระจุกตัว

- คนฝรั่งเศส มาเที่ยวไทยมากกว่าไปกรุงปารีส ฝรั่งเศส 80 ล้านคน จะเที่ยวแบบกระจายตัวแต่ไทยไม่กระจายตัว ดังนั้นการท่องเที่ยวจะยั่งยืนได้ ส่วนหนึ่งเราต้องเกิดการกระจายตัว

- เงื่อนไขคือการกระจายตัว แต่อยากให้มองถึงชุมชนด้วยว่าชุมชนมีความพร้อมหรือไม่ ชุมชนต้องการหรือไม่

- การท่องเที่ยวไปในชุมชนไม่ได้เกิดจากกระบวนการต้องการรองรับของคนในท้องถิ่นเอง

- สิ่งสำคัญคือ เราต้องรู้จักตัวเราเอง และรู้จักนักท่องเที่ยว

- การท่องเที่ยวโดยชุมชน ต้องเกิดประโยชน์และจัดการโดยชุมชน ถ้าเป็นอย่างนี้จะเริ่มมองตัวเองก่อน ค่อยมองข้างนอกว่ามีอะไร สร้างมูลค่าขึ้นมาให้ได้ ต้องรักษาการดำรงชีพ และวัฒนธรรมไว้ สร้างคุณค่าจากผู้มาเยือนสนองต่อเศรษฐกิจของชุมชน

- ปัญหาคือ ชุมชนเราพร้อมหรือยัง สังเกตได้ว่าชุมชนในบ้านเรายังอ่อนอยู่ เนื่องจาก

1. สถานะทางสังคมต่างกว่าชุมชนเมือง การได้รับการยอมรับ และรับฟังไม่เท่ากัน

2. คนในชนบทมีสถานะด้อยกว่าในเมือง ทำให้ขาดอำนาจในการต่อรอง

สิ่งที่ต้องทำคือ

1. การสร้างเครือข่าย

2. สร้างพันธมิตรทางธุรกิจ เราจะเกิดโอกาสทางธุรกิจได้กับได้เป็น Win-Win ได้อย่างไร เพื่อให้เกิดความหลากหลาย

3. ใช้การวิจัยท้องถิ่น ให้คนในท้องถิ่นเป็นนักวิจัยด้วยตัวเองคือ คุณมีอะไร อยากได้อะไร ไม่อยากได้อะไร ไม่อยากเห็นอะไร สิ่งที่จะทำ ทำแล้วยั่งยืนหรือไม่ เช่น

-การเรียนรู้โดยตัวอย่างที่ดี เป็นการพัฒนาความเข้มแข็งและพอเพียงให้กับท้องถิ่นตนเอง จะสร้างมิติ และรักษาทรัพยากรต้นทุนนี้ไว้

-ทำอย่างไรให้เกิดความยั่งยืน

-ทางออกเดียวที่เห็นคือเศรษฐกิจพอเพียง

-การท่องเที่ยวโดยชุมชนจะเป็นตัวเสริมรายได้ให้กับภาคเกษตรที่ทำอยู่แล้วโดยรักษารากเหง้าวิถีชีวิต วัฒนธรรมเดิมที่ยังคงอยู่

Sport Tourism ผสมผสานต่อยอดการพัฒนา

โดย คุณชัย นิมากร

ประธานกรรมการอำนวยการบริษัทในเครือแกรนด์สปอร์ต

แผนกีฬาแห่งชาติ เราจะมา Apply ธุรกิจให้เกิดขึ้นได้อย่างไร

1. กีฬานันทนาการ เริ่มตั้งแต่ ร. 5 พักผ่อน หย่อนใจเข้าสู่การเรียนพลศึกษา โรงเรียน ถ้าพัฒนาตรงนั้นให้มีศักยภาพคนมาเรียนจะเป็นการทำรายได้เข้าสู่ประเทศ มีคนมาเรียนจากภูมิภาคต่าง ๆ การบริหารจัดการกีฬา มีนักเรียนจากเวียดนาม มาเลเซียที่มาเรียนอยู่ ถ้าเราพัฒนาอุตสาหกรรมตรงนี้ ใช้ลำดับก่อนหลังได้จะดีมาก

2. กีฬามวลชน เป็นกีฬาที่ไม่ต้องใช้สนามกีฬาแต่รายได้มาก เช่น การสร้างกลุ่มนักวิ่งมาราธอนเล่นปิงปอง ใช้สนามกีฬาที่มีอยู่

3. กีฬาความเป็นเลิศเช่นวอลเล่ย์บอลประเทศต่าง ๆ มาขอฝึกวอลเล่ย์บอลอย่างไรประเทศฝรั่งเศส มีรับฝึกทีม และทำทีมให้ซ้อม ท่องเที่ยวและกีฬา อาจฝากเอา Package ไว้กับสมาคมวอลเล่ย์บอล

4. กีฬาเพื่อการอาชีพ

อาเซียนมีการประกาศว่าปี 2013 เป็นปีอุตสาหกรรมการกีฬาปี 2030 อาเซียนจะจัดฟุตบอลโลก แล้วไปบิด สิ่งสำคัญคือเราจะรองรับต่อยอดการท่องเที่ยวอย่างไร ให้ใช้กีฬาดึงคนการท่องเที่ยวมาด้วย เป็นการสร้างโอกาสการเชื่อมโยงให้ได้

Sport Science สามารถทำเงินได้ ดังนั้นรูปแบบทางธุรกิจที่ใส่เข้าไปสามารถทำเป็นเชิงธุรกิจได้ ดังนั้นพื้นฐานทางการศึกษาล้วนสามารถ Linkเข้ามาเพื่อความร่วมมือทั้งกีฬาและท่องเที่ยว รูปแบบจะเป็นอย่างไรเป็นประเด็นที่ควรตกลงต่อไป

ยุทธศาสตร์ของการท่องเที่ยวและกีฬากลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สู่
AEC” (กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมุกดาหาร)

โดย นายคตศิลป์ อกอุ่น

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี

-สิ่งที่ทำในจังหวัด ทำมาด้วยมือแล้วเล่าสู่กันฟังคือ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นคือเป็นเมืองเกษตร ข้าวอินทรีย์ หอมมะลิอินทรีย์ เป็นเมืองค้าชายแดนและท่องเที่ยวเชื่อมโยง ยุทธศาสตร์การพัฒนา มุ่งไปที่ 2 ประเด็นนี้ และมียางพาราและมันสำปะหลังเป็นตัวแทน

-มิติทางการท่องเที่ยวอุบลฯ มี 3-4 เรื่อง

1. ธรรมชาติไม่แพ้ใคร

2. มีการเชื่อมโยงกับเสียมเรียบ แหล่งมรดกโลก

อุบลราชธานี มีผาแต้ม อุทยานธรณีวิทยา 3 พันโบก และในช่วงเดือนกรกฎาคมจะเป็นเรื่องของเทียนอย่างเดียว

มีศิลปะของอุบลฯ เป็นเมืองนักปราชญ์ มีนักปราชญ์จำนวนมาก ส่วนทางด้านศาสนา ก็ไม่แพ้ใครมีเกจิอาจารย์ดัง ๆ จำนวนมาก

3. ความสำคัญทางศาสนา มีหลวงปู่มั่นใหญ่ที่สุด

4. Man Made มีสวนสัตว์เปิดสามารถทำการต่อยอดกีฬาได้เลย เช่นมีที่ทหาร 1,200 ไร่ ถ้าสามารถเป็น Hub ทางการกีฬาจะต่อยอดได้อย่างยั่งยืน

นายพิเชฐ เดชะคำภู

ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดมุกดาหาร

-มุกดาหารเป็นเมืองสวรรค์ชายโขง เชื่อมโยงอาเซียน เป็นเมืองสงบเงียบมี 7 อำเภอ ติดกับแม่น้ำโขง สามารถเป็นประตูสู่อาเซียนเพราะข้ามไปยัง ลาว เวียดนาม ต่อไปจีนได้ เส้นทางหมายเลข 9 เป็นเส้นทางเชื่อมโยงจีน อาเซียนได้

-ยุทธศาสตร์มีนโยบายการเชื่อมโยงท่องเที่ยวกีฬา 2 แผ่นดิน ไทย – ลาว

-มีการให้มุกดาหารเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ

-เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มีโฮมสเตย์บ้านภูและภูไท เน้นวัฒนธรรมภูไท เช่นมีผ้าฝ้ายหมักโคลน

-มียุทธศาสตร์นำร่องคู่กับยโสธร เป็นยุทธศาสตร์ของประเทศเรื่องท่องเที่ยวและกีฬาเป็นเจ้าภาพ รวบรวมหน่วยงานทุกจังหวัดของบประมาณทุกจังหวัด และกลุ่มจังหวัด มีแหล่งท่องเที่ยวในมือ เสนอจังหวัด กลุ่มจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาต้องให้ความสนใจเรื่องนี้

-เส้นทางสี่เลนต้องเตรียมให้พร้อม

-เตรียมงบ 2 พันล้าน เพื่อสร้าง Facility มุกดาหารมีสนามบินในจังหวัดใกล้เคียง แต่ต้องเดินทางร้อยกว่าโล ขึ้นไป จึงขอให้มีการสร้างสนามบินเนินนกทาที่มุกดาหาร ซึ่งใกล้หน่อยคือ 40 กิโลเมตร และขอรถไปถึงมุกดาหารและนครพนม คาดว่าสามารถเชื่อมโยงอินโดจีน ถึงดานังได้เลย ใช้กีฬาเชื่อมสัมพันธ์สุวรรณเขต

-โครงการปั่นสองล้อ สองเมือง สองแผ่นดิน ชมแหล่งท่องเที่ยว ดูแหล่งท่องเที่ยวด้วย จะจัดในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ปี พ.ศ. 2557 จะจัดแรลลี่โดยเชิญเวียดนามกับลาวมาจัดเช่นกัน ปลายเดือนนี้ 26-28 ก.ค. 2556 ออนซอนเมืองมุกดาหาร มีวัฒนธรรมพื้นเมืองของชนเผ่า 8 เผ่า มีการประกวดประเพณี ดนตรีลูกทุ่ง และอาหาร

การร่วมแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

1. ชุมชนชายขอบระดับเรามีฐานเศรษฐกิจระดับล่าง แต่กำลังผลักดันเป็นชุมชนท่องเที่ยวให้ผู้มีอันจะกินมาเที่ยว ส่งอานิสงส์ต่อชุมชน

2. เห็นด้วยกับการเพิ่มหลักสูตรการกีฬาในโรงเรียน แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นกระแสหลักคือ ผลักครูและนักเรียนนุ่งขาวห่มขาวถูกจุดหรือไม่ แก้พฤติกรรมถูกจุดหรือไม่ ที่เราคุยตรงนี้ เรากำลังฝ่าด่านจารีต และระบบหลายส่วน

3. กีฬามวลชน ไปจมปลักอยู่ที่หลาย ๆ ส่วน

จุดแข็งจังหวัดชายขอบ ได้รับอานิสงส์จากแม่น้ำโขงความยั่งยืนจะเป็นเช่นไร ความยั่งยืนต้องไม่มีเขื่อนแม่น้ำโขง

รักษาความอุดมสมบูรณ์ ต้องไม่มีสนามกอล์ฟตรงสามเหลี่ยมมรกต

ความคิดเห็นที่ 2

-จังหวัดมุกดาหารมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนอยู่ อยากให้อาจารย์ภราเดชช่วยต่อยอดว่าทำอย่างไรถึงจะเพิ่มมูลค่าและวิถีชีวิตชุมชน จะสอนเขาได้อย่างไร ทำอย่างไรถึงรู้จักวิจัย ท้องถิ่นด้วยตนเอง แนวทางที่จะพัฒนาชุมชน การท่องเที่ยวชุมชนจะเป็นตัวเสริมในภาคเกษตรเป็นเรื่องจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ความคิดเห็นที่ 3

-ต้องมีแผนแม่บท

-การเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยวเป็นเรื่องของยุคสมัย ไม่เป็นทางการ เราจะลงทุนในเรื่องนโยบายเชิงรุกจะทำอย่างไรวิชาการจะมาเจอวิชาชีพได้อย่างไร แต่ละจังหวัดมีต้นทุนเป็นจุดเริ่มต้น ทำอย่างไรให้คนไทยในท้องถิ่นตระหนัก ณ ตรงจุดนี้

-ยุคเขยอีสาน แรงงานข้ามชาติ เรื่องเหล่านี้ ถ้านำมาวิเคราะห์จะเป็นต้นทุน ทำเรื่องนี้ได้อะไร ไม่ทำจะเป็นอย่างไร เป็นห่วงเรื่องนโยบายที่จะวางรากฐานให้แต่ละท้องถิ่นให้กระจายทั่วถึง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-เรื่องกีฬา เราได้ดีเพราะชีวิตเราสมดุล นึกถึงส่วนรวม กีฬาต้อง Back to basic

-กีฬาระดับประถม มัธยม อยู่ใน สพฐ. แต่ สพฐ. ไม่มีเครื่องมือและไม่เข้มข้นเท่ากรมพลศึกษา

-เป็นการตอบโจทย์ว่าใครจะไปทำในเรื่องเหล่านี้

-ถ้าเราจะพูดเรื่องท่องเที่ยวเชิงชุมชนและท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขอให้เป็นนโยบายที่ต้องทำด้วย

-ข้อดีของโปรเจคคือต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

-ใครมารุ่น 1 Pre-Planning จะเป็นสมัชชาของความต่อเนื่อง ต้องปลูกฝังวิธีการเรียน วิธีเอาความรู้มาปะทะกัน

-ต้องกระตุ้นให้ Debate กัน

-การเรียนรู้ยุคใหม่คือ Life Long Learning

คุณภราเดช พยัฆวิเชียร

-สิ่งที่ทำอยู่คือการผลักดันนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ มีการแบ่งเป็นกลุ่มจังหวัดการท่องเที่ยวที่ชัดเจนขึ้น

-แต่ละกลุ่มจังหวัดควรมีคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดให้จังหวัดคิดเอง ทำเอง เป็นลักษณะล่างขึ้นบนPPP (Public Private Partnership) เป็นกระบวนการทำงานร่วมกันก่อนแผนการดำเนินงาน

-สื่อ วัฒนธรรมกีฬา วัฒนธรรมการท่องเที่ยวเป็นตัวเดียวกันทุกส่วนต้องเข้าใจว่าการท่องเที่ยวเป็นกระบวนการเรียนรู้เปรียบเทียบ ช่วยให้เกิดสันติสุขขึ้น

-กีฬามีโรงเรียนเหง้า โรงเรียนเยือน

-การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ต้องรู้ว่าต้นทุนมีอะไร ต้นทุนคือ ศิลปะ วัฒนธรรมที่อื่นๆไม่มี เราจะต่อยอดวัฒนธรรมท้องถิ่นได้อย่างไร มีวิถีถิ่นอาหาร การแต่งกาย ดนตรี

-การเดินทางย้อนรอย

-การเดินทางแบบ corridor

-การท่องเที่ยวต้องสามารถจัดโปรแกรมเป็น package ให้ครบ และดูจุดแข็ง จุดอ่อนว่าเรามีอะไรต้องเพิ่มมูลค่าโดยการให้บริการอย่างมีคุณภาพ และการนำเสนออย่างดี สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างคือ การมีประสบการณ์ สร้างอย่างเป็นอยู่รูปธรรม ความมีที่มาที่ไป การมีเรื่องเล่า มีความพูกพันธ์ เราต้องสร้างสิ่งที่เป็นรูปธรรมให้เกิดเป็นนามธรรม Intangible ขึ้นมา เชื่อมโยงกับกีฬาวิถีถิ่นแล้วบางครั้งต้องทำให้ Intangible เป็น Tangible ให้ได้เหมือนกัน ต้องดูว่าจุดขายอยู่ตรงไหน

-การท่องเที่ยวเป็นแค่เครื่องมือเป็น Secondary เป็นบทรองใช้เมื่อมีโอกาส ใช้เมื่อเกิดประโยชน์

-สิ่งที่ทำให้เกิดประสบการณ์ต้อง Active มาก ๆ

ดร.เสกสรร นาควงศ์

-ปัจจุบัน รัฐได้กำหนดเรื่อง Miracle Thailand แต่บางครั้งนึกไม่ออกว่าอะไรคือ Miracleบางทีไม่ตอบโจทย์ว่าอะไรคือใช่หรือไม่ อยากให้มองเรื่องว่า Scens Thailand คือเรื่องของภาพ หรือฉาก 1 ภาพบนแผนที่โลก

S – Shopping ในชุมชนมีอะไรเป็นชุดขายได้

C- Culture มีอะไรเป็นจุดขาย

E –Eating – ต้องรู้แหล่ง ประเทศไทยมีหมดทุกระดับ

N – Nature

E- Entertainment

S- Sport

Scens คือภาพบนแผนที่โลก เป็นส่วนที่ต้องการค้นหาว่าคืออะไรในประเทศไทย

ท่องเที่ยวและกีฬาจ.อุบลราชธานี

-สามเหลี่ยมมรกต เป็นสะดือสามเหลี่ยมมรกต แต่ก่อนเป็นสมรภูมิรบ ลาวแดง เขมรแดง ไทย แล้วต่อมายุติสงคราม ดินแดนนี้เป็นแหล่งเขียวขจีด้วยต้นไม้ เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ คิดจะทำสนามกอล์ฟ แต่ก็ไม่สามารถผลักดันไปได้ ในที่สุดเกิดการกำหนดสามเหลี่ยมมรกตขึ้นใหม่ มี 3 ประเทศ 7 จังหวัดมีการประชุมระหว่างชาติทุกปี ถ้าพูดตรงชายแดนชิดกันจะเป็นสะดือสามเหลี่ยมมรกตเพราะเป็นศูนย์กลาง

จ.มุกดาหาร

-เป็นจังหวัดชายโขง มีกิจกรรมกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งนั้น เช่นกิจกรรมไหลเรือไฟ ประเพณีต่าง ๆ

คุณชัย นิมากร

-เรื่องแห่เทียนมีความเป็นไปได้ เพราะสามารถเชื่อมกีฬามวลชนกับประเพณีต่าง ๆ ได้ สามารถใช้ประโยชน์จากสนามกีฬาได้เช่นกัน

-มีการเอาคนอาเซียนมาเล่นกีฬาร่วมกัน ผ่านสถานทูต ให้ส่งตัวแทนมาเล่นกีฬาร่วมกัน การกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว และสนับสนุนการเล่นกีฬา ก็ลองคิดดูได้

-Best Body Mind Spirit ประเทศไทยสามารถทำได้หรือยัง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

-กีฬาบริบทไทยในอาเซียน การโยงกีฬากับท่องเที่ยวให้ได้ในภาคอีสานในอนาคตมีมูลค่ามหาศาล

-กีฬาและท่องเที่ยวไม่ได้อยู่ในบริบทของเศรษฐกิจอย่างเดียว อยู่ในความมั่นคงของบริบท และศิลปวัฒนธรรม ต้องเข้าใจบริบทอาเซียนด้วย

-สมาคมกีฬา และโค้ช ต้องโค้ชเยาวชน

การแสดงความคิดเห็น

1. มาจากสมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจ.สุรินทร์นครราชสีมาถึงอุบลราชธานี เรามีธรรมชาติที่สวยงามอยู่มากที่ จ.นครราชสีมา มีวัฒนธรรมอยู่ที่บุรีรัมย์ และสุรินทร์แต่พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น คือการทำการตลาด มีการสร้างเรื่องชุมชนและวัฒนธรรม แต่ไม่เกิดความต่อเนื่อง ไม่ได้มีการจำกัดของจำนวนนักท่องเที่ยว และผู้มาเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวชุมชนรอนักท่องเที่ยวมาเที่ยว ส่วนนักท่องเที่ยวก็รอแหล่งท่องเที่ยวชุมชนว่าปฏิบัติดีขึ้นหรือไม่

2. การท่องเที่ยวไปประเทศเพื่อนบ้านไม่เกิน 5,000 บาท ขึ้นอยู่กับเงินดอลล่าร์ มีการค้าขายจากต่างประเทศมาโดยตรงไม่ผ่านผู้ที่เซ็นประกอบการท่องเที่ยวของไทยที่ถูกต้อง จึงทำให้เงินไม่อยู่ต้นน้ำ แต่อยู่ที่ปลายน้ำ เกิดความไม่เข้าใจในกลุ่มคนไทย

3. กลุ่มไซ่ง่อน ใช้เงินสูง เขามาไม่ได้ไกลนัก เนื่องจากแผนไม่เชื่อมโยงและไม่เอื้ออำนวยมัวแต่เอาคนไทยไปเที่ยวข้างนอกแต่ท่องเที่ยวชุมชนบ้านเมืองเหมือนกัน ยังไม่ได้ไปถึงไหน

ตัวอย่างปัญหานักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเที่ยวเชียงใหม่จำนวนมาก จากหนังเรื่อง Lost in Thailand ถามจริงว่าส่งผลอย่างไร

ประเทศไทยเคยมีการจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวอย่างที่ภูฎานทำหรือไม่

แนวทางส่งเสริมองค์ความรู้

ถ้ารับท่องเที่ยวจำนวนมากแล้วเราได้ประเมินผลหรือไม่ว่าเป็นอย่างไรแล้วเราควรทำอะไร

การแสดงความคิดเห็น

-จากประธานโฮมสเตย์ที่ปาอาวโฮมสเตย์อุบลราชธานี หมู่บ้านโฮมสเตย์ที่เกิดขึ้นที่โขงเจียมอีกแห่ง

-หมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สินค้าโอทอป เชื่อมโยงโฮมสเตย์

-มีผู้มาทัศนศึกษาท่องเที่ยว แหล่งวัฒนธรรมทองเหลืองค่อนข้างมาก หลายสิ่งมีการขับเคลื่อนโดยท้องถิ่น แต่เกิดปัญหาเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ จะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยว มีนักท่องเที่ยวสัมผัสกับชุมชนที่มีอยู่ มีการพัฒนาไปมากกว่านั้น

-สิ่งที่สะท้อนคืออยากให้หน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนไปสัมผัสกับสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน หาแนวคิด แนวทางร่วมกันให้นักท่องเที่ยวสัมผัสได้มากกว่านี้ อยากให้มีการขยับให้คล่องตัวมากกว่านี้

การแสดงความคิดเห็น

-จากประธานสถาบันท่องเที่ยวจ.ยโสธร การพัฒนาการสร้างมูลค่าเพิ่มการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ในภาคตอ.เฉียงเหนือมีปัญหามาโดยตลอดปัญหาขึ้นอยู่กับองค์กรการท่องเที่ยว

-การจัดอบรม สัมมนา สร้างคุณค่าของคนยังมีปัญหา

-การมีส่วนร่วมชุมชนยังมีปัญหา

-การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงวัฒนธรรมยังขาดความคิดสร้างสรรค์ด้วย ซึ่งเป็นปัญหาหลัก พูดคุยตลอดแต่ไม่สามารถทำได้

-ขาดความจริงใจในการแก้ปัญหา เรื่องกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการเชิญคนมาเที่ยว

-การเมืองมาก่อนเศรษฐกิจ เป็นระดับองค์กรมาก่อนท้องถิ่นเป็นหลัก

-ทางแก้ปัญหาเราจะสร้างมูลค่าเพิ่มเรื่องการกีฬา จะพัฒนาอย่างไร เช่น กีฬาในชุมชนเป็นการแข่งขันกันเองเพื่อสร้างความสามัคคี แต่ไม่สร้างให้เกิดประโยชน์ที่มากกว่านั้น

การแสดงความคิดเห็น

-ข้อคำถามที่จะมาสอบถาม ในฐานะที่อยู่ในการท่องเที่ยว มีเครือข่ายท่องเที่ยวอาชีพ การพัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว ให้ผู้ที่ทำหน้าที่มัคคุเทศก์อาชีพ และหัวหน้าทัวร์ประเทศเพื่อนบ้านชายแดน อุบลฯ ศรีสะเกษ ข้ามไปลาว สุวรรณเขต เวียดนาม เสียมเรียบ บางคนไม่ได้อบรมมัคคุเทศก์แต่แรก แต่มีความสัมพันธ์กับนักท่องเที่ยว ได้บัตรมาอย่างถูกต้องตามกฎหมายสามารถพาคนข้ามไปได้เลย ทำให้มีเสียงจากมัคคุเทศก์ติงว่าอาจถูกแย่งอาชีพไป

-มีการลดต้นทุนไม่ใช้มัคคุเทศก์อาชีพประจำ Bus ทำให้งานมัคคุเทศก์ลดน้อยลงไป

การแสดงความคิดเห็น

-จ.มุกดาหาร และแขวงสุวรรณเขต มีการใช้หนังสือผ่านแดนชั่วคราว สามารถอยู่ได้ 3 วัน แต่อยากให้ช่วยผลักดันจาก 3 วันเป็น 1 อาทิตย์ เพราะว่าสามารถทำให้กระบวนการจับจ่ายเพื่อการท่องเทียวมีเงินหมุนเวียยนใช้สอยมากขึ้น เศรษฐกิจดีขึ้น

คุณภราเดช พยัฆวิเชียร

-การท่องเที่ยว มีห่วงโซ่อุปทานของของการท่องเที่ยว ขอให้นึกอยู่อย่างว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนไม่ได้อยู่ในเชิงนโยบาย Fix Policy

-แหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลกอยู่ที่ไหนพื้นที่ที่มีความสุขที่สุดในโลกคือแหล่งท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในโลก อย่าไปแสวงหาว่านโยบายอยู่ตรงไหน การท่องเที่ยวเป็นส่วนเสริม ถ้าเอาเป็นหลักเมื่อไหร่จะผิดหวัง อยากให้ดูตัวอย่าง ชุมชนที่สุราษฎร์ธานี เกิดขึ้นได้ เพราะปกป้องทรัพยากรธรรมชาติของเขาเอง เขามีความสุข แล้วจึงค่อยมีคนสนใจ

-การท่องเที่ยวไม่ต้องสร้างเรือใหม่

-การท่องเที่ยวชุมชนมีคุณค่าของมัน แต่ไม่ใช่ลำดับความสำคัญแรกที่ตอบสนองการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวจะเป็นเพียงตัวเสริมเท่านั้น

-สิ่งสำคัญคืออยากให้เริ่มจากการให้คนมีคุณภาพ มีความสุข แล้วสามารถแบ่งปันทรัพยากรได้ให้เกิดมูลค่าจากสิ่งที่มี

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/542737

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Reviews Weekly ประจำวันที่ 13-19 กรกฎาคม 2556

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท